โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)หลักสูตร SC14-2 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนในตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวปฐมาวดี มีทา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ซึ่งมีระยะเวลาปฎิบัติงานเพียง 3 เดือน ในส่วนการทำงานในครั้งนี้ได้มีการวางแผนการทำงานที่กระชับกับเวลา มีการแบ่งทีมผู้ปฎิบัติงานออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่แบ่งหน้าที่ในการหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มงานเทศบาล และกลุ่มงานองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งข้าพเจ้าได้มีการลงพื้นที่ชุมชนตำบลนิคมในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตำบลนิคม พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ในตำบลนิคมประกอบอาชีพเกษตรกรรม ( ทำนา ทำสวน ทำไร ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว ) ว่างจากการทำอาชีพหลักจะมีการรวมกลุ่มภายในชุมชมก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา ชาวบ้านมี่ว่างจากการทำเกษตรจะรวมกลุ่มกันนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาพัฒนาและต่อยอดสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ตำบลนิคมมีกลุ่มวิสาหกิจที่ผลิตสินค้าหลากหลายแบบไม่ว่าจะเป็น ปลูกพืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม เลี้ยงโคขุน ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และปลาส้มสามรส  ซึ่งปัจจุบันมีวิสาหกิจชุมชนที่น่าสนใจและยังคงอยู่คือวิสาหกิจชุมชนไทรักธรรม ตั้งอยู่ที่หมู่ 20 ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน วิสาหกิจชุมชมไทรักธรรม มีการผลิตดอกไม้จันทน์ที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิดทำให้รายได้จากการขายลดลง ต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มมากขึ้นทำให้ส่งผลกระทบกับราคาขาย สินค้าขายได้ยากขึ้น ผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่แล้วอาจจะยังไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค หากมีสินค้าชิ้นใหม่ที่แปลกตาทันสมัย ใช้ต้นทุนที่ต่ำทำกำไรได้ดีคุณภาพไม่แพ้สินค้าตัวเดิม อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้มีรายได้เข้าสู่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น