ณัฐนันท์  จะรับรัมย์

วิสาหกิจชุมชน  คือ  กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า  การให้บริการหรือการอื่น ๆ  ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพันกัน  มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ  เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน

เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  คือ  คณะบุคคลที่รวมตัวกัน  โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเครือข่าย

สืบเนื่อง ในปี พ.ศ. 2564  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบรูณา (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ในพื้นที่ตำบลเมืองโพธิ์ อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้สำรวจข้อมูลเบื้องต้นจนพบว่า ในพื้นที่ตำบลเมืองโพธิ์ได้ดำเนินการเพาะปลูกเห็ดนางฟ้าในปริมาณมาก จนก่อเกิดการพัฒนาต่อยอดเห็ดนางฟ้าเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมไปการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ที่มีอยู่กับนำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยี จนทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นเห็ดนางฟ้า และในอนาคตคาดว่าอาจจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านเห็ดนางฟ้าอีกมากมาย

จากที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ของชาวตำบลเมืองโพธิ์ให้ความยั่งยืนสืบต่อไปในอนาคต จำเป็นต้องจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยแนวทางในการจัดตั้งกลุ่มวิสากิจชุมชน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แนวทางจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลเมืองโพธิ์

1.คุณลักษณะและคุณสมบัติของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ที่มีสิทธิลงทะเบียน

1.1 เป็นผู้ผลิตดังต่อไปนี้

1) เป็นกลุ่มผู้ผลิตชุมชน

2) เป็นผู้ผลิตชุมชนที่เป็นเจ้าของรายเดียว

3) เป็นผู้ผลิตที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

1.2 กลุ่มเป้าหมายตามข้อ 1.1 ต้องเชื่อมโยงกับชุมชนตามเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

1) ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น ใช้แรงงานในชุมชน (ภายในจังหวัดที่ขอลงทะเบียน) มีการใช้วัตถุดิบการผลิตในชุมชน เป็นต้น

2) ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

3) ชุมชนได้รับประโยชน์

1.3 สถานที่ผลิตของกลุ่มเป้าหมายตามข้อ 1.1 ต้องตั้งอยู่ภายในอำเภอ/เขต ที่ขอลงทะเบียน โดยผ่านการรับรองจากประธานเครือข่าย อำเภอ/ผู้แทนหรือประธานชุมชนของเขต/ผู้แทน ว่าได้ดำเนินการผลิตในพื้นที่นั้นจริง

1.4 ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และสมาชิกกลุ่ม ต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น

2.ลักษณะผลิตภัณฑ์ ที่สามารถลงทะเบียนได้ต้องแสดงถึงภูมิปัญญาไทยและมีลักษณะดังนี้

2.1  วัตถุดิบที่นำมาผลิต ต้องไม่ผิดกฎหมาย

2.2 ไม่เป็นสินค้าที่เลียนแบบ ดัดแปลง นำเข้า หรือนำเข้าเพื่อดัดแปลง หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

2.3 ไม่เป็นสินค้าที่ก่ออันตรายอย่างร้ายแรงต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมทั้งไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีของไทย

2.4 กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายบังคับต้องได้รับอนุญาตให้ผลิต

3.ประเภทผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้ภูมิปัญญา จำแนก 5 ประเภท ดังนี้

      3.1 ประเภทอาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารแปรรูป กรณีคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยต้องได้รับมาตรฐาน อย., GMP, HACCP, Qmark, ,มผช, มอก, มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1) ผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้บริโภคสด เช่น พืชผัก ผลไม้ เช่น มะม่วง สัปปะรด ส้มเขียวหวาน มังคุด ส้มโอ กล้วย เป็นต้น กรณีพันธุ์ไม้ เช่น กิ่งพันธุ์มะม่วง กิ่งพันธุ์มะปราง ไม้ประดับ ฯลฯ ไม่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลงทะเบียนได้

2) ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบและผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น เช่น น้ำผึ้ง ข้าวสาร ข้าวกล้อง ข้าวฮาง เป็นต้น เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เนื้อโคขุน เนื้อนกกระจอกเทศแช่เข็ง หมูแดดเดียว หมูยอ แหนม ไส้อั่ว ไส้กรอก ปลาอบรมควัน หอยจ้อ เป็นต้น อาหารประมงแปรรูป เช่น ไส้กรอกปลา ปลาช่อนแดดเดียว ส้มปลาตัว น้ำบูดู กะปิ กุ้งแห้ง น้ำปลา ปลาร้า เป็นต้น กรณีสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ไก่ชน ปากัด ไม่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลงทะเบียนได้เพราะมีผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป เช่น ขนมเค้ก เฉาก๊วย ขนมโมจิ เต้าส้อ กระยาสารท กล้วยฉาบ กล้วยอบ มะขามปรุงรส ทุเรียนทอด กาละแม กะหรี่ปั๊ป  ขนมทองม้วน ข้าวเกรียบ ข้าวแน น้ำพริกเผาและน้ำพริกต่าง ๆ แจ๋วบอง น้ำจิ้มสุกี้ น้ำปลาหวาน ผักกาดดอง พริกไทย แคบหมู ไข่เค็ม กุนเชียง หมูทุบ หมูแผ่น เป็นต้น

 3.2 ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ สุรากลั่น สาโท อุ ไวน์ เหล้าขาว 35-40 ดีกรี เป็นต้น

2.เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทพร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์ประเภทชงละลาย และผลิตภัณฑ์ประเภทชง เช่น น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร เครื่องดื่มรังนก กาแฟคั่ว กาแฟปรุงสำเร็จ ขิงผลสำเร็จรูป มะตูมผง ชาใบหม่อน ชาชีน ชาสมุนไพร ชาชัก น้ำเฉาก๊วย น้ำเต้าหู้สด นมข้าวกล้อง เป็นต้น

 3.3 ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย หมายถึง ผ้าทอและผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใจสังเคราะห์ รวมทั้ง เสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกายที่ใช้ประดับตกแต่งประกอบการแต่งกายทั้งเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย และเพื่อความสวยงาม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1) ผ้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนที่ทำจากเส้นใจ เส้นด้าย นำมาทอถักเป็นผืนมีลวดลายเกิดจากโครงสร้างการทอหรือตกแต่งสำเร็จบนผืนผ้า ทำด้วยมือ หรือเครื่องจักร รวมถึงผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจกาผ้าเป็นหลักและมีวัสดุอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบผสม เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าบาติก ผ้าถุง ผ้าปักชาวเขา ผ้าคลุมผม หมวกกะปิเยาะ ผ้าพันคอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปบุรุษ-สตรี เป็นต้น

2) เครื่องแต่งกาย หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประดับตกแต่งประกอบการแต่งกายที่ทำจากวัสดุทุกประเภทเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย เช่น รองเท้า เข็มขัด กระเป๋าถือ เป็นต้น และเพื่อความสวยงาม เช่น สร้อย แหวน ต่างหู เข็มกลัด กำไล นาฬิกาข้อมือ เนกไท หมวกแฟชั่น เป็นต้น

3.4 ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีไว้ใช้หรือตกแต่งประดับในบ้าน สถานที่ต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องครัว  เครื่องเรือน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้สอยหรือประดับตกแต่ง หรือใช้เป็นของขวัญ เพื่อให้ผู้รับนำไปใช้สอยในบ้าน ตกแต่งบ้าน รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่สะท้อนถึงวิถีวิชีวิต ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น และสินค้านั้นต้องไม่ผลิตโดยใช้เครื่องจักรเป็นหลักำหรือใช้แรงงานคนเป็นหลัก หรือใช้แรงงานคนเป็นส่วนเสริม หรือไม่ใช้แรงงานคน แบ่งเป็น 7 กลุ่ม

