NS06-2 - ตำบลกลันทา อำเภอเมืองบุรีรัมย์, คณะพยาบาลศาสตร์

์NS06-2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าตำบลกลันทา จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้เขียนบทความ

ผู้เขียนบทความ

โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

บทความรายงานปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม

          ข้าพเจ้า นางสาวสุชาวดี ศรีนาเมือง ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งในเดือนแรกของการปฏิบัติงานวันแรกของการทำงาน ได้ทำการส่งแบบฟอร์มรายงานตัวการจ้างงานเอกสารต่างๆและได้เข้าร่วมปฐมนิเทศจากทางมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 ได้มีการเข้าประชุมหน่วยงานรัฐ และพบผู้นำชุม โดยในวันที่ 6 กรกฎาคม 2565  โดยมีการรายงานเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และได้ร่วมปรึกษาหาลือกันในเรื่องการทำผลิตภัณฑ์ในตำบล ความต้องการแรงขับเคลื่อน และออกความเห็นได้ร่วมกันหาข้อมูลและสรุปได้ว่าเลือกทำผลิตภัณฑ์ 2 ผลิตภัณฑ์คือ 1. น้ำยาเอนกประสงค์ทำความสะอาด 2. หมอนสมุนไพร และในวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ผู้ปฏิบัติงาน ทุกตำบลได้เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ทำการส่งโครงการ C01 และ C02 ในระบบ U2T for BCG และได้มีการเข้าเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะของผู้ปฏิบัติงาน โดยได้เรียนรู้ในเรื่อง M-01 คติและหลัก BCGเศรษฐกิจ  M-02 คิดเชิงออกแบบ Design thinking   M-03โมเดลธุรกิจ แคนวาส  M-04 เร่งรีบ (Growth Hacking)

วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ทางคณะทีมงานของเราได้ลงพื้นที่ ม.2 บ้านกลันทา และได้เข้าพบกับผู้นำชุมชนของ ม.2 ผลิตภัณฑ์ที่เราค้นพบก็คือ “หมอนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ” โดยมีผู้นำกลุ่มนางสาวสร้อย ด้ายรินรัมย์ ยินดีอย่างมากที่จะมีการร่วมกลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา เพราะอยากจะพัฒนาให้เป็นสินค้าเอกลักษณ์ของตำบลกลันทา โดยการนำสมุนไพรได้แก่ ตะไคร้หอม ผิวมะกรูด ใบมะกรูด การบูร ไพล ขมิ้นชัน ใบยูคาลิปตัส น้ำมันยูคาลิปตัส ใบเตย ล้วนเป็นสมุนไพลจากธรรมชาติทั้งสิน มีสรรพคุณทางกลิ่นช่วยผ่อนคลายความเครียด  วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ทางคณะทีมงานได้ลงพื้นที่ทำหมอนสมุนไพรตัวอย่างที่บ้านของประธานกลุ่ม ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในกลุ่มเป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ไปยังกลุ่มผู้สูงอายุภายในชุมชนให้มีรายได้จากการเก็บสมุนไพรมมาจำหน่ายแก่กลุ่ม ดิฉันและทีมงานมีความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจช่วยยกระดับสินค้าตำบลนี้อย่างมาก และยังคงติดตามงานให้สัมฤทธิ์ผลดีที่สุด ในเดือนต่อไป

 

ความประทับใจ : ความรู้ ความสามารถของภูมิปัญญาชาวบ้านจะไม่หายไป สามารถนำวัถุดิบที่มีในพื้นที่มาเพิ่มมูลค่าได้จึงเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจที่คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้นไป สามารถของชาวบ้าน ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะเป็นแรงพลักดันให้กลุ่มโครงการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีค่ะ

แชร์บทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง