นางสาวศิรินภา นาดสะพัด เป็นผู้รับจ้างประเภทประชาชน ประจำตำบลสระแก้ว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)
ดิฉันมีหน้าที่ หาข้อมูลสอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับกระบวนการทอผ้า และสอบถามว่าประชากรในตำบลสระแก้วมีการทอผ้าไหมมีดหมีหมู่บ้านละกี่คนมากน้อยเพียงใด ขอรายละเอียดของชาวบ้านแต่ละบุคล เช่น ชื่อ-สกุล เบอร์โทร และความยากง่ายในการทอผ้า

ซึ่งได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ช่วยศาสตราจารย์สำคัญ ฮ่อบรรทัด (หัวหน้าโครงการ)และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัญพรรณ ฮ่อบรรทัด ดังนี้

วันที่ 1 กรกฏาคม 2565
ส่งเอกสารใบรายตัวผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ช่างบ่ายเข้าร่วมอบรมออนไลน์พิธีเปิดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)

วันที่ 2-4 กรกฏาคม 2565
ลงสำรวจข้อมูลพื้นฐานชาวบ้านที่ทอผ้าในตำบลสระแก้ว
ตำบลสระแก้ว มีหมู่บ้าน 15 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นหลัก เลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร โค เป็ด ไก่ เป็นอาชีพเสริม ซึ่งจะเป็นหัวหน้าครอบครัวคือผู้ชายทำเป็นหลัก ส่วนแม่บ้านจะนิยมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อทอผ้าไหมมัดหมี่ ทอผ้าขาวม้า เพื่อเอาไว้ใช้เองในครัวเรือนหลังฤดูการทำนา เหลือก็จำหน่ายแก่เพื่อนบ้านคนที่รู้จักในชุมชนหรือ หมู่บ้านไกล้เคียง

จากการลงพื้นที่พบว่าชาวบ้านมีความรู้ความชำนาญในการทอผ้าไหมมัดหมี่ เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ยาตายายจนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยยุคเทคโนโ,ลยีที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทั่วทุกพื้นที่ในขณะนี้ ทำให้การทอผ้าไหมมัดหมี่ ลดความต้องการลงไปมาก เนื่องจากขั้นตอนการผลิตนั้นยุ่งยาก ใช้เวลานาน กว่าจะสำเร็จออกมาเป็นผ้าหนึ่งผืน หาซื้อผ้าในท้องตลาดง่ายกว่า ทำให้ภูมิปัญญาพื้นบ้านนี้ลดน้อยลงไปจนเกือบหมด เหลือกลุ่มผู้สูงอายุเพียงไม่กี่ท่านที่ยังทำอยู่
ปัญหาที่พบ
1 ช่องทางการขาย ชาวบ้านผลิตได้ทำเป็นแต่ ไม่รู้จะขายให้ใครไม่รู้ช่องทางในการขาย ไม่รู้ความต้องการของตลาด
2.ลายผ้าไม่ทันสมัย ไม่แปลกใหม่ เป็นลายซ้ำเดิมๆ ที่ลอกลายมาจากรุ่นสู่รุ่น สีสันฉูดฉาด
3. ขาดเงินลงทุน
4.คนรุ่นใหม่ไม่สนใจสืบทอดเพราะมองว่าไม่สามารถประกอบเป็นอาชีพได้
5.กลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มเล็กๆกลุ่มเดิม การซื้อซ้ำน้อย ยอดจำหน่ายต่อเดือน เฉลี่ย 2500บาท (ต่อ1ผืน 1×2 เมตร ) ตั๋วเฉลี่ยรายได้ต่อปี ไม่เกิน 15000 บาท
วันที่ 5 กรกฏาคม 2565
ร่วมประชุมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์สำคัญ ฮ่อบรรทัด (หัวหน้าโครงการ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัญพรรณ ฮ่อบรรทัด และนักศึกษาฯ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา และส่งเสริมอาชีพชาวบ้าน ณ ศาลาประชาคม หมู่ 6 ต. สระแก้ว อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์

วันที่ 9 กรกฏาคม 2565
อบรมออนไลน์เรื่องการเสนองานกับผู้ให้ทุน และรับทราบการปรับเปลี่ยนแนวทางในการปฏิบัติงาน
วันที่ 12 กรกฏาคม 2565
นำกลุ่มนักศึกษาออกพื้นที่สำรวจหาช่างตัดเย็บผ้าไหมฝีมือดีในชุมชน และชมตัวอย่างผ้าไหมที่ย้อมด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น เปลือกหอมแดง เพราะอำเภอหนองหงส์ ปลูกหอมแดงเป็นจำนวนมาก จึงมีการดัดแปลงคิดค้นนำเปลือกหอมแดงมาทำเป็นสีย้อมผ้าไหม ซึ่งสีที่ได้ คือ สีเขียวพาสเทล (เขียวหม่น)

วันที่ 18 กรกฏาคม 2565
นำทีมนักศึกษาลงพื้นที่ถ่ายทำคลิปวีดีโอสาธิตขั้นตอนการทำผ้าไหมมัดหมี่ทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การย้อมสีจากวัสดุธรรมชาติ การมัดหมี่ การปั่นหลอดได้ การทอ เพื่อเป็นเครื่องมือทำการประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดส่งเสริมการขาย

วันที่ 19 กรกฏาคม 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สำคัญ ฮ่อบรรทัด (หัวหน้าโครงการ)และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัญพรรณ ฮ่อบรรทัด ลงพื้นที่ ตำบลสระแก้ว ติดตามความคืบหน้างานที่มอบหมาย ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงลงพื้นที่เยี่ยมชมขั้นตอนการย้อมสีผ้าไหมจากเปลือกหอมแดง และได้มอบลายผ้าไหมมัดหมี่ลายใหม่ให้ชาวบ้านทดลองผลิตตามแบบและสีที่ต้องการไว้ด้วย
คณะผู้ปฏิบัติงานภาคประชาชนมีความยินดียิ่งที่มีการส่งเสริมพัฒนา ให้สินค้าดูทันสมัยขึ้น และช่วยส่งเสริมการตลาด ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นจะเป็นการ สร้างรายได้จากสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดเป็นรายได้เสริม ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาการเงินให้ชาวบ้านได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาพิ้นบ้าน ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ ลดการละทิ้งบ้านเกิดของคนรุ่นใหม่ สร้างชุมชนเข้มแข็ง ลดภาระการพึ่งพา