รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิทด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T BCG) ประจำเดือนสิงหาคม 2565
หลักสูตร: HS01-1 การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากของชุมชนเพื่อต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ ทีมีคุณภาพและมีระบบการจัดการและการตลาดที่ยั่งยืน “จากกล้วยที่มีปลูกทุกครัวเรือนในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ ขนมท้องม้วนมันม่วง และ แป้งกล้วยสำเร็จรูป ตรา สิงห์คู่”ชูให้เป็นผลิตภัณฑ์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน สิงหาคม 2565 และ ในเดือนนี้ได้นำแป้งกล้วยมาต่อยอดโดยการนำแป้งกล้วยมาทำขนมทองม้วนมันม่วง ซึ่งขนมทองม้วนเป็นสินค้าโอท็อป และ ยังเป็นสินค้าขึ้นชื่อของดีประจำตำบลบ้านสิงห์อีกด้วย
ข้าพเจ้านายปริวัติ จำเนียรกูล ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบการดําเนินงานในเขตพื้นที่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์กิจกรรม และ แผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
1. กิจกรรมประชุม Online และ Onsite
วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ได้ส่งตัวเข้าร่วมประชุมประชุม (สรุปโดยเลขากลุ่ม)
สรุปการประชุมการลงข้อมูลTCB การเข้าระบบใช้งานให้ใช้ User/password เดียวกับ BCG-Learning การเก็บข้อมูลภายในเดือนกันยายน 1.ตำบลใหม่ 500 รายการ 2.ตำบลเก่า Cleansing ข้อมูลที่ซ้ำซ้อน(อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ตรวจสอบ) – ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (หากมีข้อมูลใหม่) ในการเก็บข้อมูลให้มีป้ายประจำตัวก่อนเข้าเก็บข้อมูลทุกครั้ง หากมีการสอบถามถึงหน่วยงานให้แจ้งแก่ผู้ให้ข้อมูลว่าเป็นการเก็บข้อมูลของกระทรวง อว. ท่านเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นผู้ดูแล และในการเก็บข้อมูลครั้งนี้จะไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ประเภทของการเก็บข้อมูล
ผู้ย้ายกลับเนื่องจากสถานการณ์โควิด หากผู้ให้ข้อมูลไม่สะดวกให้ข้อมูลใดให้ข้ามได้เลย สิ่งที่ทาง อว. ต้องการทราบคือต้องการความช่วยเหลือในด้านใด อาหารประจำท้องถิ่นหากตำบลใดทำเกี่ยวกับอาหารให้เน้นเรื่องความเป็นมา
จากการสอบถามข้อมูลชุมชนและพบว่าข้อมูลการจัดการแหล่งน้ำในชุมชน มีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กอยู่ในชุมชนซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใช้อุปโภค และมีการจัดการน้ำโดยผู้นำชุมชน การเปิดน้ำหรือให้ใช้น้ำเป็นการใช้และมีการส่งท่อไปยังในครัวเรือนเพื่อให้ใช้ในกิจวัตรประจำวัน แต่ไม่ได้นำไปใช้ทางการเกษตรเนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำนั้นมีเฉพาะเจาะจงไว้ให้ใช้เพื่ออุปโภค แต่แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตรนั้นได้ใช้น้ำจากคลองลำห้วยน้อยเป็นลำห้วยที่รอการปล่อยน้ำมาจากเขื่อนลำนางรอง และบางพื้นที่นั้นรอน้ำฝน และได้ทำการสำรวจเกษตรกรในหมู่บ้านได้พบว่านอกจากการปลูกหมันสำปะหลัง ปลูกข้าว และทำขนมไทยต่าง ๆ แล้วก็ยังมีอาชีพหลักเพิ่มเติม คืออาชีพเลี้ยงสัตว์ ประกอบไปด้วย สุกร โค กระบือ และไก่ แต่ก็ไม่ได้มีหลายครอบครัวที่เลี้ยงแต่มีครอบครัวที่เลี้ยงอยู่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน ส่วนพืชพันธ์ส่วนใหญ่ที่พบในชุมชน ก็จะมีผักต่างๆที่ปลูกไว้รับประทาน ไม้ยืนต้นก็จะมี มะพร้าว กล้วย มะม่าง หม่อน และก็ผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น ก็สามารถนำมาพัฒนานาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนและวางแผนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน มีความเป็นอยู่ทีดี
วันที่ 14 สิงหาคม 2565 ได้เข้าร่วมกับชุมชนที่ บ้านหนองขาม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นการจัดทำขนมทองม้วนจากสูตรดังเดิมที่มีอยู่ และ สูตรที่ทางกลุ่มได้คิดค้นขึ้นมาใหม่ โดยสูตรใหม่มีการใช้แป้งกล้วยนำมาแปรรูปทำเป็นขนมทองม้วน และ ยังได้นำมันม่วงและดอกไม้ปลอดสารพิษชนิดต่างๆมาผสมเพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจ และ เพิ่มเอกลักษณ์ให้เป็นที่น่สนใจและน่าจดจำโดยดอกไม้ชนิดต่างๆยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย เป็นการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากทางภูมิปัญญาดั้งเดิมจากการแปรรูปกล้วย และ ขนมทองม้วนมันม่วง “ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนโบราณเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อของชาวชุมชนตำบลบ้านสิงห์ และ กล้วยที่มีปลูกทุกครัวเรือนในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ แป้งกล้วยสำเร็จรูป ตรา สิงห์คู่” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนการผลิต และ เพิ่มความน่าสนใจของขนมให้มากขึ้นอีกด้วย
โดยทองม้วนทั้ง 4 สูตร มีส่วนผสมดังต่อไปนี้
สูตรที่1 แป้งดั้งเดิม
-แป้งมัน 250 กรัม -น้ำตาล 50 กรัม -กะทิ 70 กรัม -เกลือ 1 ช้อนชา -ไข่ไก่ 1 ฟอง
สูตรที่2 แป้งดั้งเดิม+มันม่วง
-แป้งมัน 250 กรัม -น้ำตาล 50 กรัม -กะทิ 70 กรัม
-เกลือ 1 ช้อนชา -ไข่ไก่ 1 ฟอง -มันม่วง 50 กรัม
สูตรที่3 แป้งกล้วย
-แป้งกล้วย 250 กรัม -แป้งมัน 20 กรัม -น้ำตาล 50 กรัม
-กะทิ 70 กรัม -เกลือ 1 ช้อนชา -ไข่ไก่ 1 ฟอง
สูตรที่4 แป้งกล้วย+มันม่วง
-แป้งกล้วย 250 กรัม -แป้งมัน 20 กรัม -น้ำตาล 50 กรัม -กะทิ 70 กรัม
-เกลือ 1 ช้อนชา -ไข่ไก่ 1 ฟอง -มันม่วง 50 กรัม
ขนมทองม้วนทั้ง 4 สูตร มีขั้นตอนการทำดังต่อไปนี้
1.จัดเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบ
2.ชั่งตวงวัตถุดิบตามอัตราส่วน
3.นำวัตถุดิบมาผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน
4.นวดและคนให้ส่วนผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างละเอียด
5.พักแป้งไว้1คืน
6.ตั้งเตาและพิมพ์สำหรับพิมพ์ทองม้วน
7.หยอกแป้งทองม้วนลงบนแป้นพิมพ์
8.ใส่กลีบดอกไม้ชนิดต่างๆ
9.พอทองม้วนสุกก็ม้วนทองม้วนให้เป็นแท่ง
10.บรรจุลงบรรจุภัณฑ์
สรุปผลการทำงานประจำเดือนสิงหาคม
ทองม้วนทั้ง 4 สูตรที่ทำนั้นมีความอร่อยที่ไม่เหมือนกันโดยชนมทองม้วนสูตรดั้งเดิมจะมีความหอมมะพร้าวกะทิ และ หวานมันส่วนทองม้วนสูตรที่ 2 มีความหอมมะพร้าวกะทิหวานมัน และ มีความหอมมันม่วงเพิ่มเข้ามาด้วยส่วนสูตรที่ 3 นั้นที่ใช้แป้งกล้วยในการทำจะมีความหอมแป้งกล้วยที่เป็นกลิ่นเฉพาะตัว และ มีรสชาติของกล้วยผสมด้วยส่วนผลิตภัณฑ์สูตรที่ 4 นั้นจะมีความหอมแป้งกล้วยเพิ่มเข้ามา และ ยังมีความหอมมันม่วงเข้ามารวมด้วยโดยทั้ง 4 สูตรนั้นได้มีการนำดอกไม้ชนิดต่างๆที่เป็นดอกไม้ปลอดสารพิษชุมชนเข้ามาใส่ร่วมด้วยซึ่งส่งผลให้เกิดความสวยงามเกิดความน่าจดจำ และ ทำให้ผู้พบเห็นนั้นเกิดความอยากทดลองรับประทานขนมทองม้วนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย และ ทั้งนั้นยังเป็นซิกเนเจอร์ และ สิ่งที่น่าจดจำในส่วนของดอกไม้นั้นยังมีสรรพคุณต่างๆทางยาเป็นอย่างดีอีกด้วย
การวางแผนงาน และ กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในเดือนถัดไป
การทดลองออกแบบผลิตภัณฑ์ และ นำสูตรขนมทองม้วนแป้งกล้วยมันม่วงที่คิดขึ้นใหม่ ไปให้ชาวบ้านที่ทำขนมทองม้วนในชุมชนได้ทดลองทำทองม้วนมันม่วงเพื่อผลักดันให้กลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์ขนม OTOP ทองม้วนของชาวชุมชนตำบลบ้านสิงห์ที่มีอยู่แล้ว คือ ทองม้วนโบราณได้เพิ่มขนมทองม้วนที่มีส่วนผสมของมันม่วงเพื่อเป็นความน่าสนใจเข้าไปในผลิตภัณฑ์ของชุมชนนั่นก็คือทองม้วนมันม่วงทั้งนี้กลุ่มของกระผมจึงได้ดำเนินการลงพื้นที่หาข้อมูล และ นัดหมายเวลา และวันที่ในการลงชุมชนเพื่อทดลองทำทองม้วนมันม่วงเพื่อเป็นการขยายตลาด และ เพิ่มรสชาติเพิ่มความน่าสนใจเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้แก่ OTOP ชุมชนและอีกทั้งนี้ยังได้กระจายรายได้ลงสู่เกษตรกรในชุมชนตำบลบ้านสิงห์อีกด้วย