ข้าพเจ้า นางสาวสุภาพร รสหอม ผู้ปฏิบัติงานบัณฑิตจบใหม่ ตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ SC16-2 คณะวิทยาศาสตร์

การประชุมเตรียมงานและดำเนินงานจัดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสัมคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Develomen)

ประชุมออนไลน์ร่วมกันโดยมีอาจารย์สมภพ กาญจนะ อาจารย์ชนัดดา รัตนา และสมาชิกอีก 10 คน ร่วมกันพูดคุยในหัวข้อ การเตรียมงานและดำเนินงานจัดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสัมคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Develomen) โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้

  1. การลงพื้นที่ตำบลสนามชัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาย่างและน้ำพริกกากหมู ในวันที่ 17 สิงหาคม 2565
  2. วิทยากรในการจัดอบรมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสัมคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG and Regional Develomen) จำนวน 2 ท่านจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์พร้อมทีมงาน
  3. การจัดหาสถานที่ดำเนินงานและเตรียมสถานที่ให้พร้อมในการจัดการอบรม ซึ่งผู้ปฎิบัติงานได้จัดหาสถานที่การดำเนินงานคือ หอประชุมหมู่4 บ้านปลัดมุม ตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
  4. การประสานงานและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
    • ทำรายชื่อลงทะเบียน = ปิยะมาศ
    • เบรค/อาหารกลางวัน = ปิยะมาศ และทีมงานผู้ปฏิบัติงานทุกคน  กาแฟ โอวัลติน แก้สกระดาษ กระติกน้ำร้อน ขนม ข้าวกล่อง อย่างละ 40 ชุด
    • แบบประเมิน = นัน จิน
    • ป้ายไวนิล = ปนัดนา กาญจนา
    • ผู้ช่วยวิทยากร = ภานุมาศ
    • สถานที่ = อุมาพร และทีมงานผู้ปฏิบัติงานทุกคน ลำโพง ไมค์ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ทำน้ำพริก
    • ขอรายชื่อ = สาลิกา ผู้เข้าอบรม 20-25 คน

เก็บข้อมูล TCD (Thailand Community Big Data :TCD)

เป็นโครงการเชื่อมโยงข้อมูลชุมชนกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Thailand Community Big Data :TCD) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชุมชนของประเทศขนาดใหญ่หรือรวบรวมข้อมูลสําคัญพื้นฐานของเศรษฐกิจบีซีจี อาทิ การเก็บรวบรวมข้อมูลพืช สัตว์ แมลง และสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นที่  ข้อมูลการเกษตรในพื้นที่ ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น โดยผู้ปฎิบัติงานได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูล หมู่ 7 บ้านแสงจันทร์ ตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรีมย์

                           

การเตรียมสถานที่จัดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสัมคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Develomen)

ประสานงานกับผู้อำนวยการกอง เพื่อขอใช้พื้นที่ในการจัดงาน อุปกรณ์ในการจัดสถานที่ และประชาสัมพันธ์หาประชาชนร่วมงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสัมคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Develomen) จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นในการประกอบการทำน้ำพริกปลาย่างและน้ำพริกกากหมู ผู้ปฎิบัติงานได้ทำความสะอาดหอประชุมหมู่ 4  กวาดลานพื้น ถางหญ้า และทาสีใหม่ เพื่อเตรียมดำเนินงาน จากนั้นแบ่งหน้าซื้อวัตถุดิบในการทำน้ำพริก ได้แก่

  • ปลาช่อนย่าง 1 กิโลกรัม
  • กระเทียม     2 กิโลกรัม
  • หอมแดง     2 กิโลกรัม
  • พริกแห้ง   500 กรัม
  • มะขามเปียก 20 บาท
  • เกลือ 1 มัด (เกลือถุงละ 1 บาท)
  • น้ำตาล 2 กิโลกรัม
  • ผงชูรส 10 บาท
  • รสดี 13 บาท
  • แคปหมูไร้มัน 500 กรัมหรือ(3 โหล)
  • น้ำมันพืชสำหรับทอดปลา และหอมแดงกระเทียม 4 ขวด
  • บรรจุภัณฑ์กระปุกเล็กใส่น้ำพริก หรือถุงชิปล็อคสีน้ำตาล
  • กระดาษรองชับน้ำมัน

     

การดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสัมคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Develomen)

  • 7.30 น. ลงทะเบียน โดยมีประชาชนเข้าร่วมอบรมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสัมคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Develomen) จำนวน 40 คน
  • 8.00 น. อบรมเชิงปฎิบัติการ “หลักการและวิธีการพัฒนาอาหารสู่มาตรฐานความปลอดภัย” โดย ดร.ชุลีพรบุ้งทอง อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร
  • 10.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการ “มาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร” โดย ดร.ชุลีพรบุ้งทอง อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร
  • 12.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาย่าง” โดย ดร.ชุลีพรบุ้งทอง อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร
  • 15.00 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกกากหมู” โดย ดร.ชุลีพรบุ้งทอง อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร

โดยผลิตภัณฑ์ที่เราพัฒนามีการปรับปรุงสูตรให้มีรสชาติที่ดีขึ้น มีรสชาติที่หลากหลาย มีระดับความเผ็ดให้เลือกตามความต้องการ มีประเภทของน้ำพริกให้เลือกตามความชอบ อาทิ น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกกากหมู และจุดเด่นที่สุดในผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้คือ ไม่ใส่ผงชูรส ในการดำเนินงานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยการร่วมมือของอาจารย์ ทีมงานผู้ปฏิบัติงาน และประชานชน