โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) หลักสูตร SC20-2 คณะวิทยาศาสตร์ ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน
ในปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีสินค้ามากมายที่อำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์โดยเฉพาะในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสิ่งของต่าง ๆ มาใช้ให้ทันสมัยมากขึ้น และในยุคนี้เป็นยุคของการแข่งขันกันทางตลาด ดังนั้นจึงทำให้สิ่งของบางอย่างหรือผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านได้สร้างขึ้นในสมัยก่อนได้มีมูลค่าลดลง และคนรุ่นหลังหันไปสนใจกับสิ่งอำนวยความสะดวกชนิดอื่นแทน จึงอาจส่งผลให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านได้เลือนหายไป
ดังนั้นทางผู้ปฏิบัติงานจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทอเสื่อพื้นบ้านของชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองฝ้าย จึงได้สร้างและพัฒนาสินค้าให้กับชาวบ้านเพื่อสร้างอาชีพและรายได้เสริม อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมการทอเสื่อของชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองฝ้าย ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงได้ลงพื้นที่เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ร่วมกับชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองฝ้าย โดยในการทำผลิตภัณฑ์นั้นผู้ปฏิบัติงานได้มีการคิดและวางแผนต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเสื่อทอพื้นบ้านและเพิ่มลักษณะพิเศษหรือจุดเด่นบางอย่างให้ต่างไปจากเดิม เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงได้มีขั้นตอนการสร้างผลิตภัณฑ์ดังนี้
- ออกแบบและแปรรูปเสื่อทอพื้นบ้านเป็นเบาะรองนั่ง เพื่อเป็นการยกระดับสินค้าจากเสื่อทอพื้นบ้านที่ใช้ปูพื้นรองนั่งแบบแข็งมาทำให้เป็นเบาะรองนั่งที่นุ่มขึ้นสะดวกต่อการพกพาและเก็บรักษา
- ออกแบบและแปรรูปเสื่อทอพื้นบ้านเป็นโคมไฟ เนื่องจากปัจจุบันมีกระแสนิยมสิ่งของตกแต่งแบบมินิมอล ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงเลือกสร้างโคมไฟแบบมินิมอลที่ทำจากเสื่อทอสีธรรมชาติ
- สร้างแบรนด์สินค้า (Branding) เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า เพื่อเป็นการทำให้ตลาดรู้จักสินค้าของผู้ผลิต ทางผู้ปฏิบัติงานจึงได้เลือกที่จะตั้งชื่อแบรนด์และสร้างโลโก้ว่า ถักทอเมืองฝ้าย โดยในโลโก้นั้นจะมีสัญญาลักษณ์ดอกฝ้ายที่เป็นจุดเด่นเพื่อสื่อถึงตำบลเมืองฝ้ายที่เป็นผู้สร้างผลิตภัณฑ์นี้
- วางแผนการตลาด ทางผู้ปฏิบัติงานได้วางแผนการขายผลิตภัณฑ์ทั้งแบบ ออนไลน์และออฟไลน์ ตั้งเป้าหมายกลุ่มลูกค้าและโปรโมทสินค้าผ่านทางออนไลน์ โดยได้สร้างเพจเฟสบุ๊ค ชื่อว่า TRAKTOR MAUNGFAI
จากที่ผู้ปฏิบัติงานได้เตรียมขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆเสร็จจึงได้มีการลงพื้นที่ร่วมกับชาวบ้านเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้ได้จำนวนตามที่ต้องการโดยได้ลงพื้นที่ในวันที่ 1 กันยายน 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝ้าย ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 35 คน โดยที่ชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านที่ทอเสื่อนั้นจะนำเสื่อทอมาขายให้กับโครงการเพื่อที่จะนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้อาจารย์ประจำตำบลได้แบ่งหน้าที่การทำผลิตภัณฑ์ดังนี้
- มอบหมายให้ชาวบ้านในตำบลเมืองฝ้ายทำหน้าที่ตัดเสื่อทอพื้นบ้านเพื่อทำเบาะรองนั่ง โดยตัดเสื่อตามขนาดที่อาจารย์ประจำตำบลต้องการเพื่อให้ชาวบ้านอีกกลุ่มเป็นคนเย็บขอบเบาะรองนั่ง
- ผู้ปฏิบัติงานได้มีหน้าที่ทำโคมไฟโดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ช่วยกันทำโคมไฟตามที่ได้รับมอบหมาย โดยแต่ละกลุ่มจะต้องทำออกมาทั้งหมด 4 ชิ้น และโคมไฟจะมีลักษณะดังนี้ เป็นโคมไฟสี่เหลี่ยมมีความกว้าง 13 ซม. ความสูง 25 ซม. ซึ่งจะใช้ทอเสื่อพื้นบ้านสีธรรมชาติเป็นหลักในการทำโคมไฟและเพิ่มลวดลายมินิมอลที่ทันสมัยทำให้โคมไฟสวยงามเพิ่มขึ้น
จากการลงพื้นที่เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ พบว่าชิ้นงานแต่ละชิ้นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากเป็นงานฝีมือจึงทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลายของเสื่อทอพื้นบ้าน ทั้งนี้เมื่อผู้ปฏิบัติงานสร้างผลิตภัณฑ์เสร็จตามจำนวนที่ต้องการจึงจะนำสินค้าออกสู่การขาย โดยผู้ปฏิบัติงานจะนำสินค้าโปรโมทผ่านทางออนไลน์เพจเฟสบุ๊คและลงพื้นที่ออกบูธ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เพื่อขายสินค้าตามที่ได้ตั้งเป้าหมาย