วันที่ฟ้ามืดมิดจากวิกฤติ COVID-19 ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

ในวันที่ฟ้ามืดมิดจากวิกฤติ COVID-19 ผู้คนได้รับผลกระทบทุกหย่อมหญ้า ในมุมมองของผมนายพีระพงษ์ ลาหนองแคน ผู้ปฎิบัติงานโครงการ U2T ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์     ทำให้เรามองเห็นโอกาสของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า หากบทเรียนที่ได้รับ วันนี้ ได้รับการบันทึก ถอดบทเรียนอย่างเป็นระบบทำให้เห็นว่าการกระจายอำนาจ กระจายทรัพยากร ไปถึงยังจุดที่ถูก อันจะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศที่ดีขึ้นในอนาคต

ข้าพเจ้า นายพีระพงษ์ ลาหนองแคน ผู้ปฎิบัติงานประจำตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานที่ชุมชนนิคม ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 2 กรกฎาคม 2565

ทางทีมผู้ปฎิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายทำการประชุมเพื่อแนะนำตัวสำหรับผู้ปฎิบัติงานแต่ละคนพร้อมได้อธิบายถึงการปฎิบัติงานและแบ่งหน้าที่สำหรับการทำงานประเดือนกรกฏาคม ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายหน้าที่ให้ผู้ปฎิบัติงานแบ่งทีมเป็น 3 ทีม เพื่อกระจายตัวในการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกของตำบลนิคม

   

เริ่มลงพื้นที่วันที่ 3 กรกฎาคม 2565

โดยกระผมนายพีระพงษ์ ลาหนองแคน ผู้ปฎิบัติงานกลุ่มประชาชน ได้ลงพื้นที่สำรวจ ตำบลนิคม อำเภอสตึกจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรวบรวมข้อมูลของชุมชนในเชิงลึก เพื่อจะได้เก็บข้อมูลมาพัฒนา สภาวะการเป็นอยู่ของประชาชน และอาชีพ การดำรงชีพด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน เพื่อจะช่วยยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน ให้มีการจัดการ จัดสรรค์ อย่างมีระบบ ระเบียบมากยิ่งขึ้น

จากการสำรวจด้านภูมิศาสตร์ของตำบลนิคม เป็นตำบลขนาดเล็ก  ตัวตำบลตั้งอยู่ติดบริเวณริมแม่น้ำมูล ชาวบ้านจึงถนัดในการดำรงชีพ ด้วยการทำประมงหาปลา จากแม่น้ำมูล ที่ไหลผ่านตัวอำเภอสตึก

          จากการสำรวจข้อมูลเชิงลึกในระดับครัวเรือน ประชาชนในพื้นที่มีการประกอบอาชีพหลักคือการทำอาชีพ ประมง และรับจ้างทั่วไป เป็นส่วนใหญ่ และต่อยอดปลาที่หาได้จากแหล่งธรรมชาติ โดยการทำปลาส้มปลาร้า หรือ ปลาเค็มที่ถือว่าเป็นของขึ้นชื่ออันดับหนึ่ง ของชุมชน และได้มีการผลิตเพื่อจำหน่ายไปยังนอกพื้นที่ชุมชน แต่ก็ยังถือว่าไม่ใช่อาชีพ ที่สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน เพราะ มีการทำอุตสาหกรรมเพียงบางครัวเรือนเท่านั้น ยังมีประชาชนอีกหลายครัวเรือนที่มีการประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ชุมชนแห่งนี้จึงเป็นอีกชุมชนที่ประสบปัญหาสภาวะความยากจน เพราะในชุมชนไม่มีการทำอาชีพอื่นๆ หรือ มีทรัพยากรทางธรรมชาติอื่นๆ เพื่อนำมาต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแม่บ้านสตรี กลุ่มเล็กๆที่ได้จัดตั้งกลุ่มโดยการทำดอกไม้จากใยผ้าและดอกไม้จันทร์จากกระดาษ

         ร้านพลอยดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นร้านจำหน่ายดอกไม้ที่ประดิษฐ์จากผ้าใยบัวและดอกหญ้าแห้ง นางสาวพลอย สุรถาวร เป็นผู้ประกอบการ และได้ลงทะเบียนเป็นสินค้า OTOP เมื่อปีพ..2556    ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใบบัว โดยนำผ้าใยบัว มาหุ้มใส่กับลวดที่ขดไว้เป็นกลีบดอกไม้แล้วนำด้ายมาพัน     มัดให้แน่น นำกาวมาทาตรงปลายก้าน แล้วนำเกสรติดกับก้าน นำด้ายมามัดติดเข้าด้วยกันพันด้วย Flora Tape  สีเขียวก้านให้เรียบร้อย    ดอกหญ้า เป็นวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น ดอกหญ้าหางกระรอก รวงข้าวอบแห้ง และฝักข้าวโพดอบแห้ง นำมาตากแห้งและย้อมสีต่าง จากนั้นนำมาจัดเป็นช่อใส่แจกันเพื่อจำหน่าย สามารถนำไปประดับตกแต่งสถานที่ โดยจะขาย 1 กำ ราคา 10 บาทมและ 12 กำ ราคา 100 บาท

จากการที่กระผมได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเชิงลึกของชุมชนนิคม ตำบลนิคม  อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

กระผมได้พบกับปัญหาสภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความสามารถในการต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และการดำรงชีพด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน

หากมีหน่วยงานที่มีความรู้ ความสามารถ เข้ามาดูแล และช่วยให้คำแนะนำ กับ ชุมชน ชาวบ้านคงได้ยิ้มรับอย่างมีความสุข กับการที่จะได้พบกับอนาคตที่สดใส และ มีสามารถพึ่งพาอาศัยตนเองได้อย่างยั่งยืน

         วิกฤติสุขภาพกับโรคโควิด19 ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ รวมถึงประเทศไทยด้วยเพราะโรคระบาดที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในทุกด้านอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดีที่สุด ที่เราทุกคนควรทำตอนนี้ คือ ความพยายามที่จะผ่านวิกฤตินี้ไปให้ได้ และไม่ควรที่จะปล่อยให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจและความยากลำบากที่เราประสบจะต้องสูญเปล่า ควรมีการเรียนรู้และมองไปข้างหน้า พร้อมกับหาโอกาสในวิกฤติเพื่อสร้างสังคมใหม่ที่ดีขึ้น