โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG  

(U2T for BCG and Regional Development)

 

หลักสูตร: MS19-2  โครงการ การสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าพื้นบ้านตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจชุมชน

 

หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ

            :  อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา

 

บทความ: การปฏิบัติงานเดือนกรกรฎาคม ภายในโครงการการสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าพื้นบ้านตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจชุมชน

 

ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวแสงเดือน วงษ์นก ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน

 

ดิฉัน นางสาวแสงเดือน วงษ์นก ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน MS19-2 ตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้เข้าร่วมโครงการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การปฏิบัติงานในโครงการเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2565 เริ่มต้นจาก หัวหน้าโครงการ คือ

รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ และ อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา อาจารย์ประจำโครงการ ได้มีการเข้าร่วมประชุมออนไลน์ เพื่อปฐมนิเทศชี้แจงรายละเอียดโครงการและแนะนำคณะทำงาน รวมทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 นายชยพล กลองชัย ผู้ปฏิบัติประเภท ประชาชน มีความสามารถ การบริหารจัดการ การออกแบบลวดลาย การผลิต การขายผ้าไหม ครบวงจร หมู่ที่ 2 นายหัสชัย เรืองยิ่ง ผู้ปฏิบัติประเภท  ประชาชน มีความสามารถ ภาษาอังกฤษ การจัด Event นำผ้าไหมขึ้นสู่เวทีประกวด การเดินแบบ การส่งเสริมการตลาด  การสร้าง Content หมู่ที่ 3,13 นางสาวนฤมล เกรัมย์ ผู้ปฏิบัติประเภท นักศึกษาจบใหม่ มีความสามารถ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระบบ เครือข่าย การตลาดออนไลน์ หมู่ที่ 4 นายชาคริต  เพ็ชรหนู มีความสามารถ ถ่ายภาพ ทำ Content ผลิตสื่อ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทนักศึกษาจบใหม่ หมู่ที่ 5,11  นางสาวพัชรีภรณ์ เพ็ชรเลิศ  ผู้ปฏิบัติ ประเภทนักศึกษาจบใหม่ ความสามารถ รัฐศาสตร์ Bigdata ชุมชนหลักเขต หมู่ที่ 6 ดิฉัน นางสาวแสงเดือน วงษ์นก  ผู้ปฏิบัติ ประเภทประชาชน มีความสามารถ การบริหารจัดการทอผ้าครบวงจร ผู้รับผิดชอบ หมู่ที่ 7 นายกิติกรณ์  ก้องสุรินทร์  ผู้ปฏิบัติ ประเภทนักศึกษาจบใหม่ มีความสามารถเศรษฐศาสตร์ การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตชุมชน หมู่ที่ 8,9,14 นายเฉลิมวุฒิ วิชัยรัมย์  ผู้ปฏิบัติประเภทประชาชน มีความสามารถ นิติกร Bigdata ชุมชนหลักเขต  หมู่ที่ 10 ป้าเล็น กระเชิญรัมย์ ผู้ปฏิบัติประเภทประชาชน มีความสามารถ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าครบวงจร หมู่ที่  12 นางสาวสโรชา หงษา  ผู้ปฏิบัติประเภท นักศึกษาจบใหม่ มีความสามารถ บัญชี การตลาดออนไลน์

การประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์

คณาจารย์และคณะปฏิบัติงาน ได้มีการประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ ครั้งที่ 2 ได้มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผ้าพื้นบ้านตำบลหลักเขต การหาวัตถุดิบ มาทำลวดลายผ้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าในชุมชน ได้ข้อสรุปว่า โครงการนี้จะพัฒนาผลผลิตผ้าพื้นบ้านชุมชนตำบลหลักเขต จะมีสีสดใส สีสว่าง มีลวดลวดหลากหลาย จากแนวคิดของโครงการนี้ จะผลิตเนื้อผ้าจากสีธรรมชาติ พัฒนาลวดลายทางเลือกใหม่ที่นำต้นแบบมาจากใบหม่อน

   

การประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์

คณาจารย์และคณะปฏิบัติงาน ได้มีการประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ ครั้งที่ 3 เกี่ยวกับการวางแผนการผลิตผ้า การออกแบบลายผ้า การทำการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ การนำผ้าไหมและผ้าด้ายตำบลหลักเขตให้เป็นที่รู้จักของสังคมให้กว้างขึ้นกว่าเดิม

                    

การประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ ครั้งที่ 4

คณาจารย์และคณะปฏิบัติงาได้มีการประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ครั้งที่4เข้าร่วมประชุมออนไลน์เพื่อรับฟังการนำเสนอการผลิตลวดลายผ้าต้นแบบและการสรุปผลการปฏิบัติงานเพื่อเขียนรายงานประจำเดือนกรกฏาคม

