“บทความประจำเดือนกรกฎาคม”
แสงใส กลิ่นหอม
ภายใต้ “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ในส่วนของการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรการการป้องกัน โควิดตามมาตรการของรัฐบาลอย่างเคร่งคัด ข้าพเจ้า นางแสงใส กลิ่นหอม ประเภทประชาชนจากตำบล คณะวิทยาศาสตร์ ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนกรกฎาคมนี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการทำงานและได้ทำการ ลงพื้นที่เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ในพื้นที่รับผิดชอบปฏิบัติงานตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565 เวลา 10:00 น. ผศ.ดร.วิไลรัตน์ ยาทองไชย ดร.ชูศักดิ์ ยาทองไชยและอาจารย์นิธินันท์ มาตา อาจารย์ประจำที่ปรึกษาผู้รับผิดชอบ พื้นที่ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ ได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าร่วมการประชุม ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรับทราบแนวทางการปฏิบัติงานในระยะเวลา 3 เดือน มีการต้อนรับและแนะนำตัวสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน รวมถึงอธิบายวิธีและแนวทางในการปฏิบัติงาน การลงเวลาปฏิบัติงาน และการเขียนบทความให้กับผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบและเข้าใจ
วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2565 เวลา 09:30 น.ได้ลงพื้นที่กับคณะทำงาน ประจำเดือน กรกฎาคม เพื่อสำรวจข้อมูลทรัพยากรชุมชน ในส่วนของการเก็บข้อมูลในระบบ TCD นั้นยังคงอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและเรียนรู้ระบบเพิ่มเติมอยู่ ข้าพเจ้าเองได้มีการเข้าอบรม การอบรมวิธีจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD โดยอบรมผ่านทาง Facebook แฟนเพจ U2T Online Community และในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ทางคณะทำงานตำบลเสาเดียว ได้มีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านภายในตำบลมีอยู่แล้ว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ สินค้า OTOP ชุมชน หรือสินค้าที่ขึ้นชื่อของชุมชน โดยทางคณะทำงาน ได้มีการลงพื้นที่สอบถามไปยังกลุ่มประชาชนในชุมชนตำบเสาเดียว เพื่อนำข้อมูลหรือปัญหาที่ชาวบ้านพบและอยากให้ทางคณะทำงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปในทิศทางใดบ้าง ทางคณะทำงานเองได้นำมาปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล เพื่อที่จะคัดเลือกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนำมาต่อยอดและส่งเสริมให้เป็นที่รู้จัก เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าและสามารถเพิ่มมูลค่าของตัวผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น
เวลา 10:00 น. เดินทางไปยังที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 13 บ้านนาอุดม ได้พบผู้นำชุมชนพร้อมกับกลุ่มประชาชนบ้านนาอุดม โดยได้ทำความรู้จักกับชาวบ้าน ได้สัมภาษณ์ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ อย่างรายได้รวมครอบครัว รายจ่าย ภาระหนี้สิน ทรัพย์สิน การประกอบอาชีพของคนในชุมชน ในส่วนต่อมาได้สัมภาษณ์ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ทางชุมชนบ้านนาอุดมมีอยู่ ที่สามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาได้และต้องการให้ทางคณะทำงานช่วยพัฒนา ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็คือ ผ้าไหม ซึ่งเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้าน ชาวบ้านในตำบลและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ด้วยเอกลักษณ์ของลายผ้าที่ทางหมู่บ้านนาอุดมได้คิดค้นนั้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ยังขาดการสนับสนุนให้เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทางคณะทำงานเลยได้สอบถามข้อมูลและจะนำไปหาแนวทางในการต่อยอดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมและอาจจะมีการเพิ่ม (Packaging Design) ที่ใช้บรรจุสินค้าให้ดูดีและ สามารถเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้
เวลา 13:00 น. เดินทางไปยัง หมู่10 บ้านห้วยก้อม และหมู่12 บ้านหนองไผ่ โดยได้ทำความรู้จักกับชาวบ้าน ได้สัมภาษณ์ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ด้านการประกอบอาชีพเสริมของคนในชุมชน ได้มีการสอบถามกับทาง ชาวบ้านในชุมชน ซึ่งชาวบ้านเองได้นำเสนอสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนคือ การทอเสื่อกก ซึ่งเสื่อของชุมชนดังกล่าวจะมีลวดลายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์