เขียนโดย : สุทธิภัทร ใจนา

ชื่อบทความ : “เสื่อกก” ศาสตร์ศิลป์แห่งภูมิปัญญาชาวบ้าน ตอนที่ 2
เขียนโดย : 
นายสุทธิภัทร ใจนา    ประเภท : บัณฑิต
พื้นที่ : 
บ้านส้มกบ หมู่ที่ 7 ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : 
AG13-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

 

“เสื่อกกทอมือ” ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านส้มกบ ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการทอมาตั้งแต่เมื่อใด ยากที่จะสืบค้นได้ หากแต่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายหลายรุ่นอายุคน

สื่อกกทอมือ ผลิตภัณฑ์ของชุมชน

จุดเริ่มต้นของ “เสื่อกกทอมือ” ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านส้มกบนั้น แม่ธัญลักษณ์ สีเขียว ได้บอกว่า เดิมทีนั้น ชาวบ้านในหมู่บ้านมีการทอเสื่อไว้ใช้เองในครัวเรือนอยู่แล้ว จนเมื่อการผลิตมากขึ้นก็นำออกมาจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ จนกระทั่งมีภาครัฐและเอกชนได้เข้ามาให้การแนะนำและส่งเสริมสินค้าของกลุ่ม โดยมีการพัฒนารูปแบบสีของสินค้าที่มีอยู่เดิม เปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ โดยยังคงให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เช่น เสื่อผืน กระติ๊บข้าว และยังใช้สีเคมีในการย้อมสีกกอยู่

ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้เป็น BCG

แม้ว่าการใช้สีเคมีจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีสันที่สวยงาม น่าใช้ แต่ก็ยังเป็นอันตรายกับผู้บริโภค อาจารย์ ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์ กล่าวว่า “เราลองปรับเปลี่ยนจากการใช้สีเคมีให้เป็นสีธรรมชาติ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็น BCG เพราะเราเน้นเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติ” สมาชิกกลุ่ม U2T ตำบลมะเฟือง จึงร่วมกันเสนอแนวคิดอยู่ 2 วิธี คือ การทอเสื่อแบบไม่ใช้สีย้อม แต่ใช้เฉดสีความเป็นธรรมชาติของกกเลย ส่วนอีกวิธีคือ การย้อมสีกกด้วยวัตถุจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเปลือก ใบ แก่น หรือดอกของต้นไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ใบครามที่ให้สีคราม แก่นขนุนให้สีเหลือง ฯลฯ โดยอาจจะต้องเชิญวิทยากรมาให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการย้อมสีธรรมชาติแก่ชาวบ้านในชุมชน

                           

พัฒนาสินค้าให้เหมาะกับคนยุคใหม่

ในปัจจุบันผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงต้องการสินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติเกือบร้อยเปอเซ็น ดังนั้น วัสดุหลักที่ใช้อย่างเส้นกกจึงควรย้อมสีแบบธรรมชาติ กรรมวิธีการผลิตยังคงทอด้วยมือ มีการปรับรูปลักษณ์ของสินค้าให้เข้ากับคนยุคใหม่ เช่น กระเป๋าน่ารัก ๆ ที่ใส่แก้วเก็บความเย็น หรือเคสใส่โทรศัพท์มือถือ

ภาพกิจกรรมการทำงาน

       

วิดีโอประกอบการทำกิจกรรม