ข้าพเจ้านายพันธ์ยศ ศรีอินทร์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ (BCG U2T for BCG) ประเภทบัณฑิตจบ ใหม่ ปฏิบัติงานในกลุ่ม NS05-1 ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2565 ดังนี้

เนื่องด้วยผู้จ้างงานได้รับการ ทางกลุ่ม NS05-1 ได้ร่วมกันออกสำรวจสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาประจำตำบลเพื่อนนำมาฟื้นฟูและต่อยอดให้กลับมาเป็นที่รู้จักกันโดยมีโจทย์จากทาง BCG ว่า 1 เศรษฐกิจชีวภาพ 2เศรษฐกิจหมุนเวียน 3. เศรษฐกิจสีเขียว  โดยจัดทำโครงการ 2 โครงการ ดังนี้

1 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมเห็ดมาสสาจออยล์ ผลิตภัณฑ์ของตำบลชุมเห็ดที่จะทำการพัฒนา คือ ยาน้ำมันบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ชุมเห็ดมาส สาจออยล์) ซึ่งในปัจจุบันสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมในแพทย์แผนไทยโดยนิยมนำสมุนไพรมาสกัดเป็นยารักษาหรือบรรเทาอาการต่างๆ สามารถทำได้เองเพราะวัตถุดิบสามารถหาได้ในชุมชนเพราะวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากพืชสมุนไพรรที่มีสรรพคุณเฉพาะตัว โดยภายในตำบลชุมเห็ดนั้นมีกลุ่มชาวบ้านที่สนใจอยากทำและผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำได้ง่ายและต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคต

2 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ของตำบลชุมเห็ดที่จะทำการพัฒนา คือ ว่าวหอมเป็นผลิตภัณฑ์รูปทรงคล้ายว่าว ซึ่งว่าวเป็นภูมิปัญญาการละเล่นของไทยและเป็นของขึ้นชื่อในตำบลชุมเห็ดซึ่งได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและได้รับรางวัลมากมายจากการแข่งขันจนเป็นของขึ้นชื่อในตำบลชุมเห็ด โดยในเดือนสิงหาคมผู้ปฏิบัติงานได้วางแผนและจัดซื้ออุปกรณ์วัตถุดิบเพื่อนำมาทดลองจัดทำผลิตภัณฑ์ และจัดทำตราสสินค้ารวมทั้งออกแบบแพคเกจเพื่อให้มีลักษณะที่เหมาะสมและสร้างสรรค์ต่อตัวผลิตภัณฑ์โดยมุ่งเน้นไปที่ความเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านผนวกกับความกับยุคสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความน่าสนใจแก่วัตถุ

ซึ่งมีปัญหาและอุปสรรค์อยู่บางส่วนคือยังมีความรู้เกี่ยวกับการเย็บไม่มากพอจึงต้องได้รับการชี้แนะจากผู้รู้หรือผู้ชำนาญด้านการเย็บปักถักร้อยหรือปราศชาวบ้านด้านการทำสินค้าหัตถกรรมเพื่อนำมาสรรสร้างตัวอย่างการนำเสนอตัวผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และผู้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำน้ำมันนวดส่วนผสมของสมุนไพรเพิ่มเติมในตัวของส่วนผสมน้ำมัน

ดังนั้น การดำเนินงานขั้นต่อไปจึงต้องมีการขอคำปรึกษาจากผู้มีความรู้ความสามารถในการให้คำแนะนำและวิธีการแก่ผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้าน รวมทั้งเริ่มขั้นตอนการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้ปฏิบัติงานได้ทำขออนุญาตสถานที่ ผู้นำชุมชน และวิทยากรในการอนุเคราะห์ให้เกิดการอบรมการรจัดทำผลิตภัณฑ์ทั้งสองโดยมีผู้ปฏิบัติงานเป็นแรงผลักดันหลักในการดำเนินโครงการทั้งสองต่อไป