ลงพื้นที่ศึกษาผลิตภัณฑ์ในชุมชนตำบลสะแก

 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

 ตำบลสะแก  อำเภอสตึก  จังหวัดบุรีรัมย์

(ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565)

 

                                          กนกกร  คะดีเวียง

    จากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ในชุมชนตำบลสะแกของข้าพเจ้าและสมาชิก พบว่า ในแต่ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน เพราะเป็นพื้นที่เดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนทำส่วนใหญ่ทำจากผักตบชวาและดอกหญ้า ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายและต้นทุนต่ำ ผลิตภัณฑ์นี้สามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้มีอยู่มีกิน แต่เนื่องจากเศรษฐกิจปัจจุบัน ทำให้บางหมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์ประจำหมู่บ้านและ บางหมู่บ้านก็ไม่มีผลิตภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน ทำให้จาก13 หมู่บ้าน ไม่มีผลิตภัณฑ์ 5 หมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่พบ มีประเภทการจักรสานจากผักตบชวา เช่น รองเท้า เสื่อ กระเป๋า พัด ตะกร้า กระจาด ส่วนมากจะผลิตเป็นของใช้  และผลิตภัณฑ์ประเภทแปรรูปจากดอกหญ้า จะมีด้วยกัน 20 ชนิด ได้แก่ ดอกเลา ดอกหงอนไก่ ดอกข้าวโพด ดอกลังกา ดอกสายทอง ดอกผือเล็ก ดอกหางนกยูง ดอกไข่แมงดา ดอกตีนตุ๊กแก ดอกกระดุมเงิน ดอกหญ้าคา ดอกผือใหญ่ ข้าวบาร์เลย์  ดอกปีกนก รวงข้าว ดอกดาวกระจาย ดอกกระถินทุ่ง ดอกดาวอังคาร ดอกหนามฉัตรและ ลูกสน ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกันและให้ความสวยงามต่างกัน ส่วนใหญ่จะทำไปตกแต่งที่อยู่อาศัย หรือร้านค้า ร้านอาหารทั่วไป   และผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย และเดิมชาวบ้านจะทำงานตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าคนกลาง ซึ่งผลิตภัณฑ์มีระยะเวลาและวิธีการทำที่ยาก แต่เนื่องจากทำให้ชาวบ้านมีรายได้ประจำและสามารถดำรงอยู่ได้ ปัญหาเบื้องต้น อยากให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น  และราคากับผลิตภัณฑ์มีความสมดุลกันนอกจากจะเป็น  เป็นการเพิ่มมูลค่าผักตบชวา และดอกหญ้าที่มีมากในพื้นที่ มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังสามารถทำให้ชาวบ้านมีรายได้อีกด้วย