ผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลสะแก

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ตำบลสะแก  อำเภอสตึก  จังหวัดบุรีรัมย์

(ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565)

                                        

วิภา จูมเกตุ

 

ดิฉัน นางสาววิภา จูมเกตุ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ในเขตพื้นที่ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

ในเดือนกรกฎาคมนี้เป็นเดือนแรกที่ดิฉันได้เริ่มปฏิบัติงานดิฉันและคณะผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมประชุมผ่านทางออนไลน์เพื่อรับฟังขั้นตอนการปฏิบัติงานและการดำเนินกิจกรรมต่างๆอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการจัดประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อรับทราบรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคม และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมภายใต้โครงการ

การลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนตำบลสะแกโดยคณะผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโนนมะงา บ้านพลับ บ้านหนองตาเพ็ง บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านโคกสูง บ้านโคกเมือง บ้านโนนค้อ บ้านยางตาสาด บ้านสะแกทอง บ้านโนนสำสำราญ บ้านโนนมะพริก บ้านบึงน้อยพัฒนา บ้านสนามชัย จากการลงพื้นที่พบว่าชาวบ้านได้มีการทำผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากผักตบชวาและต้นกกโดยการนำมาตากแห้งและนำมาประดิษฐ์เป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ เช่น รองเท้า กระเป๋าสาน เสื่อกก ดอกหญ้าแห้ง ในส่วนของดอกหญ้าแห้งชาวบ้านได้มีการผลิตเป็นหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นหญ้าหางกระรอก  หญ้าเขี้ยวงู หญ้าปีกนก ดอกหญ้า และฝักบัวนำมาย้อมสีเพื่อเพิ่มสีสันและตากให้แห้งโดยชาวบ้านจะมีวิธีป้องกันเชื้อราจากดอกหญ้าตามกรรมวิธีของชาวบ้านเองดอกหญ้าส่วนใหญ่จะถูกนำไปจัดแต่งบ้าน สถานที่ หรืองานรับปริญญา   ทางผู้ปฏิบัติงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลการทำผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านในชุมชนเพื่อนำมาวิเคราะความต้องการที่จะพัฒนาของชุมชน

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลายจึงทำให้การลงพื้นที่ปฏิบัติงานครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น

 

Miracle of human craftsmanship: SC17-2 ตำบลสะแก