กระผมนายณพัฐรชานน วงศ์สุรินทร์  ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งงาน ประชาชน

ผู้ปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

กลุ่มของ SC05-1 ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

รายละเอียดการปฏิบัติหน้าที่ดำเนินงาน ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565

ในเดือนสิงหาคม คณะวิทยากร คณะอาจารย์ และผู้ปฏิบัติงาน ลงพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสวนสุขกวีรัตน์ โครงการโคกหนองนาโมเดล เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลของใบหม่อน และดักแด้ เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมและให้ดูน่าสนใจเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้กับชุมชน จากการลงพื้นที่ชาวบ้านตำบลสตึกมีหลายหมู่บ้าน ที่มีการปลูกต้นหม่อน เลี้ยงไหม สร้างรายได้ให้กับคนในครอบครัว ส่วนมากอาชีพหลักคือการทำเกษตร ว่างจากการทำเกษตรก็จะปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมมีมาตั้งแต่อดีตและถ่ายทอดให้แก่ลูกหลาน การปลูกหม่อนจะปล่อยให้ต้นหม่อนเจริญเติบโตเองตามธรรมชาติ และจะไม่ใช้สารเคมีโดยเด็ดขาดเพราะสารเคมีจะตกค้างและมีผลกระทบต่อการเลี้ยงหนอนไหม ในวันที่ 23-24 สิงหาคม 2565 ได้เชิญชวนชาวบ้านที่มีความสนใจในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจนมาเป็นดักแด้ ให้เข้ารวมอบรมเพื่อที่จะมีรายได้ สร้างอาชีพเสริมให้กับคนในครอบครัว โครงการการอบรม วันที่ 23 สิงหาคม 2565 จะเป็นการดักแด้อบกรอบรสชาติต่างๆ มีวิธีทำดังนี้

การนำดักแด้ มาเป็นอาหารโดยหลังจากที่หนอนไหมเติบโตเต็มที่แล้ว มันก็จะเริ่มพ่นใยพันรอบตัวเองก่อนจะลอกคราบเป็นดักแด้ และกลายเป็นผีเสื้อในที่สุด แต่หนอนไหมส่วนมากไม่ค่อยจะได้โตเป็นผีเสื้อกันเท่าไร เพราะเราจะนำรังไหมนั้นมาต้มและสาวเอาเส้นไหมออกมาจนหมดเส้นใยเพื่อไปถักทอต่อไป และส่วนที่เหลืออยู่ก็คือตัว “ดักแด้” ที่ชาวอีสานนิยมนำมาทำเป็นอาหาร และตามร้านแมลงทอดรถเข็นก็มักมีเจ้าตัวนี้วางขายอยู่เสมอ ดักแด้ตัวเล็กๆ ที่หลายคนก็ไม่กล้าบริโภคนี้ถือเป็นแหล่งคุณค่าอาหารอีกอย่างหนึ่ง เพราะในดักแด้นั้นให้โปรตีนสูง โดยเฉพาะโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อว่า “เลซิติน” ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงและพัฒนาสมองได้ดี และในดักแด้แห้งจะมีโปรตีนสูงถึง 48.98% เลยทีเดียว นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 และ 2 มีเกลือแร่หลายชนิด และยังมีกรดไลโนเลอิคและกรดไลโนเลนิค ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดไขมันในเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจได้ด้วย

ดักแด้ทอดกรอบ

ส่วนประกอบ

ดักแด้                1  กิโลกรัม

ใบเตย                200  กรัม

ซอสปรุงรส        2  ช้อนชา

น้ำมันพืช           2  ลิตร

วิธีทำ

  1. นำดักที่แช่แข็งมาพักให้ละลายล้างน้ำให้สะอาดอีกรอบ
  2. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชลงไปในกระทะ 2 ลิตร รอจนน้ำมันพืชเริ่มร้อนนำใบเตย 200 กรัม ลงไปทอดจนใบเตยฟู
  3. นำดักแด้ 1 กิโลกรัม ลงไปทอดจนดักแด้ลอยขึ้น เลือกความสุก หรือความกรอบตามใจชอบ
  4. นำดักแด้ที่ทอดแล้วไปพักให้น้ำมันสะเด็ด
  5. จากนั้นนำดักแด้ไปคลุกกับผงปรุงรสตามใจชอบ

ดักแด้คั่ว

ส่วนประกอบ

ดักแด้                1  กิโลกรัม

ใบมะกรูด          200  กรัม

วิธีทำ

  1. นำดักที่แช่แข็งมาพักให้ละลายล้างน้ำให้สะอาดอีกรอบ
  2. ตั้งกระทะ ด้วยไฟอ่อน นำดักแด้ใส่กระทะ เติมน้ำไปนิดหน่อยคั่วดักแด้แล้วนำใบมะกรูด มาใส่เพื่อเพิ่มความหอม
  3. คั่วด้วยไฟอ่อนไปเรื่อย ๆ จนน้ำแห้ง
  4. จากนั้นนำดักแด้ไปคลุกกับผงปรุงรสตามใจชอบ

ชาใบหม่อน

หม่อน (Morus spp.) สมุนไพรพื้นบ้าน อาหารของหนอนไหม กลายมาเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชั้นเยี่ยมของมนุษย์ โดยสรรพคุณของใบหม่อนจะช่วยป้องกันรักษา โรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และช่วยขจัดไขมันส่วนเกินในร่างกายได้ดี อีกทั้งยังมีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่น ๆ        ใบหม่อนมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญหลายชนิด เช่น เควอซิติน (quercetin) แคมเฟอรอล (kaempferol) และ รูติน(rutin) นอกจากนั้นยังพบชาใบหม่อนมีสารดีเอ็นเจ (1-deoxynojirimycin) มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารกาบา (gamma amino-butyric acid) ลดความดันโลหิต มีสารกลุ่มฟายโตสเตอโรล (Phytosterol) ลดไขมันในเลือด อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียง จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ส่วนประกอบ

ใบหม่อน 500 กรัม

วิธีทำ

  1. ตั้งกระทะ ด้วยไฟอ่อน จากนั้นนำใบหม่อนที่หั่นเป็นเส้นเล็ก ๆ ลงไปคั่วจนแห้ง
  2. นำใบหม่อนที่คั่วเสร็จแล้วไปตากให้แห้งสนิท
  3. นำใบหม่อนที่ตากแล้วมาปั่นบดเป็นผงให้ละเอียด
  4. จากนั้นนำใบหม่อนที่ปั่นละเอียดมาบรรจุใส่ซองซีล

(ชาใบหม่อนสามารถเก็บในที่แห้งได้ 2 เดือน)