AG12-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ บทความประจำเดือนสิงหาคม 2565 ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้านางสาวศิริลักษณ์ เดชไธสง ผู้จ้างงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ จากการลงพื้นที่ในเดือนกรกฎาคม ได้มีผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนาและยกระดับให้มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีรายได้ให้กับตำบลบ้านแวง คือ ขนมพื้นบ้านและจักสานไม้ไผ่
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้านตำบลบ้านแวง ( ขนมฝักบัว,ขนมดอกจอก )
ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์ประจำตำบล ได้เข้าพบท่านนายกองค์การบริการส่วนตำบลบ้านแวง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแวง ผู้อำนวยกองส่งเสริมการเกษตรและผู้อำนวยการกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานได้มีนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ตำบลบ้านแวง และได้มีการพูดคุยเเลกเปลี่ยนข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานครั้งต่อไป และในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านแวงและอาจารย์ประจำตำบล ได้มีการลงพื้นที่พูดคุยและให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์ เพื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้านและจักสานไม้ไผ่ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของตำบลบ้านแวง
ในวันที่ 2-7 สิงหาคม 2565 การปฏิบัติการลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ก่อนลงพื้นที่ได้ทำการประสานงานให้กับผู้ใหญ่บ้านได้ประกาศแจ้งชาวบ้านไว้แล้วและได้ทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรกรในหมู่บ้าน บ้านโคกแดง บ้านโคกยาว บ้านสะแวง บ้านเหล่าเจริญ ในตำบลบ้านแวงส่วนมากจะเป็นเกษตรกรปลูกข้าว มะม่วง ไผ่ ยางพารา ต้นกล้วย จำพวกสัตว์เลี้ยง วัว ควาย ไก่ เป็ด สุนัข เป็นต้น อาหารประจำถิ่นช่วงเดือนนี้จะมีการเก็บเห็ดในป่ามาประกอบอาหาร ป่นเห็ดไค แกงเห็ด หมกกบใส่ปลีกล้วย ร้านอาหารจะมีร้านอาหารตามสั่ง ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้าค้าทั่วไป ตำบลบ้านแวงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้แหล่งน้ำหลายแห่ง และพืชเกษตรกรที่ปลูกเลี้ยงชีพ
เดือนสิงหาคม 2565 ได้มีการพูดคุยกับในทีมผู้ปฏิบัติงาน จะมีการจัดอบรมการทำขนมพื้นบ้านให้กับกลุ่มแม่บ้าน บ้านแก่นท้าว ซึ่งมีวิทยากรคุณนท มณีวรรณ มาให้ความรู้และเทคนิคกับทำขนมฝักบัว
วันที่ 11 สิงหาคม 2565 ได้มีการจัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้าน ตำบลบ้านแวง ณ ศาลากลางบ้านแก่นท้าว หมู่ 5 เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ และเป็นการพัฒนาขนมดอกจอก ขนมฝักบัวของชุมชนตำบลบ้านแวงให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านขนมฝักบัว อาจารย์ประจำตำบล อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป ที่ได้มาร่วมให้ความรู้แก่กลุ่มแม่บ้านบ้านแก่นท้าวในครั้งนี้ การจัดอบรมขนมพื้นบ้าน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมดอกจอกในเรื่องของลักษณะขนมที่มีขนาดพอดีคำ ผงกลิ่นรสที่อาจารย์นำมาใช้ในการผสมกับแป้งขนมดอกจอกเพื่อให้ขนมมีรสชาติและกลิ่นที่หอม มีผงกลิ่นรสโกโก้ ผงกลิ่นรสสตอเบอรี่ ผงกลิ่นรสเผือก แป้งที่ใช้ในการทำแป้งสาลีและแป้งข้าวเจ้า สูตรดั้งเดิมคือแป้งสำเร็จรูปสำหรับขนมดอกจอก ในการทำรสชาติหวานมันและมีกลิ่นหอมปรุงรสและอร่อย
การทำขนมฝักบัววิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านขนมฝักบัวคุณนท ให้ความรู้และเทคนิคการทำขนมฝักบัว จะใช้ข้าวตาแห้งในการมำขนมฝักบัวซึ่งจะมีการโม่ข้าวตาแห้งมาแล้วพร้อมผสมวัตถุดิบให้กลุ่มชาวบ้านได้ดู เคร็ดลับของการใช้ข้าวตาแห้ง คือต้องหมักไว้ข้ามคืนแป้งถึงจะมีความนุ่มและอร่อย กระทะที่ใช้จะมีการเผากระทะมาไว้สำหรับทอด การทอดให้ใส่น้ำมันแค่ก้นกระทะ ลักษณะขนมฝักบัว มีลักษณะสวย หอมกลิ่นใบเลย หวานมันอร่อย
วันที่ 12 สิงหาคม 2565 ลงพื้นที่บ้านแก่นท้าวเพื่อทดลองการทอดขนมฝักบัวด้วยข้าวตาแห้งที่หมักไว้ข้ามคืน แป้งมีความนุ่มกว่าวันที่ทดลอง การทอดกลุ่มแม่บ้านจะทอดแล้วตะบัดน้ำมันใส่ ไม่กลับด้านมีลักษณ์สวยเช่นกัน เนื้อแป้งมีความนุ่ม กลิ่นของใบเตยหอม
วันที่ 13 สิงหาคม 2565 เป็นการทอลองสูตรขนมฝักบัว โดยสูตรไม่หมักแป้ง แป้งสาลีและแป้งข้าวจ้าว น้ำใบเตยที่ปั่น2รอบมีสีที่สวย การทอดจะเป็นการใช้ไฟอ่อนน้ำมันก้นกระทะ ขนมฝักบัว จะเริ่มฟูจากขอบมาตรงกลางขนม มีลักษณะสวย หอม หวาน มัน สูตรแป้งจะมีความนุ่มกว่าสูตรหมักแป้ง แต่ความอร่อยยกให้2สูตรมีความอร่อย
จากการลงพื้นที่และจัดอบรมการพัฒนาขนมพื้นบ้าน ชาวบ้านบ้านแก่นท้าวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและมีการพัฒนาอย่างเรื่อยๆ ดิฉันผู้ปฏิบัติงานจะพัฒนาและยกระดับให้ตำบลบ้านแวงมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจมากขึ้นค่ะ