ข้าพเจ้า นายรวีโรจน์ ช่วยธรรม  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วันที่ 4 เดือน กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าเข้าร่วมประชุมและปฐมนิเทศกับอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลแคนดง อำเภอแคนดง  จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อวิเคราะห์และหาจุดเด่นจุดแข็งและผลิตภัณฑ์ของชุมชนในตำบลแคนดงเพื่อพัฒนา ต่อยอดและเพิ่มช่องทางการทางขายและสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบที่มีในอยู่ในชุมชน

วันที่ 11 เดือน กรกฎาคม 2565 ลงพื้นที่ปฏิบัติงานและพบปะพูดคุยกับพัฒนากรชุมชนและผู้ใหญ่บ้านตำบลแคนดง เพื่อหาชุมชนที่มีทรัพยากรณ์ตรงตามเป้าหมายที่เราจะเข้าไปพัฒนา เพื่อยกระดับธุระกิจของตำบลเเคนให้เข้าสู้กลุ่ม O-TOPภายในระยะเวลา3เดือน

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย หัวข้อ การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD โดยวิทยากร : ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)การเก็บข้อมูล T.C.D. ผ่านทางแอปพลิเคชั่นในมือถือ ชี้แจงการเพิ่มแอปพลิเคชั่นลงในโทรศัพท์ เปิดให้ทดลองกรอกข้อมูลลงในแอปพลิเคชั่น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อโครงการต่อไป

วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ได้เดินทางไปที่อำเภอแคนดง หมู่ที่1 สำรวจพบว่าชาวบ้านส่วนมาก ประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา ปลูกอ้อย ปลูกยางพารา ปลูกถั่ว ปลูกข้าวโพด และเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาชีพหลักที่ชาวบ้านทำจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แค่ปีละครั้ง ทำให้รายได้ของชาวบ้านส่วนมากจะเป็นแบบรายปี จึงไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน จากการสำรวจของทีมปฏิบัติงานพบว่า หมู่บ้านที่มีการปลูกข้าวโพดเป็นจำนวนมาก และปลูกอยู่ตลอดทั้งปี คือ หมู่ที่1 บ้านแคนดง และ หมู่ที่ 16 บ้านไมตรีจิตร ในการปลูกข้าวโพดนั้นจะใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิต 3 เดือน/ครั้ง ซึ่งทีมปฏิบัติงานของข้าพเจ้าได้เล็งเห็นว่าสามารถ ยกระดับผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดให้มีมูลค่าและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น คือ ข้าวเกรียบข้าวโพด และดอกไม้จากเปลือกข้าวโพด โดยได้ติดต่อขอความร่วมมือกับพัฒนากรประจำอำเภอแคนดง เพื่อขอคำแนะนำในเรื่องการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ร่วมกับท่านผู้นำในชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านแคนดงเพื่อขอความร่วมมือให้ชุมชนเข้าร่วมโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการลงพื้นที่

1.สามารถเรียนรู้ในการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆของอำเภอแคนดง

2.การทำงานร่วมกันเป็นทีม/การเเบ่งหน้าที่ในการทำงาน

3.การมีน้ำใจในการทำงานช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน

4.การทำงานร่วมกับชาวบ้านเพื่อยกระดับธุรกิจชุมชน