ข้าพเจ้านางสาวศุภาวรรณ ดอนน้อยหน่า ผู้ถูกจ้างงานประเภทประชาชนได้สำรวจเกี่ยวกับมะขามในชุมชนตำบลหนองชัยศรี ไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เป็นทั้งอาหารและสมุนไพรใกล้ตัวที่มีคุณค่า สามารถใช้ส่วนยอดอ่อน เนื้อหุ้มเมล็ด ปรุงเป็นอาหารต่างๆได้หลากหลายชนิด หรือแม้แต่รับประทานเป็นผลไม้ นั่นคือ มะขาม
คติความเชื่อ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม
มะขามใช้ทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งใบอ่อน ฝักอ่อน ฝักแก่ และเมล็ดก็นำมาคั่วรับประทานได้ มะขามเปียกที่ทำจากมะขามฝักแก่เป็นเครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่สำคัญในอาหารไทย ทั้งแกงส้ม ต้มส้ม ไข่ลูกเขย น้ำปลาหวาน ยอดและใบมะขามอ่อนนำไปยำหรือใส่ในต้มเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว และยังใช้ทำขนมได้อีกหลายชนิด เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามแก้ว มะขามคลุก มะขามกวน มะขามในด้านสมุนไพร แก้อาการท้องผูกถ่ายไม่ออก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–30ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
แก้อาการท้องเดินกองทัพ ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน ถ่ายพยาธิลำไส้หมา ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน แก้ไอขับเสมหะเสลดติดคอ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน
ประโยชน์ของมะขามไม่ธรรมดาและเรายังกินมะขามได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นของกินเล่น เครื่องดื่มเย็นชื่นใจ หรือเป็นเมนูอาหาร และซอสต่างๆ เรียกได้ว่ามีมะขามติดบ้านไว้ ยังไงก็ดีมาก