ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ภายในตำบลสะแก

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ตำบลสะแก  อำเภอสตึก  จังหวัดบุรีรัมย์

(ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565)

ธนาภา อังกุระศรี

 

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ภายในตำบลสะแกร่วมกับผู้ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ในส่วนผลิตภัณฑ์ในชุมชุน ภายในชุมชนมีทั้งผักตบชวาที่หาได้จากหนองน้ำในชุมชน หนองน้ำในชุมชนนั้นมีผักตบชวาเกิดขึ้นมากมาย และไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์และยังเป็นปัญหาของระบบนิเวศอีกด้วย ทั้งนี้ชาวบ้านจึงคิดค้นวิธีการกำจัดผักตบชวา ถ้าจะทำลายทิ้งก็ไม่ได้ประโยชน์และไม่เกิดรายได้เพิ่มเติม ชาวบ้านจึงคิดหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำผักตบชวามาทำการแปรรูปให้เกิดรายได้ต่อชาวบ้านในชุมชนมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากผักตบชวา เช่น รองเท้าจากผักตบชวา การทอเสื่อจากผักตบชวา ที่รองจาน รองแก้วจากผักตบชวา ผลิตภัณฑ์จักสารจากผักตบชวาต่าง ๆ ทั้งนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ดอกหญ้าแห้ง เป็นการแปรรูปจากดอกหญ้าที่เป็นวัชพืชในทุ่งนา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ทั้งยังไปแย่งสารอาหารของต้นข้าวกิน ชาวบ้านจึงคิดค้นการกำจัดวัชพืชพร้อมทั้งทำให้มีการเพิ่มรายได้มากขึ้น คือการแปรรูปดอกหญ้า โดยการนำมาตากแห้ง จัดทำเป็นดอกไม้แจกันเพิ่มความสวยงาม พัดจากใบตาล เป็นการแปรรูปใบตาลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพราะส่วนมากต้นตาลจะใช้ผลประโยชน์ในส่วนของผลเป็นส่วนใหญ่ จึงมีการผลิตผัดจากใบตาล น้ำใบตาลไปย้อมสี เพิ่มสีสันและความสวยงาม และเป็นจุดเด่นของสินค้า ทำให้จำหน่ายสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนาต่อยอดคือ ดอกหญ้าแห้งที่มีมากมายหลากหลายในทุ่งนา ทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้ชาวบ้านเนื่องจากทางกลุ่มจะมีการรับซื้อดอกหญ้าแห้งจากชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านในพื้นมีรายได้เสริม และจะพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของ ดอกไม้แห้งจิ๋ว ช่อดอกหญ้าแห้ง ดอกหญ้าแห้งตั้งโต๊ะ เพิ่มจุดเด่นให้สินค้าให้เป็นที่น่าจดจำทำให้สินค้าสามารถจำหน่ายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น รองเท้าจากผักตบชวา เพิ่มเติมกลิ่นสมุนไพรในรองเท้าจากผักตบชวา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของชุมชน และเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนตำบลสะแก