สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวชลันธร แหร่มพงษา ประเภทบัณฑิต เป็นผู้ปฏิบัติงานของ ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ปฏิบัติงานประจำเดือน สิงหาคม

การปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคมทางทีมของตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ได้มีการวางแผนร่วมกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่รัฐวิสาหกิจ และการลงพื้นที่เก็บ TCD และเพื่อให้เกิดความเข้าใจและรับรู้ความต้องการที่ชัดเจนทางผู้ปฏิบัติงานและตำบลโคกว่าน ร่วมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาได้มีการวางแผนการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งในแบบแผนการพัฒนาทางตำบลทีมของตำบลโคกว่านได้มีการวางแผนโดย พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เป็นรูปแบบใหม่ ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ให้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ดึงดูผู้บริโภคเพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นจากเดิมด้วย

ตำบลโคกว่านได้มีการพัฒนาทั้งหมด 2 ผลิตภัณฑ์ กระยาสาทร และไข่เค็ม โดยชนิดที่ 1 คือ กระยาสาทร กระยาสาทรจะมีการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ เพิ่มคุณค่าทางสารอาหารและบรรจุภัณฑ์ให้รับประทานง่ายมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ชนิดต่อมาคือ ไข่เค็ม ได้มีการพัฒนาโดยการนำไข่เต็ที่พอกดินภูเขาไฟแล้วนำ ไข่แดงเค็มมาอบแห้งหลังจากนั้นบดไข่แดงเค็มให้ละเอียดเป็นผง ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นไข่เค็มผง สามารถใช้โรยหน้าอาหารตามต้องการ ในระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้มีการทดลองการทำผลิตภัณฑ์ โดยมีการเรียกประชุมและร่วมกันหารือเกี่ยวกับการพัฒนาทุกๆสัปดาห์ ร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การพัฒนานั้นสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ให้เป็นแบบที่ต้องการตามที่วางแผนไว้ หากมีข้อผิดพลาดก็แก้ไขสถานการณ์ต่อไปเพื่อให้ผลลัพธ์ดียิ่งขึ้น

การลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD โดยต้องเก็บข้อมูลทั้งหมด 10 ประเภท รวม 500 รายการ ดังนั้นจึงได้แบ่งให้ผู้ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลแบ่งเป็นหมู่ๆไป ทางผู้ปฏิบัติงานได้มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลสำรวจบริบทของชุมชน ตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งเป็น 8 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านโคกว่าน หมู่ 2 บ้านโคกสระ หมู่ 3 บ้านหนองถนน หมู่ 4 บ้านสมจิต หมู่ 5 บ้านหนองหมี หมู่ 6 บ้านหนองหมี หมู่ 7 บ้านหนองตะครองน้อย หมู่ 8 บ้านพุทธไธสง จำนวนประชากรในตำบลโคกว่าน มีจำนวนหลังคาเรือน 1,124 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากรประมาณ 5,252 คน โดยพื้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีเขียวมีความร่มรื่น และมีสถานที่น่าสนใจที่เป็นสถานบริการด้านสุขภาพ ศาสนสถาน และสถานศึกษาหลายแห่ง

ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ยังได้ข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนทางผู้ปฏิบัติงานจะยังคงต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป อีกทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นยังคงไม่เสร็จสมบูณ์ทางผู้ปฏิบัติจะยังคงต้องใจเพื่อที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถยกระดับเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อย่างแน่นอน