สรุปการประชุมออนไลน์จะผลิตผ้าไหมผ้าด้ายลายใบม่อนแนะนำแนวทางในการเขียนบทความเนื้อหาในบทความ กำหนดเวลาในการส่งบทความวันที่20 กรกฎาคม 2565 ร่วมถึงสรุปชื่อทีมในการดำเนินโครงการคือ“Lak Khet Folk Fabric”

การเข้าร่วมฟังบรรยาย การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล    

     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จุดมุ่งหมายการลงพื้นที่สำรวจในชุมชนที่ได้รับมอบหมาย เน้นข้อมูลที่มีประโยชน์ ใช้ได้จริง เข้าระบบได้ที่ http://cbp.u2t.ac.th ก่อนลงพื้นที่ ควรทราบถึงเป้าหมายการเก็บข้อมูลในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบให้ชัดเจน แนวทางเก็บข้อมูลควรจะนำไปใช้ ในการอบรมนี้จะแนะนำการใช้งานของระบบ TCD และ คู่มือในการใช้งาน การกรอกข้อมูลทั้ง 10 หมวดหมู่

ประวัติตำบลหลักเขต

หลักเขตเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล วันที่ 16 ธันวาคม 2539 จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลหลักเขตเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552  เป็นต้นมา

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น

ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวม รายได้ การศึกษา สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติ

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตําบลหลักเขตตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอําเภอเมืองบุรีรัมย์ ห่างจากที่ว่าการอําเภอเมืองประมาณ20กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ จดตําบลสวายจีก อําเภอเมืองบุรีรัมย์

ทิศใต้ จดตําบลโคกขมิ้น อําเภอพลับพลาชัย

ทิศตะวันออก จดตําบลสองชั้นและตําบลสูงเนิน อําเภอกระสัง

ทิศตะวันตก จดตําบลสําโรงอําเภอพลับพลําชัยและตําบลสะแกซํา อําเภอเมืองบุรีรัมย์

ลักษณะภูมิประเทศ

เทศบาลตำบลหลักเขตมีเนื้อที่ พื้นที่ทั้งหมด 40.264 ตารางกิโลเมตร 25,065 ไร่ มีสภาพภูมิประเทศของตําบลหลักเขต มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150 – 180 เมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรม

ลักษณะภูมิอากาศ

​          ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น  อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู มี 3 ฤดู ดังนี้

1)ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน

 2)ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนกรกฎคม ถึงเดือนตุลาคม

​  3)ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์

ลักษณะของดิน

​          ลักษณะดินโดยทั่วไปจะเป็นดินร่วนปนทราย

ลักษณะของแหล่งน้ำ

​​          แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

​                    1)ประปาหมู่บ้าน 5 แห่ง

​                    2)คลอง 4 แห่ง

หมู่บ้านในเขตเทศบาล ตําบลหลักเขต จํานวน 14 หมู่บ้าน ได้แก่

หมูที่  1  บ้านปริงเปน                                  หมู่ที่  2  บ้านหลักเขต

​                    หมู่ที่  3  บ้านหนองไผ่                                  หมู่ที่  4  บ้านโคกเก่า

​                    หมู่ที่  5  บ้านโคกเมือง                                  หมู่ที่  6  บ้านตาแผ้ว

​                    หมู่ที่  7  บ้านเสม็ด                                      หมู่ที่  8  บ้านเขตสามัคคี

​                    หมู่ที่  9  บ้านเขตพัฒนา                                หมู่ที่  10 บ้านหนองสมบูรณ์

​                    หมู่ที่  11 บ้านสมสุข                                    หมู่ที่  12 บ้านเขตสมบูรณ์

​                    หมู่ที่  13 บ้านไผ่สีทอง                                  หมู่ที่  14 บ้านเขตประชาสรร

ประชากร

ประชากรทั้งสิ้น 6,499 คน แยกเป็นชาย 3,246 คน หญิง 3,253 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 161 คน / ตารางกิโลเมตร

สภาพทางเศรษฐกิจ

1) อาชีพ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทํานา และอาชีพรับจ้างทั่วไป

2) หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตําบลหลักเขต – โรงสีขนาดเล็ก 25 แห่ง

สภาพทางสังคม

การศึกษา มีสถานศึกษา ทั้งสิ้น 4 แห่ง แบ่งเป็น

1) โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง, เป็นโรงเรียนขยายโอกาส 3 แห่ง

2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตําบลหลักเขต 4 แห่ง

สถาบันและองค์การทางศาสนา

มีวัด 4 แห่ง, มีสํานักสงฆ์ 2 แห่ง

การสาธารณสุข

1) สถานีอนามัยประจําตําบล 1 แห่ง

2) อัตราการมีและใชส้วมราดน้ำ 100%

การไฟฟ้า

อัตราการมีไฟฟ้าใช้ 100 %

แหล่งน้ำธรรมชาติ

ลําน้ำ,ลําห้วย 2 แห่ง,สระน้ำ 8 แห่ง,บึงหนอง 6 แห่ง,บ่อโยก 15 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

