โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

บทความรายงานปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม

          ข้าพเจ้านางสาว ขวัญชีวา โมฬีชาติ ทำงานในนามบัณฑิต ตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในเดือนที่สองของการปฏิบัติงานได้มีการผลิตภัณฑ์บริการ BCG เป้าหมายแผนการพัฒนาสินค้าและบริการประโชยน์ที่ได้รับสินค้าจะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าความสวยงามสินค้าต้องมีความสวยงามดึงดูดผู้พบเห็นข้าวเกรียบน้ำพริกนรกแม่มดเหมาะสมกับงานและสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของชุมชนยิ่งเหมาะสมกับลูกค้าเราเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการรูปทรงควรสอดคล้องกับแนวคิดสินค้าใหม่ของเราด้วยขนาดของสินค้าใหม่ก็ต้องเหมาะสมในการรับประทานของกลุ่มลูกค้า เราต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าสินค้าและของบรรจุภัณฑ์ก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นอย่างมาก ต้องรู้ด้วยว่าลูกค้าเราเป็นกลุ่มไหน ลูกค้าเราเป็นใคร และเพื่อที่จะนำมาใช้สื่อสารกับลูกค้าเป้าหมายของเรา คุณภาพของผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพสินค้าเราต้องโฟกัสตั้งแต่วัตถุดิบกระบวนการผลิตจนได้เป็นสินค้าใหม่ออกมาวางจำหน่าย

ราคาขายและต้นทุนการผลิตจะต้องตั้งราคาขายให้เหมาะสมกับตำแหน่งสินค้าและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่กำหนดให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยมจะต้องตั้งราคาแพงแต่ถ้าเป็นสินค้าทั่วไปใช้การตั้งราคาต้องพิจารณาคู่แข่ง และสภาพการแข่งขันในตลาดด้วยดังนั้นหากกิจการที่ผลิตสินค้าจะต้องพยายามควบคุมการผลิตให้ต่ำที่สุด เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคาได้และทำให้มีกำไรมากขึ้นการบริการเช่นการจัดบริการหลังการขายต่างๆเหล่านี้เราต้องออกแบบควบคู่ไปกับสินค้าของเราตั้งแต่ต้นว่าจะทำอย่างไรจะเห็นได้ว่าแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่ให้โดนใจลูกค้าไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของกิจการไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ขอเพียงผู้ประกอบการใส่ใจในรายละเอียดทุกความต้องการของลูกค้าและนำมาเลือกใช้ที่เหมาะสมกับกิจการตนเอง

วิดิโอประจำตำบล

ภาพประกอบกิจกรรม