โดย นางสาวอรลักศณีน์ เทวอนรัมย์ SC26-2ตำบลตาเสา (ประชาชนทั่วไป)
เมื่อพูดถึงขนมจีน ไม่มีใครไม่รู้จักแน่นอน แต่หากถามถึงวิธีการผลิตหรือวัตถุดิบที่ใช้ทำเส้นขนมจีน น้อยคนนักที่จะรู้ มาถึงตอนนี้จะพาทุกคนรู้จักขนมจีนให้มากขึ้น และไขข้อข้องใจที่ว่า ขนมจีน จะพาตาเสาเป็นชุมชนศิวิไลซ์ได้อย่างไรค่ะ
ขนมจีนไม่ใช่อาหารของคนจีน แต่คำว่า “จีน” ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญ ซึ่งเรียกขนมจีนว่า “คนอมจิน” (คะนอมจิน) หมายถึง สุก ๒ ครั้ง พิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า “จริง ๆ แล้ว ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน หมายความว่า จับกันเป็นกลุ่ม
เส้นขนมจีนทำจากแป้งข้าวจ้าว มี 2 ชนิด คือเส้นขนมจีนที่ทำจากแป้งสด และเส้นขนมจีนที่ทำจากแป้งหมัก โดยทั่วไปจะนิยมทำจากแป้งหมักเพราะมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์แต่มีข้อเสียคือเก็บไว้ไม่ได้นาน
ในตำบลตาเสามีโรงผลิตเส้นขนมจีนแบบแป้งหมัก 1แห่ง อยู่บ้านบ่อทอง หมู่10 จากการสำรวจข้อมูลในตำบล ได้ประชาสัมพันธ์เบื้องต้นว่า ตำบลตาเสาเราจะมีการนำโครงการผลิตเส้นขนมจีนอบแห้งจากข้าวปลายของข้าวหอมมะลิ105 เพื่อเพิ่มมูลค่า สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้นสะดวกต่อการจำหน่ายและที่สำคัญสามารถเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มผู้สนใจที่จะมารวมกลุ่มกันดำเนินโครงการนี้ได้ หลายคนให้ความเห็นว่า “ข้าวหอมมะลิ105 ไม่สามารถทำได้ รุ่นปู่ย่าตายายไม่เคยพาทำ”
นี่คือความท้าทายที่เราได้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตเส้นขนมจีนอบแห้งจากข้าวหอมมะลิ105 ที่ใครๆก็ว่าไม่สามารถทำได้ ให้สำเร็จ เพื่อให้คนในชุมชนได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายข้าวหอมมะลิ 105 และจากการจำหน่ายเส้นขนมจีนอบแห้งพร้อมน้ำยาผง คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น คนในชุมชนมีความสุข มีใจ มีเวลามากพอที่จะช่วยกันพัฒนาให้ตาเสาเป็นชุมชนศิวิไลซ์ต่อไปได้