ข้าพเจ้านายพันธ์ยศ ศรีอินทร์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ (BCG U2T for BCG) ประเภทบัณฑิตจบ ใหม่ ปฏิบัติงานในกลุ่ม NS05-1 ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2565 ดังนี้
เนื่องด้วยผู้จ้างงานได้รับการ ทางกลุ่ม NS05-1 ได้ร่วมกันออกสำรวจสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาประจำตำบลเพื่อนนำมาฟื้นฟูและต่อยอดให้กลับมาเป็นที่รู้จักกันโดยมีโจทย์จากทาง BCG ว่า 1 เศรษฐกิจชีวภาพ 2เศรษฐกิจหมุนเวียน 3. เศรษฐกิจสีเขียว โดยจัดทำโครงการ 2 โครงการ ดังนี้
1 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ของตำบลชุมเห็ดที่จะทำการพัฒนา คือ ว่าวหอมเป็นผลิตภัณฑ์รูปทรงคล้ายว่าว ซึ่งว่าวเป็นภูมิปัญญาการละเล่นของไทยและเป็นของขึ้นชื่อในตำบลชุมเห็ดซึ่งได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและได้รับรางวัลมากมายจากการแข่งขันจนเป็นของขึ้นชื่อในตำบล โดยในเดือนกันยายนทางผู้จ้างงานได้ดำเนินจัดโครงการในวันที่ 4 – 9 กันยายน 2565 โดยมีวิทยากรได้ให้คำแนะนำทำให้เกิดสินค้าหลากหลายรูปแบบจากชาวบ้านตำบลชุมเห็ด เช่น หมอนหอมสมุนไพร พวงกุณแจหอมสมุนไพร และ ถุงหอมดับกลิ่น จึงก่อให้เกิดความสนใจแก่ชาวบ้านโดยหามีการต่อยอดต่อไปทางเทศบาลเมืองตำบลชุมเห็ดจะให้การสนับสนุนร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ต่อไป
2 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมเห็ดมาสสาจออยล์ ผลิตภัณฑ์ของตำบลชุมเห็ดที่จะทำการพัฒนา คือ ยาน้ำมันบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ชุมเห็ดมาส สาจออยล์) ซึ่งในปัจจุบันสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมในแพทย์แผนไทยโดยนิยมนำสมุนไพรมาสกัดเป็นยารักษาหรือบรรเทาอาการต่างๆ สามารถทำได้เองเพราะวัตถุดิบสามารถหาได้ในชุมชนเพราะวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเฉพาะตัว โดยเมื่อวันที่ 4 – 9 กันยายน 2565 ทีมคณะตำบลชุมเห็ดพร้อมด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่ ดำเนินการจัดโครงการ CHUMHED MASSAGE OIL โดยมีวิทยากรให้ความรู้และร่วมลงมือกันปฏิบัติจัดทำน้ำมันนวดทั้งผู้จ้างงานแล้วชาวบ้านตำบลชุมเห็ด
ผลที่ได้รับเกิดกระตุ้นในการจัดทำผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างตั้งใจทำให้ก่อเกิดเป็นรายได้ลงแก่ชุมชนซึ่งผู้จ้างงานได้นำผลิตภัณฑ์ทั้งสองดังกล่าวไปจัดจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้จัดกิจกรรม U2T fair ในวันซ้อมรับปริญญาระหว่างวันที่ 15 – 18 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสในการนำสินค้าลงสู่ท้องตลาดของจังหวัดและได้รับการบอกต่อภายในพื้นที่
ดังนั้น การดำเนินงานขั้นต่อไปจึงต้องมีการสรุปผลของกิจกรรมทั้งสองโครงการว่ามีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรค์หรือมีการพัฒนาด้านใดบ้าง และการกระจายรายได้ต่างๆสู่ชุมชนนั้นมีความต่อเนื่องมากน้อยเพียงใดจึงเป็นโจทย์ที่ต้องหาข้อสรุปกันต่อจากนี้