ข้าพเจ้านายพันธ์ยศ ศรีอินทร์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ (BCG U2T for BCG) ประเภทบัณฑิตจบ ใหม่ ปฏิบัติงานในกลุ่ม NS05-1 ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 ดังนี้
ผู้จ้างงานได้รับการปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานโดยมีส่วนกลางจัดซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผนการจัดโครงการการจัดทำเอกสารโครงการเบื่องต้นซึ่งภายในเดือนนี้ ทางกลุ่ม NS05-1 ได้ร่วมกันออกสำรวจสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาประจำตำบลเพื่อนนำมาฟื้นฟูและต่อยอดให้กลับมาเป็นที่รู้จักกันโดยมีโจทย์จากทาง BCG ว่า 1 เศรษฐกิจชีวภาพ 2เศรษฐกิจหมุนเวียน 3. เศรษฐกิจสีเขียว โดยจัดทำโครงการ 2 โครงการ ดังนี้
1 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมเห็ดมาสสาจออยล์ ผลิตภัณฑ์ของตำบลชุมเห็ดที่จะทำการพัฒนา คือ ยาน้ำมันบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ชุมเห็ดมาส สาจออยล์) ซึ่งในปัจจุบันสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมในแพทย์แผนไทยโดยนิยมนำสมุนไพรมาสกัดเป็นยารักษาหรือบรรเทาอาการต่างๆ สามารถทำได้เองเพราะวัตถุดิบสามารถหาได้ในชุมชนเพราะวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากพืชสมุนไพรรที่มีสรรพคุณเฉพาะตัว โดยภายในตำบลชุมเห็ดนั้นมีกลุ่มชาวบ้านที่สนใจอยากทำและผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำได้ง่ายและต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคตรวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากทางเทศบาลเมืองชุมเห็ดที่มองเห็นถึงประโยชน์ ดังนั้นทางกลุ่มตำบลชุมเห็ดเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะเข้าไปพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ ยาน้ำมันบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ชุมเห็ดมาสสาจออยล์) โดยมีส่วนประกอบดังนี้
1ต้นชุมเห็ดเทศ
2น้ำมันไพลทอด
3น้ำมันขมิ้นชันทอด
- เกล็ดสะระแหน่
- พิมเสน
- การบูร
- น้ำมันมะพร้าว
กรรมวิธีการผลิต 1) ชั่งส่วนผสมทุกชนิด น้ำหนักตามสูตร 2) ผสมเกล็ดสะระแหน่ การบูร และพิมเสน ชุมเห็ดเทศ คนจนเริ่มละลาย เติมน้ำมันระกำ คนจนละลายหมด 3) เติมน้ำมันไพลทอด น้ำมันขมิ้นชัน และน้ำมันมะพร้าว ตามสูตร คนจนเข้ากัน 4) บรรจุลงภาชนะบรรจุ
การเข้าไปพัฒนาในครั้งนี้จะได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐภาคเอกชนและผู้จ้างงาน
2 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ของตำบลชุมเห็ดที่จะทำการพัฒนา คือ ว่าวหอม
เป็นผลิตภัณฑ์รูปทรงคล้ายว่าว ซึ่งว่าวเป็นภูมิปัญญาการละเล่นของไทยและเป็นของขึ้นชื่อในตำบลชุมเห็ดซึ่งได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและได้รับรางวัลมากมายจากการแข่งขันจนเป็นของขึ้นชื่อในตำบลชุมเห็ด
-เนื่องด้วยตัวว่าวมีรวดลายและเอกลักษณ์พิเศษอย่างว่าวจุฬาซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
-ซึ่งในกลุ่มชาวบ้านมักนำรูปแบบของว่าวมาดัดแปลงเป็นเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ ดังนั้นทางทีมงานจึงมีความประสงค์เข้าไปสร้างความน่าสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ คือการทำพวกกุญแจที่มีสมุนไพรให้กลิ่นหอมในรูปแบบของว่าวซึ่งส่วนประกอบมีดังนี้
1.เศษผ้าไหม
3.จักเย็บผ้า
3.สมุนไพรให้กลิ่นหอม เช่นใบเตย ใบมะกรูด เปลือกส้ม และตะไคร้ เป็นต้น
ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้สามารถนำไปใช่ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ดับกลิ่นต่าง เครื่องประดับ ของฝาก และอื่นๆ
ช่วยส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของชุมชน เพื่อการตลาดและด้านกำลังการผลิต ออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งสร้างรายได้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสอดคล้องต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น
ซึ่งในแต่ละโครงการยังอยู่ในขั้นตอนการประสานงานกับผู้รู้ในชุมชนปราชชาวบ้านรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเป็นแรงสนับสนุนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ร่วมกัน