ดิฉันนางสาวปราณี ระตาภรณ์ ประเภทประชาชน เป็นผู้รับจ้างประจำตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
สำหรับการปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการประจำเดือน กันยายน
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่พัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ น้ำพริกแบบก้อน กับปลาร้าทรงเครื่องแบบผง เพื่อเตรียมออกสู่ตลาด ทำให้น้ำพพริกแม่ล้อมมีคนรู้จักมากยิ่งขึ้น พัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ได้รับการยกระดับทั้งผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และฉลากของสินค้า เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากที่สุด
นอกจากนี้พวกเรา U2T ได้นำมาวางจำหน่ายในแบบออนไลน์ ผ่านทางแพลตฟอร์ม Shopee เพื่อให้เป็นที่รู้จักของลูกค้ามากยิ่งขึ้น เป็นการเริ่มสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสูงเนิน
วันที่ 5-9 กันยายน 2565 สัปดาห์ ECT WEEK ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน เข้าพบคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) ณ ที่ทำการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชนและสอบถามความคิดเห็นของชาวบ้านในชุมชนเรื่องประชาธิปไตย และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยมีประเด็นการลงเก็บข้อมูล ดังนี้
- บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน
- การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร
ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย - การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของ
ผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย - การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงหรือไม่ อย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย
ศส.ปชต.คืออะไร
ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) เป็นศูนย์ที่จัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดบุรีรัมย์ โดยจะให้เป็นองค์กรภาคประชาสังคมระดับตำบลที่มีการบริหารจัดการกันเองไม่ใช่เฉพาะเรื่องการเลือกตั้ง สามารถดำเนินการเรื่องอื่นได้โดยบูรณาการทรัพยากรในพื้นที่มาช่วยกันดำเนินงานในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
แนวคิดการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ภายใต้กรอบความคิดว่า ประชาธิปไตยควรสร้างขึ้นจากคนในท้องถิ่น (ชุมชน) เพื่อสร้างให้ท้องถิ่นมีวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และเป็นการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับคนในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนเป็นสมาชิกของสังคมที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้มีความรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นเคารพความเห็นต่าง ความเสมอภาค กติกา หรือกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคมโดยเริ่มที่ตนเอง เมื่อสมาชิกในชุมชนมีความเป็นพลเมืองจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย
หลักการสำคัญการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล(ศส.ปชต.) เพื่อให้มีองค์กรภาคประชาสังคมระดับตำบลโดยให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าขององค์กร เป็นเวที หรือ สถานที่แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน การขับเคลื่อนงานโดยคนในพื้นที่ มีการประสานงานทุกภาคส่วน
วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) มี 4 ข้อ คือ 1. เป็นศูนย์กลางปฎิบัติงานและประสานงานของเครือข่ายในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับตำบล
2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน อันเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
3. เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ตระหนักถีงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของตนต่อการพัมนาประชาธิปไตย
4. เพื่อเป็นเครือข่ายในการรณรงค์ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย การเลือกตั้งให้แก่ประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือการบริการประชาชนในการเลือกตั้งและกิจกรรมอื่นๆ
ภารกิจ ของ ศส.ปชต.
1. ส่งเสริมหมู่บ้าน/ชุมชนประชาธิปไตย
การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านหรือชุมชนประชาธิปไตย
2. ส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย
การดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ต้องยึดหลักเกณฑ์ กฎ กติกา ที่เป็นที่ยอมรับในการอยู่ร่วมกัน ในสังคมประชาธิปไตยก็มีหลักการประชาธิปไตยให้ยึดถือปฏิบัติ หลักการ หรือ กฎ กติกา ถือเป็นหลักให้สมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นในสังคม การใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลก็ต้องอยู่ภายใต้กฎ กติกาที่มีอยู่ ตลอดจนไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น
3. มีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งแต่ละครั้งจะสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนทุกคนถือเป็นวาระแห่งชาติ จะมอบให้ใคร หรือองค์กรใดดำเนินการตามลำพังไม่อาจประสบผลสำเร็จได้
นอกจากนี้วันที่ 15-18 กันยายน 2565 ได้มีการจัดบูธมหกรรมแสดงสินค้า จําหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพจากจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตําบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ” ชิม ช็อป แชะ แชร์” เวลา 09.00 – 18.00 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
คลิปประจำเดือน