โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม 2565

ข้าพเจ้า นางสาวอาริยา คตโคตร ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

26 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ผู้ดูแลโครงการประจำตำบลสระทองและผู้ปฏิบัติงานตำบลสระทองได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อแนะนำโครงการอาจารย์ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการในการดำเนินงานตลอด 3 เดือน โดยการเข้าประชุมครั้งแรกได้มีการแสดงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ของกลุ่มทอผ้าม่วงเจริญเพื่อนำผ้าทอมือไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (กระเป๋าม่วงเจริญ) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มทอผ้าม่วงเจริญต่อไป โดยการนำผ้าทอมือจากกลุ่มกลับไปออกแบบทรงกระเป๋าเพื่อนำมาเสนอให้กับกลุ่มในครั้งต่อไป

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนในลงบนแอพพลิเคชั่นชุดข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Thailand Community Data) หรือ TCD คือ “บิ๊กดาต้า”ประจำเดือน กรกฎาคม โดยการลงพื้นที่บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 5 โดยแบ่งการเก็บ ข้อมูลอย่างน้อยคนละ 5 ครัวเรือน ในการสำรวจข้อมูลในหมู่ 5 ส่วนมากจะเป็นข้อมูลด้านเกษตรกรในท้องถิ่น และพืชในท้องถิ่น

รูปที่ 1 การแนะนำตัวผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลสระทอง
รูปที่ 2 เลือกสีและลายผ้าเพื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 3 จัดแสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอผ้าม่วงเจริญ
รูปที่ 4 จัดแสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอผ้าม่วงเจริญ

 

 

 

 

 

 

6 สิงหาคม 2565 อาจารย์ผู้ดูแลโครงการประจำตำบลสระทองและผู้ปฏิบัติงานตำบลสระทองได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมการออกแบบและตัดเย็บกระเป๋าโดยเชิญอาจารย์และคณะนักศึกษาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและธุรกิจสิ่งทอจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มทอผ้าม่วงเจริญในเรื่องการตัดเย็บและออกแบบกระเป๋าโดยมีตัวอย่างแบบการตัดเย็บกระเป๋า 3 ขนาด เป็นกระเป๋าอเนกประสงค์ขนาดเล็กที่สามรถใส่ได้ตั้งแต่เหรียญ บัตร หรือเครื่องสำอาง โดยวิทยากรเริ่มอธิบายการทำกระเป๋าและสอนตั้งแต่การเขียนแบบกระเป๋าทั้ง 3 ขนาดให้กับผู้เข้าร่วมอบรมและการตัดกระเป๋าที่จะต้องเหลือขอบไว้เพื่อการเย็บด้วยและการจัดกิจกรรมจะแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมออกเป็น 5 กลุ่มและแบ่งผู้ปฏิบัติงานกลุ่มละ 2 คน โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มสอนการเย็บกระเป๋าและการใช้จักรเย็บผ้าโดยเริ่มจากการใช้เย็บผ้าด้วยมือไปตามรูปแบบกระเป๋าด้วยการเนาผ้าซึ่งจะเนาผ้าที่เป็นลายกระเป๋าและซับในกระเป๋าเข้าด้วยกันก่อน “การเนา” เป็นการเย็บผ้าด้วยมือให้ติดกันชั่วคราว ก่อนการเย็บถาวร หรือการสอย เมื่อเนาผ้าเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปเป็นการเย็บผ้าตามเส้นที่เนาไว้โดยใช้จักรเย็บผ้าเพื่อให้กระเป๋ามีความทนทานมากขึ้น ซึ่งวิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลองเย็บกระเป๋าด้วยจักรเย็บผ้าแบบอุตสาหกรรมและจักรเย็บผ้าแบบพกพา ซึ่งผู้เข้าร่วมมีพื้นฐานในการตัดเย็บอยู่แล้วจึงทำให้การฝึกอบรมการทำกระเป๋าครั้งนี้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและได้เป็นผลิตภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยเป็นกระเป๋าม่วงเจริญของกลุ่มทอผ้าม่วงเจริญที่ออกมาสวยงามตามรูปแบบ

รูปที่ 5 วิทยากรสอนการเนาผ้า
รูปที่ 6 การเนาผ้าซับใน
รูปที่ 7 รูปอาจารย์ วิทยากรและผู้ปฏิบัติงานตำบลสระทอง

 

 

รูปที่ 8 กระเป๋าม่วงเจริญแต่ละขนาด