ข้าพเจ้านางสาวนิพาดา อาจทวีกุล  ประเภท บัณฑิตจบใหม่ เป็นผู้จ้างงานของตำบลโคกตูม  อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

การปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม

วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 อาจารย์และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลโคกตูมหรือทีมตำบลโคกตูม ได้มีการประชุมกลุ่มเพื่อหารือถึงจุดมุ่งหมายของโครงการ U2T for BCG  ในการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน เขตพื้นที่ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีข้อสรุปในการประชุมคือ การยกระดับและต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งมีด้วยกัน 2 โครงการ ได้แก่

1.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอัดเม็ดจากมูลจิ้งหรีด ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์  (Product Development of  Pellet Fertilizer from Cricket Manure in Tambon Kok Toom Prakhon Chai Buriram)

2. การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจากจิ้งหรีด ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ (Processing and Product development of  protein Powder from Crickets in Tambon Kok Toom Prakhon Chai Buriram)

                           

เมื่อวันที่ 4  กรกฎาคม 2565 ทางอาจารย์ประจำตำบลและผู้ปฏิบัติงานตำบลโคกตูมได้ลงพื้นที่ ณ พงษ์พันธ์ฟาร์ม หมู่ 5 บ้านราษฎร์นิยม ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้พบกับคุนบุญช่วยเป็นเจ้าของฟาร์มจิ้งหรีด โดยคุณบุญช่วยเล่าว่า การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นหนึ่งในอาชีพทางเลือกหรืออาชีพเสริมรายได้ที่น่าสนใจ เนื่องจากการบริโภคจิ้งหรีดยังเป็นที่นิยมสูงทั้งในประเทศและตลาดส่งออก เพราะจิ้งหรีดเป็นแหล่งอาหารโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ โดยจิ้งหรีดที่คุณบุญช่วยเลี้ยง มี 2 ชนิด คือ จิ้งหรีดทองดำและจิ้งหรีดแดงทองลาย (สะดิ้ง) จิ้งหรีดจะมีขนาดตัวที่โตเต็มวัยในระยะเวลา 45 วัน เหมาะสำหรับจับขาย เมื่อถึงเวลาจับขาย จะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับถึงฟาร์มและมีลงขายบนออนไลน์ด้วย การจับจิ้งหรีดทำโดยการนำแผงไข่ออกจากบ่อเลี้ยง ก่อนนำออกจากบ่อเลี้ยงให้สลัดตัวจิ้งหรีดออกให้หมด จากนั้นนำแผงไข่บางส่วนพิงไว้รอบบ่อ จิ้งหรีดจะเข้าไปแอบในแผงไข่นั้นๆ แล้วจึงนำแผงไข่นั้นออกมาสลัดจิ้งหรีดใส่เครื่องกรอง เพื่อกรองเอาเศษที่ไม่ต้องการออก จากนั้นจะนำเฉพาะตัวจิ้งหรีดใส่ถุง แล้วน็อกด้วยน้ำแข็งส่งไปยังปลายทางเพื่อจำหน่าย  ลักษณะของฟาร์มจิ้งหรีด คือ ตั้งในพื้นที่เหมาะสม ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อจิ้งหรีด ไม่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำขัง การคมนาคมสะดวก เพื่อการขนส่งอาหารสำหรับจิ้งหรีดและอุปกรณ์ต่างๆเข้าสู่ฟาร์ม ฟาร์มจิ้งหรีดมีระยะห่างของแต่ละบ่อและมีตาข่ายล้อมรอบบริเวณฟาร์ม เพื่อป้องกันการเข้า-ออกของคนและสัตว์อื่นๆ โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดมีโครงสร้างแข็งแรง มีหลังคาสำหรับกันแดดกันฝน และมีการระบายอากาศที่ดี  ในการจับจิ้งหรีดขายแต่ละครั้ง ในบ่อเลี้ยงจะเหลือมูลจิ้งหรีดจำนวนมาก ทางอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานจึงได้มองเห็นถึงประโยชน์ของมูลจิ้งหรีดและตัวจิ้งหรีดเอง จึงได้ข้อสรุปว่าจะต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชนให้มีมูลค่ามากขึ้น โดยจะทำปุ๋ยอัดเม็ดจากมูลจิ้งหรีดและผงโปรตีนจากจิ้งหรีด

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565  ได้มีการลงพื้นที่ไปยังพงษ์พันธ์ฟาร์มเป็นการลงพื้นที่ครั้งที่ 2  เพื่อจะได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยงจิ้งหรีดไปจนถึงการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ และได้ระดมความคิดเห็นช่วยกันภายในทีมเพื่อจัดทำข้อมูลใน ระบบ C-01

วันที่ 18 กรกฎาคม 2565  ทางอาจารย์ประจำตำบลและผู้ปฏิบัติงานทีมตำบลโคกตูม ได้ร่วมกันวางแผนธุรกิจ