โครงการขับเคื่อนเศษฐกิจละสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG  ( U2T for BCG ) 

หลักสูตร SC20-2 คณะวิทยาศาสตร์

ตำบลเมืองฝ้าย  อำเภอหนองหงส์  จังหวัดบุรีรัมย์  ประจำเดือนกรกฎาคม

SC20-2 ตำบลเมืองฝ้าย ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มทำกล้วยเบรกแตกหมู่ที่10บ้านคูเมือง ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้านางสาวสุมาลี ขุนนามวงษ์ ผู้ปฏิบัติงานประเภท ประชาชน
ด้วยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เปิดรับสมัครบัณฑิตจบใหม่และประชาชน รับสมัครระบบออนไลน์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) รอบที่ 2 โดยโครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางานหรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้มี ระยะเวลา 3 เดือน ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลในเดือนกรกฎาคมนี้ได้รับมอบหมายให้สำรวจผลิตภัณฑ์และบริการพร้อมพิจารณาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ของหมู่ที่10บ้านคูเมือง ตามที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ลงสำรวจพื้นที่และสำรวจผลิตภัณฑ์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 โดยพบว่าชาวบ้านในชุมชนส่วนใหม่ทำอาชีพเกษตรกรทำสวนพื้นที่สวนจะปลูกกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมากและจำหน่ายผลจากที่ลงพื้นที่พบว่ากลุ่มทำกล้วยฉาบบ้านคูเมือง เป็นผู้รับซื้อกล้วยน้ำว้า จากเกษตรกรเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากกล้วยน้ำว้า สร้างรายได้และเป็นอาชีพกับคนในหมู่บ้านอีกทางและได้มีผลิตภัณฑ์ดังนี้
1.กล้วยฉาบเบรคแตกจากกล้วยน้ำว้า
2.กล้วยฉาบรสชาติ แบบปรุงรสปาปริก้า

โดยกล้วยฉาบทั้ง 2 รสชาติจัดจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง กิโลละ 180-200 บาท ให้คนในชุมชนและขายส่งตามร้านค้าทั่วไปณ.ปัจจุบัน กล้วยฉาบ เป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทสินค้าแปรรูปประจำตำบลเมืองฝ้าย แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และสร้างอาชีพใน ชุมชน ตำบลเมืองฝ้าย ต้องการปรับในส่วนของบรรจุพันธุ์ให้สามารมเก็บรักษาได้นานและลดการเหม็นหืน รูปลักษณ์ที่น่าสนใจเพื่อพัฒนาสู่กลุ่มตลาดออนไลน์