สวัสดีค่ะ ข้าพเจ้า ชื่อนางสาวปนัดดา วิหกเหิน ประเภทบัณฑิต เป็นผู้ปฏิบัติงานของ ตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)
การปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคมทางทีมของตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการวางแผนร่วมกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่รัฐวิสาหกิจ ผู้ปฎิบัติงานได้เดินทางไปที่หมู่บ้านสก๊วน ตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อดำเนินการสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนโดยได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเป็นอย่างดีในการสร้างผลิตภัณฑ์ แต่เดิมนั้นทางผู้จัดทำได้วางแผนร่วมกับชุมชนจะทำกระเป๋าสานจากเชือกกล้วย โดยในส่วนของการทำเมี่ยงคำซึ่งมีกล้วยเป็นส่วนประกอบหลักนั้น โดยให้ชื่อว่า KAMFLAKES ทางผู้ปฎิบัติงานได้มีการทดลองและปรับสูตรจนลงตัว เดิมนั้นได้ทำการปั้นขนมเป็นก้อน พบว่าคำของขนมไม่เท่ากันและมีขนาดใหญ่เกินไป
ส่วนรสชาตินั้นได้รสชาติของเมี่ยงคำแต่วัตถุดิบหลักของกล้วยยังไม่เด่นมากนัก รอบที่สอง จึงมีการใส่สีเลียนกลิ่นของกล้วยเข้าไป เปลี่ยนจากการปั้นขนมให้เป็นรูปทรง เป็นการใช้พิมพ์เพื่อที่จะให้ขนมมีขนาดเท่ากันและพอดีคำ และได้มีการนำเอาแครกเกอร์มาเป็นฐานของ KAMFLAKES จากนั้นพบว่าผ่านไปครึ่งวันขนมมีความชื่นและแครกเกอร์ไม่กรอบ จึงพบข้อผิดพลาดตรงที่ใช้แปะแซในการเชื่อมระหว่างใส้กับตัวแครกเกอร์และไม่ได้ใส่สารกันชื่นลงในบรรจุภัณฑ์ทำให้ตัวขนมไม่กรอบ รอบที่สามจึงได้มีการเปลี่ยนจากใช้แครกเกอร์และแปะแซมาเป็นการใช้ฐานขนมเป็นกล้วยแทน โดยจะใช้กล้วยหักมุกแทนการใช้แครกเกอร์ และใช้น้ำซอสของตัวเมี่ยงคำแทนแปะแซ ผลปรากฎว่าขนมกรอบนานและไม่ชื่น ในลำดับต่อไปคาดว่าจะสามารถการบรรจุขนมใส่บรรจุภัณฑ์และเตรียมจำหน่ายเบื้องต้นในชุมชนได้
ในส่วนของเชือกกล้วยนั้น ในขณะที่ทดลองทำนั้นได้พบปัญหาคือเชือกกล้วยไม่สามารถถักได้เนื่องด้วยเชือกจะมีความบางกว่าวัสดุอื่นที่ทางกลุ่มชุมชนเคยทำและขึ้นลายไม่สวย จึงทดลองนำเชือกกล้วยไปทอ และเปลี่ยนจากการถักมาเป็นการสาน ซึ้งได้ทำการทดลองสองวิธีพบว่าประสบความสำเร็จ ในส่วนของวิธีการทอนั้น ทางกลุ่มชุมชนได้ทำเชือกกล้วยที่ตากแห้งและผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อราแล้วนั้น ไปทอโดยใช้วิธีแบบเดียวกันที่ทางกลุ่มเคยทอเสื่อมาประยุกต์ในการทอเชือกกล้วย หลังจากที่ทอแล้ว ก็นำผืนเชือกกล้วยที่ได้จากการทอนั้น นำไปตัดเย็บเป็นกระเป๋า พบว่ากระเป๋ามีลวดลายตามธรรมชาติที่ได้จากเชือกกล้วย
จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสำรวจข้อมูลของตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานพบว่าการปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคมเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้แต่อาจจะต้องเร่งมือในการผลิตโลโก้สินค้าและการเก็บข้อมูลให้สำเร็จภายในเดือนสิงหาคมเพื่อที่จะได้นำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาทดลองให้อาจารย์ที่ปรึกษาและคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการผลิตเพื่อที่จะได้นำข้อติชมหรือผิดพลาดมาปรับแก้ไขในการผลิตสินค้าให้ดีมากยิ่งขึ้น