ข้าพเจ้านายสุพศิน ช่วงไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
MS03-1 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร วิชัยรัมย์
สำหรับการปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการประจำเดือน กรกฎาคม 
             เริ่มทำงานวันที่ 1 ก.ค. 2565 กระผมและทีมงานผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นผู้รับจ้างประจำตำบล ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ประจำตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อาจารย์ประจำตำบลได้นัดผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทุกท่านมาเซ็นสัญญาที่ อาคาร 24 ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ และได้ประชุมเกี่ยวกับการทำงานตามตัวชี้วัดทั้งหมดตลอด 3 เดือน พร้อมทั้งได้มอบหมายงานแต่ละคนซึ่งกระผมได้รับมอบหมายตำแหน่งเป็นผู้ปฏิบัติงานประเภทสื่อ ถ่ายภาพ ตัดต่อ ประชาสัมพันธ์ ใน Social media ประจำตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
            วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร วิชัยรัมย์ ได้นัดประชุมการลงพื้นที่การยกระดับผลิตภัณฑ์จากวงจรไหม (กิจกรรมทำชาใบหม่อน) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งมอบหมายงาน และ ประสานงาน พร้อมทั้งปรึกษาหารือเกี่ยวกับการลงพื้นที่ และหาข้อมูลเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการทำชาใบหม่อน และกระผมได้รับมอบหมายให้คิด Storyboard เกี่ยวกับการถ่ายทำงานประจำเดือนกรกฎาคมอีกด้วย
วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 กระผมและทีมงานได้ลงพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ศูนย์ศิลปาชีพ เพื่อเก็บใบหม่อย ในช่วงเวลา 06.00น. เพราะการเก็บใบชาในตอนเช้าจะทำให้ใบชาไม่เปื่อย แบะเหมาะกับการนำไปผลิตในขั้นตอนทำชาใบหม่อน ซึ่งการเก็บใบชาจะตอบเก็บใบที่ 3 และ ใบที่ 4 ขึ้นไป หลังจากขั้นตอนการเก็บเสร็จแล้วให้นำมาล้างน้ำสะอาด 3 น้ำ และนำมาหั่นใบให้มีขนาดพอเหมาะ จากนั้นนำมาลวกน้ำร้อน 20-30 วินาที ผึ่งให้หมาด แล้วนำมาคั่วด้วยไฟอ่อนๆจนกว่าจะแห้ง ในระหว่างที่คั่วให้นวดใบหม่อนเบาๆ เพื่อให้เซลล์แตก จากนั้นให้นำใบชาไปอบให้มีความแห้ง และไม่เปื่อย หลังจากนั้นแพ็คใส่ถุง พร้อมแพ็คเก็จจิ้งให้เรียบร้อย
ใบหม่อนมีกรดแกลลิคที่จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ ช่วยควบคุมความดันในใบหม่อนจะเป็นตัวช่วยให้ควบคุมความดันได้เมื่อดื่มเป็นประจำ
สรรพคุณ : ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียง จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค
หลังจากผลิตชาใบหม่อนเสร็จเรียบร้อย กระผมได้ทำการออกแบบ Logo ผลิตภัณฑ์ “ เครื่องดื่มชาใบหม่อน “ ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop อีกทั้งตลอดการปฏิบัติงานกระผมได้ถ่ายทำด้วยกล้อง DSLR และ ตัดต่อคลิปวีดีโอด้วยโปรแกรม Adobe Premier pro
.
จากการทำงานในเดือนนี้กระผมและทีมงานได้เล็งเห็นถึงความตั้งใจ และร่วมใจของผู้รับจ้างงานและผู้นำหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประชาชนในชุมชน กลุ่มแม่บ้านต่างๆ มาร่วมด้วยช่วยกัน ผลิตเครื่องดื่ม ชาใบหม่อน ของตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อต่อยอดและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน พร้อมทั้งยกระดับเศรษฐกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังโควิด ด้วยเศรฐกิจ BCG (U2T FOR BCG)
https://www.youtube.com/watch?v=m7TGLnj5dyY