ข้าพเจ้านายพันธ์ยศ ศรีอินทร์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ (BCG U2T for BCG) ประเภทบัณฑิตจบ ใหม่ ปฏิบัติงานในกลุ่ม NS05-1 ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 ดังนี้

ผู้จ้างงานได้รับการปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานโดยมีส่วนกลางจัดซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผนการจัดโครงการการจัดทำเอกสารโครงการเบื่องต้นซึ่งภายในเดือนนี้ ทางกลุ่ม NS05-1 ได้ร่วมกันออกสำรวจสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาประจำตำบลเพื่อนนำมาฟื้นฟูและต่อยอดให้กลับมาเป็นที่รู้จักกันโดยมีโจทย์จากทาง BCG ว่า 1 เศรษฐกิจชีวภาพ 2เศรษฐกิจหมุนเวียน 3. เศรษฐกิจสีเขียว  โดยจัดทำโครงการ 2 โครงการ ดังนี้

1 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมเห็ดมาสสาจออยล์ ผลิตภัณฑ์ของตำบลชุมเห็ดที่จะทำการพัฒนา คือ ยาน้ำมันบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ชุมเห็ดมาส สาจออยล์) ซึ่งในปัจจุบันสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมในแพทย์แผนไทยโดยนิยมนำสมุนไพรมาสกัดเป็นยารักษาหรือบรรเทาอาการต่างๆ สามารถทำได้เองเพราะวัตถุดิบสามารถหาได้ในชุมชนเพราะวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากพืชสมุนไพรรที่มีสรรพคุณเฉพาะตัว โดยภายในตำบลชุมเห็ดนั้นมีกลุ่มชาวบ้านที่สนใจอยากทำและผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำได้ง่ายและต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคตรวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากทางเทศบาลเมืองชุมเห็ดที่มองเห็นถึงประโยชน์ ดังนั้นทางกลุ่มตำบลชุมเห็ดเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะเข้าไปพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ ยาน้ำมันบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ชุมเห็ดมาสสาจออยล์) โดยมีส่วนประกอบดังนี้

1ต้นชุมเห็ดเทศ

2น้ำมันไพลทอด

3น้ำมันขมิ้นชันทอด

  1. เกล็ดสะระแหน่
  2. พิมเสน
  3. การบูร
  4. น้ำมันมะพร้าว

กรรมวิธีการผลิต 1) ชั่งส่วนผสมทุกชนิด น้ำหนักตามสูตร 2) ผสมเกล็ดสะระแหน่ การบูร และพิมเสน ชุมเห็ดเทศ คนจนเริ่มละลาย เติมน้ำมันระกำ คนจนละลายหมด 3) เติมน้ำมันไพลทอด น้ำมันขมิ้นชัน และน้ำมันมะพร้าว ตามสูตร คนจนเข้ากัน 4) บรรจุลงภาชนะบรรจุ

การเข้าไปพัฒนาในครั้งนี้จะได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐภาคเอกชนและผู้จ้างงาน

2 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ของตำบลชุมเห็ดที่จะทำการพัฒนา คือ ว่าวหอม

เป็นผลิตภัณฑ์รูปทรงคล้ายว่าว ซึ่งว่าวเป็นภูมิปัญญาการละเล่นของไทยและเป็นของขึ้นชื่อในตำบลชุมเห็ดซึ่งได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและได้รับรางวัลมากมายจากการแข่งขันจนเป็นของขึ้นชื่อในตำบลชุมเห็ด

-เนื่องด้วยตัวว่าวมีรวดลายและเอกลักษณ์พิเศษอย่างว่าวจุฬาซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

-ซึ่งในกลุ่มชาวบ้านมักนำรูปแบบของว่าวมาดัดแปลงเป็นเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ ดังนั้นทางทีมงานจึงมีความประสงค์เข้าไปสร้างความน่าสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ คือการทำพวกกุญแจที่มีสมุนไพรให้กลิ่นหอมในรูปแบบของว่าวซึ่งส่วนประกอบมีดังนี้

1.เศษผ้าไหม

3.จักเย็บผ้า

3.สมุนไพรให้กลิ่นหอม เช่นใบเตย ใบมะกรูด เปลือกส้ม และตะไคร้ เป็นต้น

ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้สามารถนำไปใช่ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ดับกลิ่นต่าง เครื่องประดับ ของฝาก และอื่นๆ

ช่วยส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของชุมชน เพื่อการตลาดและด้านกำลังการผลิต ออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งสร้างรายได้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสอดคล้องต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น

ซึ่งในแต่ละโครงการยังอยู่ในขั้นตอนการประสานงานกับผู้รู้ในชุมชนปราชชาวบ้านรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐเข้ามาเป็นแรงสนับสนุนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ร่วมกัน