ข้าพเจ้า นางเอมใจ พะเนิกรัมย์ ประเภทประชาชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม
รายตําบล แบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตําบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บุรีรัมย์และทีมงานปฏิบัติงาน ได้รับมอบหมายลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ตําบลตาเสา อําเภอห้วยราช
จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
ตําบลตาเสา มีประชากรที่อาศัยอยู่จริงและทํางานอยู่นอกพื้นที่จํานวนทั้งสิ้น 5,172 คน จําแนก
เป็นชาย 2551 คนและหญิง 2,623 คน มีจํานวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,214 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่
มีอาชีพทําเกษตรกรรมได้แก่ การปลูกข้าวหอมมะลิ 105 อ้อยโรงงาน และอาชีพรับจ้างทั่วไป เสริมด้วย
การเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็ดและไก่ เพื่อเป็นอาหารไว้บริโภคเองแทบทุกครัวเรือน
ยามว่างหลังจากหน้านา ชาวบ้านในพื้นที่บางคนก็ทอผ้า บางคนทําขนมขายบ้างตามความถนัด
ของแต่ละคน ในความคิดของข้าพเจ้าเอง ตําบลตาเสาในสมัยก่อน เป็นพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญมาก
เนื่องจากเป็นเขตพื้นที่สุดชายแดนของตัวอําเภอห้วยราช การสัญจรไปมาค่อนข้างลําบาก เปลี่ยว และ
อันตราย แต่ในช่วงหลังๆมานี้ มีการสนับสนุนช่วยเหลือจากทางรัฐบาล ทั้งด้านเงินทุนและความรู้
มีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาส่งเสริมให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการรวมกลุ่มกันขึ้นมาเพื่อทํา
กิจการรมร่วมกันภายในตําบล เช่น วิสาหกิจโรงนํ้าดื่มพอดี ของหมู่ที่2 กลุ่มทอผ้า กลุ่มเบาะรองนั่ง
กลุ่มแปรรูปกล้วย(กล้วยกรอบแก้ว) เป็นต้น สนับสนุนโดย สํานักงานพัฒนาชุมชน(พช.) อําเภอห้วยราช
จังหวัดบุรีรัมย์ และยังมีการส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดําริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร. 9 เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตความ
เป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยสํานักงานเกษตรและสหกรณ์ อําเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ เป็น
ผู้สนับสนุน
ด้วยการสนับสนุนของหน่วยงานทุกภาคส่วน ชาวบ้านในพื้นที่ มีโอกาสรวมกลุ่มกันขึ้นมาเพื่อดําเนิน
กิจกรรมร่วมกันเรื่อยมา หลังจากนี้จะมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของ
ชาวบ้าน โดยมีแนวคิดการแปรรูปข้าว เป็น เส้นขนมจีนนํ้ายาอบแห้ง สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น และ
สะดวก พร้อมรับประทาน ซึ่งกิจกรรมนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านแล้ว ยังเป็นการ
สร้างความสามัคคีในชุมชนอีกด้วย ในการนี้ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานจะนําข้อมูลส่งต่อส่วนกลาง เพื่อ
วิเคราะห์ข้อมูลต่อไป