ข้าพเจ้า นางสาววิสุดา  ถิ่นทัพไทย ประเภทประชาชน ผู้รับจ้างประจำตำบลแคน อำเภอแคงดง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าและผู้ปฎิบัติงาน ได้เข้าร่วมประชุมผ่านแอปพลิเคชั่น Meet เพื่อแบ่งหน้าที่ในการเตรียมดำเนินโครงการ ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายเป็นเหรัญญิก สวัสดิการ ช่วยจัดทำเอกสารต่าง ๆ รวมถึงจัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดทำโครงการ

ได้มีการจัดทำโครงการอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีการนำข้าวโพดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบข้าวโพด และดอกไม้ประดิษฐ์จากเปลือกข้าวโพด สถานที่จัดอบรมโครงการ ณ วัดเทพทราวาส อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในการจัดโครงการมีขั้นตอนการเตรียมดังต่อไปนี้

1.  กำหนดวันและสถานที่  โดยทางผู้ปฏิบัติงานได้เริ่มวางแผนเขียนโครงการ กำหนดการต่าง ๆ รวมถึงสถานที่ในการดำเนินโครงการ

2.  ทำเรื่องขออนุมัติการจัดอบรมโครงการ ผู้ปฏิบัติงานได้เขียนโครงการ , งบประมาณที่จะใช้เพื่อขออนุมัติจากผู้บริหาร และนำไปใช้ในการเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ

3.  ติดต่อผู้กล่าวเปิด – ปิดพิธี และวิทยากร มีการประสานงานเรียนเชิญท่านนายก เป็นผู้กล่าวเปิด – ปิดพิธี และเรียนเชิญวิทยากรล่วงหน้า โดยมีการทำหนังสือเรียนเชิญ และมีหนังสือตอบรับอย่างเป็นทางการ เพื่อเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด

4. ประสานงานผู้เข้ารับการอบรม มีการแจ้งวัตถุประสงค์ให้กับท่านผู้ใหญ่บ้านรับทราบ และประสานกิจกรรมโครงการถึงกลุ่มเป้าหมาย/ประชาชน เพื่อมีก

ารเตรียมตัวในระหว่างการดำเนินโครงการ

ซึ่งประชาชนให้มาสนใจและตั้งใจเป็นอย่างมากในการยกระดับผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด มาทำเป็นข้าวเกรียบข้าวโพด และดอกไม้ประดิษฐ์จากเปลือกข้าวโพด บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เสียงหัวเราะที่อบอุ่นในระหว่างการดำเนินโครงการ

หลังจากเสร็จสิ้นโครงการผู้ปฏิบัติงานได้ทำการเคลียร์บิล และประชุมการวางแผนเพื่อทำการติดตามผลลงพื้นที่ในชุมชน ณ จุดนัดพบที่บ้านผู้ใหญ่ หมู่ที่1 ประชาชนยังคงให้ความสนใจเป็นอย่างดี รวมถึงช่วยกันทำข้าวเกรียบข้าวโพด และดอกไม้ประดิษฐ์จากเปลือกข้าวโพด เพื่อออกไปวางจำหน่ายตามทองตลาด/บูธนิทรรศการต่าง ๆ ให้เกิดรายได้มากยิ่งขึ้นยิ่ง

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณอาจารย์ประจำตำบล ผู้ปฏิบัติประจำตำบล และประชาชนในชุมชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ที่ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวโพดให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างอาชีพรายได้ความมั่นคงให้กับชุมชนในระยะยาวอีกด้วย

สิ่งที่ได้รับ

  1. การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพรายได้ใหม่
  2. การสร้างและพัฒนาการยกระดับผลิตภัณฑ์ข้าวโพดให้มีมูลค่าแก่ชุมชน