ข้าพเจ้า นายวรวัตร  มณีจันทร์ ประเภทบัณฑิต ตำบลหนองบัว
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

การปฎิบัติงานประจำเดือน สิงหาคม 2565

ช่วงวันที่ 15 ถึงวันที่ 20 สิงหาคม มีการนำผลของมัลเบอร์รี่ของชุมชนตำบลหนองบัว อำเภอปะคำ จังหวัดบบุรรีรัมย์ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ที่ชุมชนยังไม่มีการทำขึ้นโดยนำลูกมัลเบอร์รี่มาทำเป็นคุกกี้มัลเบลอร์รี่และเจลลี่มัลเบอร์รี่

  1. การทำคุกกี้มัลเบอร์รี่ก็ได้มีการเตรียมอุปกร์ในการที่จะทำขนมเตรียมวัตถิดิบโดยมีวัตถุดิบดังนี้ ลูกมัลเบอร์รี่ เนยสด ไข่ไก่สดผงฟู น้ำตาลไอซิ่ง เกลือ วนิลา และแป้งสาลีเอนกประสงค์

วิธรทำ 1.ร่อนแป้ง ผงฝู เกลือ แล้วพักไว้  2.ตีเนยสดกับน้ำตาลไอซิ่งพอขึ้นฟูขาว แล้วใสไข่ตีต่อไปให้เข้ากันดีแล้วใสวนิลาตามลงไป  3.ใส่แป้งสลับกับมัลเบอร์รี่ ตีผสมให้เข้ากันพอประมาณ เสร็จจากนั้นตักเนื้อแป้งหยอดให้เป็นทรงกลมสวยงามจนแป้งหมด  4. นำไปอบที่อุณภูมิ 150 องศา เวลาประมาณ 15-20 นาที 5.จากนั้นจัดตกแต่งส่ถุงให้สสวยงามเตรียมจัดจำหน่ายต่อไป

   

  1. การทำเจลลี่มัลเบอรรี่ วัตถุดิบเยลลี่ผลมัลเบอร์รี่ สำหรับ 4 ชิ้น เวลา 20 นาที (แช่เย็น 3-4 ชั่วโมง) ลูกมัลเบอร์รี่
  2. น้ำเปล่า 600 กรัม 3. น้ำตาลทราย 200 กรัม 4. แผ่นเจลาติน 12 แผ่น (ถ้าอยากให้เยลลี่มีเนื้อแข็งขึ้น สามารถลดปริมาณของน้ำเปล่าลงหรือเพิ่มปริมาณของแผ่นเจลลาตินได้ค่ะ) อุปกรณ์ที่ใช้ หม้อ พิมพ์ทรงกลม ถ้วยแก้ว วิธีทำเยลลี่มัลเบอร์รี่ 1. แช่แผ่นเจลาติน ลงแช่ในน้ำเย็นจัด เพื่อให้แผ่นเจลาตินอ่อนตัว 2. ต้มน้ำเปล่าและน้ำตาลทรายพออุ่นหรือให้เดือดเพียงเล็กน้อย และยกลงจากเตา 3. นำแผ่นเจลาตินที่แช่ไว้จนอ่อนตัว ใส่ลงในหม้อ คนให้ละลาย 4. พักส่วนผสมให้เย็นลง 5. ล้างมัลเบลอร์รี่ให้สะอาด และหั่นเตรียมไว้เป็นชิ้นหรือขนาดตามที่ต้องการ 6. ชั้นที่ 1 ตักส่วนผสมลงในพิมพ์หรือภาชนะที่ต้องการ จากนั้นใส่มัลเบอร์รี่ตามลงไป 7. พักในตู้เย็นช่องแช่ปกติประมาณ 5-10 นาที จึงนำออกมาทำชั้นที่ 2 8. ชั้นที่ 2 ตักส่วนผสมลงในพิมพ์หรือภาชนะที่ต้องการ จากนั้นใส่ผลไม้ตามลงไป 9. พักในตู้เย็นช่องแช่ปกติประมาณ 5-10 นาที 10. ชั้นที่ 3 ตักส่วนผสมลงในพิมพ์หรือภาชนะที่ต้องการ จากนั้นใส่ผลไม้ตามลงไป 11. พักในตู้เย็นช่องแช่ปกติประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้เยลลี่เซ็ตตัวดี 12. นำเยลลี่ออกจากพิมพ์ ให้นำไปจุ่มในน้ำอุ่นสักครู่ ตัวเยลลี่ก็จะออกจากพิมพ์อย่างง่ายดายค่ะ

 

สรุป การปฏิบัติงานครั้งแรกในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ประจำเดือนสิงหาคม 2565 ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ประชาชน รวมไปถึงคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ช่วยแสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่ดี ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างเรียบง่าย และสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี