ดิฉันนางสาววรรณวิสา เผือกไธสง ประเภท ประชาชน ดำเนินงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรัมย์ ระยะเวลาดำเดินงาน 3 เดือน ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานประจำ ณ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยทีมงาน AG05-1

 

สีย้อมผ้าที่ได้จากธรรมชาติโดยการนำส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอก ผล ราก เปลือก แกน มาต้มสกัดเป็นสีย้อม สีย้อมธรรมชาติเป็นสารประกอบอินทรีย์ ส่วนวัตถุดิบที่ได้จากเปลือกไม้ ผลผลิตจากต้นไม้มีมากมายหลายชนิด เช่น เปลือกประดู่ (ให้สีน้ำ ตาล น้ำตาลแดง) เปลือกไม้เหียง (ให้สีชา) เปลือกสะเดา(ให้สีกะปิ สีปูนแห้ง) ใบหูกวางผสมกับโคลน (ให้สีเทาอมเหลือง) ใบหูกวาง (ให้สีเหลืองอ่อน) ใบสาบเสือ (ให้สีเขียวอ่อน) ใบสัก (ให้สีชา) ใบมะม่วง (ให้สีเขียวอมเหลือง) ดอกเงาะ (ให้สีโอโรส) ดอกอัญชัน (ให้สีม่วง สีฟ้า สีน้ำเงิน) กาบมะพร้าว ลูกหมาก (ให้สีแดงอมชมพู) ขมิ้น (ให้สีเหลือง) ลูกมะเดื่อ (ให้สีเทาดำ ) ใบฮ่อม (ให้สีฟ้าคราม) เป็นต้น

สีธรรมชาติสามารถย้อมติดเส้นใยไหมได้ดีที่สุด รองลงมาคือเส้นใยฝ้าย ในการย้อมจำเป็นต้องใช้สารช่วยติด เพื่อให้สีติดอยู่ในเส้นใย โมเลกุลของสารช่วยติดจะเข้าไปรวมตัวกับโมเลกุลของสี ทำให้โมเลกุลใหญ่ขึ้นจึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกจากเส้นใยได้ก่อให้เกิดความคงทนต่อการซักดีขึ้น

ตัวอย่างการย้อมสีธรรมชาติ

1.การทำความสะอาดเส้นไหมหรือการฟอกไหม

1.1 นำเส้นไหมดิบลงต้มในน้ำเดือดที่ผสม กับผงด่าง โซดาแอช (Sodium Carbonate) หรือสาร ที่มีสภาพเป็นด่างเช่น น้ำด่างขี้เถ้า สบู่ซันไลต์ก้อนขูด ฝอย สบู่เทียม หรือหัวสบู่ เป็นต้น

1.2 ระหว่างต้มให้คอยกลับพลิกเส้นไหม ตลอดเวลาโดยการคล้องเส้นไหมเข้ากับห่วงเพื่อ สะดวกต่อการยกกลับ/ พลิกเส้นไหม ใช้เวลาต้ม ประมาณ 30 นาที

1.3 เทสารฟอกขาว Sodium Hydrosulphite ลงในน้ำระหว่างต้มเพื่อช่วยในการกัดฟอก ให้เส้นไหมขาวขึ้นและง่ายต่อการนำไปย้อมสี จากนั้นต้มต่อไปอีก 30 นาที

1.4 นำเส้นไหมขึ้นแกว่งล้างในน้ำสะอาด จนกว่าเส้นไหมจะหมดความลื่นทั้งจากน้ำด่างและ สบู่ บิดหมาดๆ ก่อนนำเส้นไหมขึ้นตากกับราวไม้ พร้อมทำการกระตุกเส้นไหมเพื่อให้ไหมเรียงตัวกัน ง่ายต่อการนำเส้นไหมไปกวัก และยังเป็นการทำให้เส้นใยไหมยืดขึ้นอีกด้วย

2.การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการย้อมไหมสีธรรมชาติ

    1. หม้อ สำหรับต้มย้อม ควรใช้หม้อ สแตนเลส หรือหม้อที่เคลือบผิว ไม่ควรใช้หม้ออลูมิเนียม
    2. กะละมัง สำหรับล้างผ้า เพื่อใช้ล้างไหม แช่ผ้า ทั้งก่อนและหลังย้อม รวมถึงแช่วัสดุก่อนการย้อมด้วย (สามารถใช้เป็นกะละมังพลาสติกได้)
    3. เตาแก๊ส หรือเตาถ่าน
    4. ห่วงคล้องเส้นไหม สำหรับคล้องแขวนเส้นไหมระหว่างการย้อม ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โค้งเป็นตัวยู ปลายทั้งสอง ข้างหักงอเป็นตะขอสามารถคล้องเกี่ยวกันได้ สอดเข้า ไปในท่อสายยาง ไว้
    5. ไม้ สำหรับช่วยคน ช่วยจัดระเบียบเส้นใย ระหว่างยกสายคล้องขึ้นลง
    6. ราวไม้สำหรับไว้กระตุกเส้นไหม

