ข้าพเจ้านางสาว ศุภาวรรณ ดอนน้อยหน่า เป้นพนักงานลูกจ้างประเภทประชาชน ได้ลงพื้นที่สำรวจหอยเชอรี่บ้านหนองชัยศรี ตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ หอยเชอรี่สามารถแบ่งหอยเชอรี่ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2–3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธ์ุได้ 1–2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำ ข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2–3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม ประมาณ 388–3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7–12 วัน หลังวางไข่
เนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง 34–53 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างเช่น ส้มตำ หรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเชอรี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือกถ้านำไปฝังบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้ผลผลิตดี ไม่ควรบริโภคเนื้อหอยเชอรี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัสตรูพืช
การบริโภคหอยเชอรี่ช่วยให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุประเภท แร่เหล็ก ทองแดง ไอโอดีน แมกนีเชียม แคลเชียม สังกะสี แมงกานีส และฟอสฟอรัส อย่างไรก็ตาม หอยเชอรี่ดิบอาจมีพยาธิและแบคทีเรีย จึงควรหลีกเลี่ยง แต่ปัจจุบันหอยชนิดนี้เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยรสชาติที่อร่อย