คุณค่าจากพืชที่ดูไร้ค่า

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ตำบลสะแก  อำเภอสตึก  จังหวัดบุรีรัมย์

(ประจำเดือน กันยายน .. 2565)

                                                      ลลิตา บำรุง

           การปฏิบัติงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของชุมชนตำบลสะแก เพื่อให้ทราบถึงความต้องการและปัญหาของชุมชนที่ต้องการแก้ไข จากนั้นได้ทราบถึงความต้องของชาวบ้านที่อยากจะปรับเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์จากเดิมซึ่งไม่มีความทันสมัยและอาจจะไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทางผู้ปฏิบัติงานจึงได้เล็งเห็นความสำคัญและได้มีการจัดอบรมเพื่อมอบความรู้ให้กับชุมชนโดยอบรมการฝึกทักษะวิชาชีพในการถักและขึ้นรูปกระเป๋าและแจกันด้วยผักตบชวาที่ทางชุมชนมีอยู่แล้ว และยังมีการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพทางการตลาด เทคนิคการทําการตลาดออนไลน์สําหรับผู้เริ่มต้น (Online Marketing for Beginners) เพื่อเพิ่มช่องทางการขายให้กับผลิตภัณฑ์

จากการจัดกิจกรรมฝึกอบรมก็ได้มีการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาและดอกหญ้าแห้งเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้า และได้มีผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ให้กับชุมชน คือ กระเป๋าสาน แจกัน ช่อดอกไม้ และมีการสร้างเพจ Facebook ให้กับกลุ่มชุมชนเพื่อใช้ในการโพสต์ขายสิค้า การคิด Content การถ่ายภาพต่างๆ นำมาลงในเพจ เพื่อเป็นการโปรโมทสินค้าตัวเองได้ เพิ่มช่องทางการขาย สินค้าทั้ง Offline และ Online ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากดอกหญ้า เป็นการนำเอาดอกหญ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามข้างถนน หรือทุ่งนาอันว่าง เปล่า นำมาทำให้แห้งโดยการตากแดด เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น มีการย้อมสีต่างๆ เพื่อให้เกิดความ สวยงามและแตกต่าง  ทำให้กลุ่มชุมชนบ้านสะแก ตำบลสะแก นำดอกหญ้ามาตากแดดให้แห้ง ใช้ภูมิปัญญาและความงามทางธรรมชาติประสานกันออกมาได้อย่างลงตัว และได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น มงกุฎดอกหญ้า ช่อดอกไม้ขนาดจิ๋ว จากดอกหญ้า และนำมาผลิตเป็นสินค้าประเภทต่าง ๆ

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักตบชวา ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สร้างรายได้จริงให้กับชุมชน โดยการทำเอาผักตบชวาที่เกิด ตามแม่น้ำลำคลองเป็นพืชที่ผู้คนมองว่าเป็นวัชพืช มีส่วนทำให้แม่น้ำลำคลองเน่าเสีย นำกลับมาทำเป็นเม็ดเงิน  ผลิตรองเท้า กระเป๋า และแจกันจากผักตบชวานี้ เกิดจากการนำผักตบชวามาจากแห้ง นำมาสาน ถัก ทอ ด้วยมือ เพื่อให้เกิดเป็นรูปเป็นร่าง ที่สามารถใช้งานได้จริง มีน้ำหนักเบา สวยงามเหมาะกับการนำไปใช้งานเอง เป็นของฝากหรือของขวัญก็ได้

ทุกผลิตภัณฑ์ล้วนแล้วเกิดจากภูมิปัญญาและธรรมชาติ ที่ผู้คนมักมองข้ามมัน แต่ทางชุมชนกลับมองเห็นถึงช่องทางที่จะอาศัยอยู่ร่วมกัน จนทำให้ทางกลุ่มชุมชน และชุมชนระแวกใกล้เคียงมีรายได้หลังจากการทำนาเป็นอาชีพ เกิดความรักใคร่ปรองดองกัน สามัคคีกัน เพื่อให้เกิดเป็นความเข้มแข็งของกลุ่ม  และยิ่งไปกว่าความสำเร็จในชุมชน แน่นอนว่า ทางชุมชนเอง ก็อยากจะนำของดีของทางชุมชนออกสู่สายตาของทุกคน ทั้งในแลต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และสืบทอดภูมิปัญญาที่สวยงาม ให้กับคนรุ่นหลังต่อไป

SC17-2 การปฏิบัติงานเดือนกันยายน ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์