การใช้สารช่วยติดสามารถทำได้ 3 วิธี คือ

1.ก่อนการย้อม อาจได้สีที่ไม่ตรงตามความต้องการเท่าที่ควร ดังนั้น การใช้สารช่วยติดสีก่อนการย้อมจึงนิยมทำกับเส้นใยฝ้ายมากกว่าเส้นใยไหม

    1. ระหว่างการย้อม เป็นการใส่สารช่วยติดผสมลงไปในน้ำสีขณะที่ทำการย้อม เพื่อให้ได้สีที่ติดทนนาน เส้นไหมที่ ย้อมสม่ำเสมอและได้สีตามต้องการมากกว่า เช่นการเติมเกลือในน้ำต้ม การใส่ยางกล้วย เป็นต้น
    2. หลังการย้อม เป็นการนำเส้นไหมไปย้อมสีก่อน จากนั้นจึงนำไปแช่กับสารช่วยติด เช่นการนำไหมที่ย้อมแล้วมาล้างด้วยน้ำสะอาดที่ผสมด้วยน้ำส้มสายชู น้ำมะนาว เป็นต้น ซึ่งวิธีการใช้สารช่วยติดสีหลังการย้อมนี้ เป็นวิธีที่ทำให้เกิดเฉดสีใหม่ขึ้น สีติดทนดีในระดับหนึ่ง เหมาะแก่การย้อมเพื่อทดสอบเฉดสีมากกว่า

สีย้อมดอกอัญชัน

อัญชัน เป็นพันธุ์ไม้เลื้อย ล้มลุกที่มีช่วงอายุสั้น มีเถากลมขนาดเล็กและอ่อน แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะมีสีน้ำตาล สามารถ ใช้ยอดเลื้อยพันปกคลุมไปได้ไกล ลักษณะใบจะมีขนาดเล็ก บาง ทรงรี ก้านหนึ่งก้านจะมีใบเป็นเลขคี่ ประมาณ 5-7 ใบ เป็นคู่เรียงขนานกันไป ส่วนตรงส่วนปลายก้านจะมี 1 ใบที่เป็นใบเดียว ดอกอัญชันจะเป็นดอกเดี่ยว และจะออกดอกเป็นช่อตามปลายยอด ช่อหนึ่งจะมีดอก 2-4 ดอก

ขั้นตอนการสกัดสีจากดอกอัญชัน

1.นำดอกอัญชันมาแช่น้ำ จากนั้นขยำให้กลีบดอก อ่อนตัว

2.แช่น้ำทิ้งไว้ 30-45 นาทีโดยประมาณ

3.นำไปตั้งไฟเพื่อให้ได้น้ำสี โดยน้ำที่ออกจะเป็นสี ฟ้าชัดเจนโดยที่ยังไม่ได้ทำการต้มสกัดน้ำสี เมื่อต้มสีที่ได้จะยิ่งเข้ม และสีที่กลีบดอกจะเปลี่ยนไป จากสีม่วงกลายเป็นสีฟ้า

4.นำเส้นไหมลงต้มย้อม 45-60 นาที หมั่นกลับพลิกเส้นใยทุก ๆ 15 นาทีเพื่อให้เส้นใยติดสี สม่ำเสมอ

5.เมื่อไหมที่ต้มติดสีแล้วให้นำมาล้างด้วยน้ำสะอาด ต้องล้างจนกว่าจะน้ำที่ล้างจะใส

6.ยกขึ้นบิดให้เส้นไหมพอหมาดๆใส่ในราวสำหรับตาก จากนั้นคอยกระตุกเส้นไหมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบเส้นไหมแล้วตากทิ้งไว้จนแห้ง

ตัวอย่างสีที่ได้จากวัสดุธรรมชาติอื่นๆ เช่น

 

รูปภาพการประกอบกิจกรรมด้านอื่นๆประจำเดือน

เข้าร่วมประขุมโครงการ ECT WEEK
ลงพื้นที่สำรวจและสอบถามข้อมูลการเรียนรู้เศรฐกิจพอเพียงในชุมชนภายใต้โครงการ ECT WEEK
ลงพื้นที่สำรวจและสอบถามข้อมูลในชุมชนภายใต้โครงการ ECT WEEK
ร่วมทำกิจกรรม ECT WEEK
กิจกรรมการเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติ ต.บ้านคู
เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมการย้อมผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ต.ตูมใหญ่