โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2565

          ข้าพเจ้า นางสาวอาริยา คตโคตร ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้ากลุ่มงานตำบลสระทองได้เข้าร่วมชมงานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ผ่านทาง Facebook Live โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการบริการด้าน BCG ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม

เข้าชมการปฐมนิเทศอาจารย์ประจำตำบลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ผ่านทาง Youtube Live

รูปที่ 2 การปฐมนิเทศอาจารย์ประจำตำบลจาก      มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เข้าร่วมประชุมทางวิดีโอผ่านโปรแกรม Google Meet กับอาจารย์ประจำตำบลสระทองเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงานและการแบ่งหน้าที่การทำงานภายในทีม

เข้าอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD ผ่านทาง Facebook Live โดย
ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รูปที่ 2 อบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD

ข้าพเจ้าและทีมงานกลุ่มงานตำบลสระทองได้นัดหมายการลงพื้นที่ตำบลสระทองครั้งแรกทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ 5 บ้านโนนสวรรค์ หมู่ 6 บ้านม่วงเจริญ หมู่ 7 บ้านบุ่งเจริญ หมู่ 8 บ้านบุ่งช้าง และหมู่ 9 บ้านสุขสำราญ จะเริ่มจากการลงพื้นที่หมู่ 9 บ้านสุขสำราญ ด้วยการเข้าพบผู้นำหมู่บ้านเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และขออนุญาตลงสำรวจข้อมูลต่างๆของหมู่บ้าน เริ่มการทดลองลงพื้นที่สอบถามข้อมูลเป็นครัวเรือนในด้านเกษตรกรในหมู่ 9 และได้เข้าชมสวนอินทผาลัม แม่สว่างจิต นิลไธสง ภายในสวนมีผลไม้ที่หลากหลายมากอย่างเช่น มะม่วง ส้มโอ กล้วย ลิ้นจี่ ฯ แต่ผลไม้ที่เป็นจุดเด่นของสวนคือ อินทผาลลัม ที่ปลูกไว้หลายสายพันธุ์ ซึ่งกำลังมีผลผลิตอยู่ช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน โดยประมาณทางสวนแม่สว่างจิตจึงเก็บผลผลิตขายเพื่อเป็นรายได้เสริมและได้เปิดสวนอินทผาลัมเป็นสถานที่ให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าแวะชมสวนได้โดยไม่เสียค่าบริการนอกจากผลของอินทผาลัมสวนแม่สว่างจิตยังมีต้นอินทผาลัมไว้ขายให้กับผู้ที่สนใจอีกด้วย

รูป 3 ขออนุญาตผู้นำลงพื้นที่เก็บข้อมูลในหมู่บ้าน
รูปที่ 4 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านเกษตรกร

และได้ลงพื้นที่หมู่ 6 บ้านม่วงเจริญ เป็นหมู่บ้านสุดท้าย ซึ่งได้เข้าชมและทำความรู้จักกับกลุ่มทอผ้าบ้านม่วงเจริญ โดยมีพี่ชมพู่ ปาสาเน เป็นผู้แนะนำและพาชมกลุ่มทอผ้า เป็นกลุ่มทอผ้าที่เริ่มตั้งแต่การเลี้ยงม่อนไหมจนถึงการทอผ้าและได้มาเป็นผลิตภัณฑ์ประจำตำบลสระทอง ในช่วงนี้กลุ่มทอผ้ายังไม่ได้มีการเลี้ยงม่อนไหม แต่จะเริ่มจากการคิดลายผ้า แกะลาย ย้อมผ้า และทอผ้าเป็นผืนรวมไปถึงการทำเป็นผลิตภัณฑ์ทั้งผ้าไหมสำเร็จรูปและผ้าพันคอ ซึ่งทางทีมกงานกลุ่มงานสระทองได้มีการสอบถามความต้องการของกลุ่มทอผ้าในเรื่องการยกระดับสินค้าเพื่อที่จะทำให้สินค้าดูมีคุณค่าและทำให้น่าสนใจมากขึ้นได้อย่างไร และได้ข้อเสนอและความต้องการของกลุ่มทอผ้าที่หลากหลายมากซึ่งทางทีมงานกลุ่มงานสระทองได้เก็บข้อมูลที่ได้มาไปหารือและหาวิธีการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่สนใจเพิ่มมากขึ้นในการลงพื้นที่ครั้งนี้ทีมงานจะนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาวางแผนในการทำงานและลงพื้นที่ครั้งต่อไป

รูปที่ 5 วิธีแกะลายผ้า
รูปที่ 6 สอบถามข้อมูลกลุ่มทอผ้าบ้านม่วงเจริญ