1) ไม้ หมายถึง ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่ทำมาจากไม้เป็นหลัก เช่น ไม้แกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ กล่องไม้ นาฬิกาไม้ตั้งโต๊ะ โคมไฟกะลามะพร้าว ของเล่นเด็ก เครื่องดนตรี ตู้พระธรรม เรือจำลอง แจกันไม้ กรงนก ไม้แขวนเสื้อ เป็นต้น

2) จักรสาน ถักสาน หมายถึง ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่เป็นเส้นใยธรมชิ หรือวัสดุสังเคราะห์ใด  ๆพลาสติก นำมาจักรสาน หรือถักสาน ถักทอ เป็นรูปร่าง เช่น ตะกร้า กระจูดสาน เสื่อกก ที่รองจานทำจากเสื่อกก ที่ใส่ของทำจากพลาสติกสาน กระจาด กระบุง กระด้ง กระติบข้าว  เชือกมัด เปลยวน โคมไฟผักตบชวา ไม้กวาด กระเช้าเถาวัลย์ พรมเช็ดเท้า ฝาชี หมวกสานไม้ไผ่ เป็นต้น

3) ดอกไม้ประดิษฐ์/วัสดุจากเส้นใยธรรมชาติ หมายถึง ดอกไม้ ต้นไม้ กล้วยไม้ ผลไม้ ที่ไม่ใช่มีชีวิตตามธรรมชาติ แต่ทำจากวัสดุต่าง ๆ เพื่อเลียนแบบธรรมชาติ หรือ/และผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ของตกแต่ง ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่ทำจากกระดาษสาเป็นหลัก เช่น ถุงกระดาษ กล่องกระดาษสา ต้นไม้ประดิษฐ์ ผลไม้ประดิษฐ์

4) โลหะ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ที่ทำจากโลหะต่าง ๆ เช่น เงิน ทองเหลือง ดีบุก ทอง สังกะสี เป็นต้น เป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ช้อนส้อม มีด  ผลิตภัณฑ์ ภาชนะที่ใช้โลหะ ภาชนะที่ทำจากแสตนเลสทุบ ทองเหลืองทุบ ฟิวเตอร์ บรอนซ์ แกะสลักที่ใช้ตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น

5) เซรามิค/เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำวัสดุประเภทดิน สินแร่ไปขึ้นรูปและนำไปเผาด้วยความร้อนสูง เพื่อเป็นภาชนะ ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เช่น เบญจรงค์ ถ้วยชาม ภาชนะกระเบื้อง เซรามิค โอ่ง อ่าง กระถางต่าง ๆ เป็นต้น

6) เคหะสิ่งทอ หมายถึง ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ที่มีวัสดุทำจากผ้า มีการตัดเย็บ เช่น ชุดเครื่องนอน พรมเช็ดเท้า ผ้าปูโต๊ะ ถุงมือถักสำหรับทำการเกษตร เป็นต้น

7) อื่น ๆหมายถึง ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้วัสดุอื่นใดนอกเหนือจากข้อ 1-6 เช่น ทำจากพลาสติก เรซิน แก้ว เทียน รูปวาด เปเปอร์มาเซ่ กระจก ซีเมนต์ ต้นไม้มงคล ตุ๊กตาจากดินไทย ผลไม้เผาดูดกลิ่น พระพุทธรูป เป็นต้น

3.5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร หมายถึง ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร หรือมีสมุนไรเป็นส่วนประกอบ อาจใช้ประโยชน์ และอาจส่งผลต่อสุขภาพ ได้แก่ ยาจากสมุนไพร เครื่องสำอางสมุนไพร สมุนไพรที่ใช้ทางการเกษตร เช่น น้ำหนักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ เป็นต้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

1) ยาจากสมุนไพร

2) เครื่องสำอางสมุนไพร

3) วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน

4.มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจากทางราชการ

ในการลงทะเบียน หากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับมอบมาตรฐานทางราชการ ให้ผู้มาลงทะเบียนได้นำใบรับรองมาตรฐานจากทางราชการมาด้วย เพื่อกรอกข้อมูลและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน ในกรณีที่อยู่ระหว่างการดำเนินการยื่นขอรับรองให้นำเอกสารที่แสดงรายละเอียดการย่อนขอดังกล่าวมาประกอบด้วย

