นางสาว รัชธิดา บุญเชิด ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลกลันทา คณะพยบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สินค้าตำบลกลันทามีสองผลิตภัณฑ์หลักคือน้ำยาล้างจานอเนกประสงค์ หมอนสมุนไพรเพื่อสุขภาพและมีผลิตภัณฑ์เสริมโดยผลิตจากวัสดุเหลือใช้ และสมุนไพรอื่นๆที่มีจำนวนมากจึงเกิดมาเป็นสองผลิตภัณฑ์ คือพวงกุญแจดอกไม้จากผ้าฝ้าย และสครับขัดผิว
จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาจนถึงเดือนสุดท้ายของโครงการจะเห็นได้ว่าชุมชนตำบลกลันทาสามารถพัฒนาพึ่งพาตนเองได้ในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ รวมไปถึงการนำเอานวตกรรม BCG มาใช้กับผลิตภัณฑ์ จากเดิมที่มีมะกรูดหล่นทิ้ง สมุนไพรข้างรั้วที่ไม่ได้รับความสนใจ หรือผ้าฝ้ายที่ไม่มีการแปรรูปล้วนได้นำมาใช้พัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าประจำถิ่นและเป็นประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ทางกลุ่มผู้ทำงานและคณะอาจารย์ผู้ดูแลโครงการได้ส่งเสริมกิจกรรมในหัวข้อ”อบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบตราสินค้าและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าในตำบลกลันทาและการตลาดออนไลน์ด้วยนวัตกรรมยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG ในการผลิตสินค้าและบริการของตำบลกลันทา”เป้าหมายกิจกรรมเพื่อให้ชุมชนมีภูมิรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป ให้ผลิตภัณฑ์ดีมีมาตรฐานตรงต่อความต้องการของผู้บริโภครวมไปถึงการส่งเสริมด้านการขายผ่านแพลตฟอร์มต่างๆโดยเพจ Facebook และshopee มีการแนะนำฝึกให้แอดมินทั้งสองกลุ่มโพสต์จำหน่ายสินค้า และทำการ promote ให้มีความน่าสนใจ

สรุปการพัฒนาเวลา 3 เดือน
น้ำยาล้างจานอเนกประสงค์
– ปรับแพคเกตจิ้งน้ำยาล้างจานให้มี 2 รูปแบบการใช้งาน ขวดปั๊ม และถุงเติมแบบรีฟิล
– ตั้งชื่อแบรนด์น้ำยาล้างจานอเนกประสงค์จาก k-clean เปลี่ยนมาเป็น กลันทาเฮิร์บ เพื่อแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนออกมา และแสดงถึงการนำเอาสมุนไพรมาใช้ประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์
– การแนะนำ ปรับปรุงสูตรน้ำยาล้างจานให้เป็นสูตรออแกนิกเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค                                                             – การปรับฉลากสินค้าจากเดิมที่ไม่กันน้ำปรับให้คงทนต่อน้ำและตกแต่งฉลากให้สวยงามน่าซื้อ
หมอนสมุนไพร เพื่อสุขภาพ
– หมอนสมุนไพรจากหมอนรูปทรงหมอนขิต พัฒนามาเป็นรูปแบบ”หมอนรองคอ”
– เสริมสมุนไพรเข้ามาจำนวน 7 ชนิด
– คิดค้นชื่อสินค้า “กลันเตรียร์” แสดงภาษาประจำถิ่น เตรียร์ แปลว่า ทา ซึ่งตรงตามชื่อหมู่บ้าน “กลันทา”
– พัฒนารูปแบบหมอนจากการเย็บด้ายปิด เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบซิปเพื่อการเปลี่ยนถุงรีฟิลสมุนไพรได้สะดวก
– พัฒนาขนาดให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานจริง
– การปักชื่อ กลันเตรียร์ และดอกลันทา ลงไปในตัวหมอนเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

ปัญหาที่พบ และข้อเสนอแนะ
การใช้บรรจุภัณฑ์ใส่หมอนเป็นถุงพลาสติกอาจจะทำให้ในถุงมีอากาศเข้าไปเป็นไอน้ำ ทำให้หมอนเกิดความอับชื้นและเป็นเชื้อราได้ในอนาคต การแก้ไขต้องมีบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเก็บความชื้นเพื่อถนอมสินค้าให้คงสภาพ และคงกลิ่นได้ดี

ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงานทั้งสามเดือนจนบรรลุเป้าหมาย ชุมชนสามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีการจำหน่ายได้จริง ต้องขอขอบคุณอาจารย์ผู้ดูแลโครงการฯ คณะผู้ทำงานทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันระดมความคิด เข้ามาช่วยส่งเสริมชุมชนให้กล้าที่จะดึงความสามารถที่ตนมีอยู่ใช้ให้เกิดเป็นอาชีพเสริม ให้ชุมชนได้มีกิจกรรมร่วมกัน และมีเป้าหมายสูงสุดคือรายได้ที่เข้ามาสู่ชุมชน ขอขอบคุณค่ะ