อนุรักษ์ภูมิปัญญาทอผ้าพื้นเมือง

                                                                                                                                              นัฐฐา กลิ้งรัมย์
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ เก็บข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ ของครัวเรือนและชุมชนในตำบลสตึก ซึ่งวันนี้ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ นิคม หนองเกาะ หนองบัวเจ้าป่า
โดยข้าพเจ้าได้พูดคุยกับ นางมิน แก้วบุตรดี ที่บ้านหนองบัวเจ้าป่า ซึ่งมีกลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหม โดยได้เริ่มต้นทำอาชีพนี้เมื่อปี พ.ศ. 2542 แต่เริ่มรวม ตัวจัดตั้งกลุ่มเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งมีสมาชิกภายในกลุ่มทั้งสิ้น 15 คน โดยมี นางมิน แก้วบุตรดี เป็นประธานกลุ่ม ซึ่งปกติแล้วสมาชิกในกลุ่ม มีอาชีพเป็นเกษตรกร และ ปศุสัตว์ จึงใช้เวลาที่ว่างจากการทำเกษตร มาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นอาชีพเสริมเมื่อเห็นว่ามีรายได้ที่สูงขึ้น จึงได้มีการปลูก หม่อนเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาเลี้ยงไหม ให้เพียงพอต่อการผลิตไหม แรกเริ่มทำการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน และ เป็นของฝากแก่ญาติพี่น้องที่มาจากต่างถิ่น โดยที่เหลือ จึงได้มีการนำมาจำหน่าย โดย นางมิน แก้วบุตรดี ได้กล่าวว่า ลายผ้าไหมที่ทอขึ้นยังไม่มีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเอง ลายที่ทอก็จะเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และนำเอาลายผ้าไหมของกลุ่มอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ เป็นลายที่ทอออกมา จึงไม่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จึงอยากจะให้ผู้ที่เชี่ยวชาญมาออกแบบลายผ้าไหม ให้มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม และเนื่องจากเป็นผ้าไหมทอมือ มวลของผ้าไหมจึงมี ความหนาแน่น มีน้ำหนักมากกว่า มีความเฉพาะตัวมากกว่าผ้าไหมทอโรงงาน ทำให้ผ้าไหมทอมือมีราคาสูงกว่าผ้าไหมตามท้องตลาด และ มีลูกค้าแค่เฉพาะกลุ่มที่จะซื้อผ้าไหมทอมือในส่วนของวัตถุดิบหากมีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ก็จำเป็นต้องซื้อไหมตลาดมาทอเพื่อจัดส่งตามยอดสั่งซื้อ

เริ่มจากการเลี้ยงไหม

นำรังไหมมาสาวให้เป็นเส้น