5.วิธีการลงทะเบียน

 การลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ให้ปฏิบัติดังนี้

5.1   การรับลงทะเบียน จะดำเนินการภายในระยะเวลาที่ประกาศหรือกำหนดเท่านั้น

5.2   เอกสารประกอบการลงทะเบียน ให้นำทั้งเอกสารจริงและถ่ายสำเนา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหมายเลขเอกสาร/หลักฐาน ให้ตรงกับข้อมูลที่กรอก ได้แก่

5.2.1  บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ยื่นลงทะเบียน

5.2.2  หนังสือมอบอำนาจจากลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ พร้อมรายงานการประชุมของกลุ่มะบุว่ามอบอำนาจให้ผู้ใดดำเนินการลงทะเบียน (กรณีกลุ่มผู้ผลิตชุมชน)

5.2.3  ภาพถ่ายผลิตภัณฑ์ทุกประเภท ที่จะลงทะเบียน ขนาด 4 x 6 นิ้วหรือไฟล์ภาพดิจิตอล

5.2.4 เอกสารอนุญาตให้ทำการผลิต กรณีมีกฎหมายกำหนด

5.2.5  หนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่จะแจ้งในแบบลงทะเบียน (ถ้ามี) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบชื่อ ชื่อกลุ่ม ชื่อผลิตภัณฑ์ และเลขที่กำกับใบรับรองมาตรฐาน

5.2.6  เอกสารตามข้อ 2.2.1-2.2.5 ให้อำเภอเก็บไว้เป็นหลักฐาน

5.2.7 ให้ประธานเครือข่าย ระดับอำเภอ หรือประธานชุมชนของเขต รับรองว่าเป็นผลตภัณฑ์ที่ผลิตในพื้นที่ที่รับลงทะเบียนจริง

 6.ขั้นตอนการลงทะเบียน

      6.1 ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

กรอกข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน และยื่นขอลงทะเบียนได้ ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนทุกอำเภอ /สำนักเขต ที่เป็นที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ในวันและเวลาราชการ

     6.2 อำเภอ/สำนักเขต

         6.2.1 เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน รับคำร้อง ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูล และเอกสารประกอบ

6.2.2 บันทึกข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่มายื่นขอลงทะเบียนในโปรแกรม (บันทึกเฉพาะข้อมูลที่ถูกต้อง)

1) การลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ให้อำเภอใช้ Username & Password ในการบันทึกข้อมูล

2) การบันทึกเพิ่มเติม แก้ไขข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ รายเดิมที่ต้องการเพิ่มผลิตภัณฑ์ดำเนินการ ดังนี้

2.1) กรอกข้อมูลผู้ประกอบการ (รหัสเก่า) โปรแกรมจะขึ้นข้อมูลเดิมของผู้ประกอบการ

2.2) กดปุ่มแก้ไข แล้วเพิ่มข้อมูลผลิตภัณฑ์ โปรแกรมจะขึ้นข้อมูลให้กรอกรายละเอียดสินค้าที่ต้องการเพิ่ม

2.3) บันทึกข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

2.4) กรณีเปลี่ยนแปลงประเภท ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ให้ยกเลิกลงทะเบียนใหม่ ในปีงบประมาณล่าสุด

6.2.3 การบันทึกข้อมูลผู้ประกอบการรายใหม่ ดำเนินการดังนี้

1)กรอกข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ตามแบบฟอร์มที่โปรแกรมกำหนด

2) กรอกข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการให้ครบสมบูรณ์ทุกข้อ

3) ตรวจสอบข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ให้ถูกต้อง หากผิดให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง

4) ดำเนินการบันทึกข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

6.2.4 พิมหลักฐานการรับลงทะเบียนมอบให้ผู้ลงทะเบียนเก็บไว้เป็นหลักฐาน

6.2.5 จัดการประชุมคณะกรรมการ ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/เขต แต่งตั้งเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

6.2.6 แจ้งข้อมูลการลงทะเบียนและผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบให้จังหวัด