ประปาหมู่บ้าน 11 แห่ง สระน้ำ 12 แห่ง, บ่อโยก 21 แห่ง

กลุ่มมวลชนจัดตั้ง

1) ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จํานวน 300 คน

2) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 1 รุ่น จํานวน 113 คน

3) งานตํารวจหมู่บ้าน 1 รุ่น จํานวน 81 คน

หมู่ที่  6  บ้านตาแผ้ว

1.ประวัติหมู่บ้าน

ก่อนก่อตั้งชื่อบ้านตาแผ้ว มีครอบครัวหนึ่งย้ายถิ่นฐานมาอยู่เป็นครอบครัวแรก มีหัวหน้าครอบครัวชื่อตาแผ้ว หลังจากนั้นมาจึงมีผู้คนเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า ตาแผ้ว เลยตั้งชื่อหมู่บ้านตาแผ้วจนทุกวันนี้พื้นที่ทั้งหมด 102 ไร่

2.อาณาเขต

บ้านตาแผ้ว หมู่ที่ 6 ตั้งอยู่ที่ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 21 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ          ติดต่อกับ  บ้านติม ต.กระสัง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ทิศใต้              ติดต่อกับ  บ้านเขตพัฒนา ต.หลักเขต อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ  บ้านสำราญโกน ต.สูงเนิน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ  บ้านโคกเมือง ต.หลักเขต อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

3.จำนวนประชากร  รวมทั้งสิ้น 461 คน แยกเป็น  ชาย 225 คน      หญิง 236 คน

3.1  ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ) รวมทั้งสิ้น 59 คน แยกเป็น ชาย – คน  หญิง – คน

     3.2  คนพิการ  รวมทั้งสิ้น  –  คน  แยกเป็น  ชาย – คน หญิง – คน

  1. จำนวนครัวเรือน 102 ครัวเรือน
  2. การประกอบอาชีพ

     อาชีพหลักของครัวเรือน

อาชีพเกษตรกร  จำนวน   325    คน

อาชีพรับจ้างทั่วไป         จำนวน   112    คน

อาชีพขายของ    จำนวน   24      คน

  1. ผู้ว่างงาน จำนวน 113 คน แยกเป็น

8.1 กลุ่มอายุ  13 – 18  ปี           จำนวน           20       คน

8.2 กลุ่มอายุ  19 –  24  ปี          จำนวน           18       คน

8.3 กลุ่มอายุ  25  ปี ขึ้นไป          จำนวน           75       คน

7.หมู่บ้าน มีรายได้ 27,000 บาท/ปี     รายจ่าย 15,000 บาท/ปี

8.รายได้เฉลี่ยของประชากร  (ตามเกณฑ์  จปฐ.  ปี 60)   จำนวน 50,000 บาท/คน/ปี

ครัวเรือนยากจน  (รายได้ไม่ถึง 38,000 บาท คน/ปี) ปี  2560  จำนวน 19 ครัวเรือน

9.จำนวนกลุ่มกิจกรรม / อาชีพ  มีจำนวน – กลุ่ม

10.กองทุนในหมู่บ้าน   มีจำนวน  2 กองทุน  ดังนี้

12.1 ชื่อกองทุน  หมู่บ้าน 1 ล้าน            มีงบประมาณ 2,200,000 บาท

12.2 ชื่อกองทุน  ประชารัฐ                   มีงบประมาณ 200,000      บาท

11. ผ้าพื้นบ้าน ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว

จากการได้เข้าร่วมปฏิบัติงานในโครงการนี้ สิ่งที่ดิฉันได้รับจากโครงการคือ ได้ทำงานกับนักวิชาการทำให้เกิดความกระตือรืนร้น มีความต้องการอยากรู้ อยากเรียนเพิ่มขึ้น ได้รับความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่เคยรู้และ ให้มีความรู้มากเพิ่มขึ้น ได้เป็นแรงผลักดันให้ทำงานดี ๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อ ๆ ไป สำหรับการศึกษาข้อมูลบริบทชุมชน ทำให้ดิฉันได้ตระหนักถึงการรักษาสิ่งดี ๆ ในชุมชน ทั้งด้านการประกอบอาชีพ การรักษาประเพณีวัฒนธรรมชุมชน การรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะเรื่องผ้าพื้นบ้านที่มีคุณค่า เพื่อให้เป็นมรดกให้ลูกหลานได้เรียนรู้ต่อไป

 

นางสาวแสงเดือน วงษ์นก ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน

       MS19-2 ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์