ชื่อบทความ : จัดเตรียมสถานที่ย้อมสีเสื่อกกและย้อมสีผ้าฝ้าย ให้กับชาวบ้านตำบลแสลงโทน
ชื่อหมู่บ้าน : บ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นายอัครพล กันรัมย์
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ รับผิดชอบตำบลแสลงโทน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีโครงการเดิม “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ” ได้มีการจัดทำโครงการเกี่ยวการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือ และเสื่อกก
จากการทำงานในเดือนกรกฎาคมทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงได้มีการจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ในการย้อมสีเสื่อกกและย้อมสีผ้าฝ้าย ให้กับชาวบ้านตำบลแสลงโทน เพื่อจะนำมาทอและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนในลำดับต่อไป
ขั้นเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์การย้อมสีเสื่อกก
1. ตัดหรือเก็บเกี่ยวต้นกกจากแหล่งธรรมชาติ ห้วย หนอง คลองบึงในท้องถิ่นนำต้นกกมาแยก และเลือกกกที่มีขนาดเท่ากัน
2. นำต้นกกที่คัดเลือกได้ขนาดที่ต้องการแล้ว มาสอยเป็นสอง หรือ สามส่วนตามขนาดลำต้นของต้นกก ถ้าเส้นเล็กผืนเสื่อกกจะทอได้ละเอียดและแน่นหนา
3. นำเส้นกกที่สอยเสร็จแล้วมาผึ่งแดดให้แห้ง ประมาณ 4 – 5 วัน นำเส้นกกที่ผึ่งแดดจนแห้งมามัดเป็นกำ ๆ ประมาณ 1 กำมือ เพื่อเตรียมนำไปย้อมสีตามต้องการ
4.เลือกซื้อสีที่ต้องการ (สีเคมี มีขายตามร้านค้า)ออกแบบลายตามแบบที่ต้องการก่อไฟ นำปีบที่ใส่น้ำ ประมาณ ครึ่ง ปีบ ต้นน้ำจนเดือด
5. นำสีที่ต้องการมาเทลงประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วคนให้สีละลาย นำเส้นกกที่มัดไว้ มัดละ 1 กำมือ ลงไปย้อมโดยใช้เวลาประมาณ 30–40 นาที การย้อมสีหลายสีควรใช้ปีบคนละใบ เนื่องจากสีจะปนกันนำเส้นกกที่ย้อมแล้วมาล้างน้ำเปล่าแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
ขั้นเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์การย้อมสีผ้าฝ้าย
1. หม้อย้อมควรใช้หม้อสแตนเลส หม้อเคลือบ หรือกระทะใบบัว ไม่ควรใช้หม้ออะลูมิเนียม และควรเลือกขนาดหม้อให้เหมาะสมกับการย้อมผ้า หรือเส้นด้าย
2. ไม้กวนผ้า โดยไม้ควรมีขนาดใหญ่พอที่จะรับน้ำหนักเส้นด้ายเส้นเปียกในหม้อย้อมได้
3. ห่วงที่ทำจากสแตนเลส หรือท่อพลาสติกอ่อน ไว้สำหรับแขวน หรือคล้องเส้นไหม/เส้นฝ้าย
4. ถุงมือยาง เทอร์โมมิเตอร์ เขียง มีด ครก (สำหรับตำครั่ง) ราว (สำหรับตาก)
5. กะละมัง หรือถังพลาสติก สำหรับล้างผ้า หรือเส้นด้ายก่อนย้อมและหลังย้อม
6. เตาไฟจะเป็นเตาฟืน หรือเตาแก๊สก็ได้
7. พืชที่ให้สีและสามารถนำมาผลิตสีเพื่อการย้อมนี้ มีได้ตั้งแต่ต้นหญ้าไปจนถึงต้นไม้ขนาดใหญ่และทุกส่วนของพืช ได้แก่ ใบ ดอก ผล ลำต้น เปลือก แก่น ราก หัวหรือเหง้าในดิน ซึ่งแต่ละชนิด แต่ละส่วนของพืชจะให้สีสันที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับความอ่อน แก่ สด แห้ง ช่วงเวลา เดือน และฤดูกาลที่เก็บด้วย พืชที่ให้สีติดเส้นฝ้ายดีนั้นมักเป็นพืชที่ให้รสฝาด เพราะความฝาดจะมีฤทธิ์เป็นด่าง ข้อสังเกตง่ายๆ ของพืชที่ให้รสฝาด คือ ใบหรือดอกที่ถูกขยี้จะมียางติดมือ ถ้าเป็นผลหรือเปลือก หากใช้มีดขูดจะมียางออกมา ซึ่งเมื่อถูกกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
วีดีโอประจำตำบล