โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) เป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่ ให้ อว.นำมหาวิทยาลัย บัณฑิตจบใหม่และประชาชน กว่า 68,350 คนร่วมทีม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG 7,435 ตำบลทั่วประเทศ ดีเดย์ 1 ก.ค.นี้ รมว.อว.ขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ ครม.ด้าน ปลัด อว.แจงจะนำ U2T for BCG ไปเป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อน BCG ของประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) ที่พัฒนาร้อยกว่าตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์เบื้องต้น ทำให้ทราบข้อมูลต่างๆของผลิตภัณฑ์ชุมชนในตำบลนิคม เช่น การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษผ้าใยบัว การทอเสื่อจากกก และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่รวมตัวกันทำดอกไม้จันทน์ และในเฟสที่ 3 จะต้องนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ BCG Model ข้าพเจ้าและทีมงานจึงประชุมหารือกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อพัฒนาและสร้างรายได้ให้กับตำบลนิคม มีมติที่ประชุมว่าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋า และพวงกุญแจ จากเศษผ้า

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 รายงานตัวในระบบออนไลน์ และร่วมฟังการปฐมนิเทศ งานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG)

วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 ทางทีมผู้ปฎิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบลได้นัดหมายทำการประชุมเพื่อแนะนำตัวสำหรับผู้ปฎิบัติงานแต่ละคนพร้อมได้อธิบายถึงการปฎิบัติงานและแบ่งหน้าที่สำหรับการทำงานประเดือนกรกฏาคม ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายหน้าที่ให้ผู้ปฎิบัติงานแบ่งทีมเป็น 3 ทีม เพื่อกระจายตัวในการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกของตำบลนิคม

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศ และข้อมูลที่สำคัญ สำหรับการปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG)

เริ่มลงพื้นที่ วันที่ 9 กรกฎาคม 2565

กระผม นายคณินท์ คำเพ็ง ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน ได้ทำการลงพื้นที่เพื่อเก็บและสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าในตำบลยังมีการทำผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่หลากหลาย โดยจากที่ได้ลงพื้นที่สำรวจมีเพียง 2 ผลิตภัณฑ์ที่มีการทำมาอย่างต่อเนื่อง คือ ร้านคุณพลอยดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชัยมงคล ที่ได้รวมตัวกันทำดอกไม้จันทน์ เพราะคนในตำบลส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในอาชีพอื่น เช่น การทำประมง การทำการเกษตร และการค้าขาย จึงได้เล็งเห็นว่าควรมีเข้ามาพัฒนาเพื่อช่วยเหลือให้ผลิตภัณฑ์ได้มีการกระจายสู่ชุมชนมากขึ้น และมีความหลากหลายทางความคิด รวมไปถึงสร้างรายได้ให้คนหมู่มาก

       

จากนั้นในวันที่ 19 กระผมได้ทำการตัดต่อวิดีโอเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ได้ทำการไปลงพื้นที่สำรวจข้อมูลมา เพื่ออัพโหลดลงช่องทาง Youtube ช่อง U2T BRU

จากการที่ได้เข้าร่วมอบรม ลงพื้นที่และได้ปรึกษาหารือกันภายในทีมข้าพเจ้าได้รับความรู้ในด้านต่างๆได้แลกเปลี่ยนความคิด เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน ตำบลนิคมต่อไป

ผู้เขียนบทความ นายคณินท์ คำเพ็ง

ประเภท ประชาชน