นางสาวสุจิตรา แสงวาโท กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS06-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
ประจำเดือน สิงหาคม 2565
วันที่ 26-27 กรกฎาคม 2565 ได้เรียนระบบออนไลน์ หลักสูตร “U2t for BCG BCG เพื่อเรียนรู้หลักสูตรเพื่อพัฒนาและหลักสูตรสร้างคุณค่า โดย M05 จะกล่าวถีง การออกแบบบรรจุภัณฑ์คืออะไร ตัวอย่างการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การขอมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์ การขอเตรื่องหมายรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และออแกนิค M06 วางแผนการตลาดและสร้างแบรนด์ แนะนำหลักสูตรการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ วัดระดับความเป็นนักการตลาด การวางกลยุทธ์การตลาด ส่วนผสมทางการตลาด สรุปเนื้อหาสำหรับผู้ประกอบการ การจัดตั้งธุรกิจเป็นนิติบุคคล การวางลูกค้าและตลาดเป้ากมาย การสร้างcontent ที่ดี ดีไซน์กับกลุ่มเป้าหมาย M07 แนะนำหลักสูตรกลยุทธ์การนำสินค้าออกสู่ตลาดสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ เตรียมพร้อมก่อนออกสู่ตลาด กลยุทธ์การนำสินค้าออกสู่ตลาด สรุปเนื้อหากลยุทธ์การนำสินค้าออกสู่ตลาดสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ M08 การเป็นผู้ประกอบการและการเติบโต M09 หลักสูตรผู้ประกอบการต้องรู้เมื่อเข้าสู่ธุรกิจ การตั้งราคาสินค้า การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน M10 การขนส่งและซัพพลายเชน การเตรียมความพร้อมสำหรับการขนส่ง การบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SME M11 การตลาดออนไลน์ และ M12 แนวโน้มธุรกิจและเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่
วันที่ 28- 29 กรกฎาคม 2565 ลงพื้นที่บันทึกข้อมูล TCD (CBD) ในพื้นที่ที่ได้แบ่งกันไว้กับทีมผู้ปฏิบัติงาน โดยได้รับผิดชอบในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านพระครู หมู่ที่ 3 บ้านสระเกษ หมูที่ 5 บ้านม่วงเหนือ หมู่ที่ 6 บ้านหนองกก หมู่ที่ 7 บ้านหนองขวาง หมู่ที่ 8 บ้านม่วงใต้ หมู่ที่ 10 บ้านแก่นเจริญ หมู่ที่ 12 บ้านโพธิ์ทอง และหมู่ที่ 13 บ้านชุมทองพัฒนา
วันที่ 5 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันทำข้อเสนอโครงการตามแบบฟอร์ม C-03 แผนการพัฒนาสินค้า และบริการ ตาม โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ โดยเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ ตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
- พวงกุญแจจากผ้าไหมมัดหมี่ พวงกุญแจจากผ้าไหมมัดหมี่ ที่ได้จากการนำเศษผ้าไหมมัดหมี่ ที่เหลือใช้มาแปรรูปเป็นพวงกุญแจ ซึ่งจะช่วยลดเศษผ้าที่จะกลายเป็นขยะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น เพราะมีความโดดเด่นและมีลวดลายผ้าเป็นเอกลักษณ์ของตำบลพระครู โดยใช้เศษผ้าไหมมัดหมี่เป็นวัตถุดิบหลัก และสีสันของผ้าไหมจะช่วยทำให้พวงกุญแจดูโดดเด่นขึ้น ซึ่งงานที่ทำออกมานั้นจะเน้นความแปลกใหม่ แหวกแนว มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร นอกจากนั้นในเรื่องของคุณภาพของชิ้นงานก็จะเน้นมากเป็นพิเศษ ทุกขั้นตอนการทำต้องใช้ความละเอียดประณีตเพื่อให้งานออกมาสวยงามและมีคุณภาพและเป็นงานฝึมือของคนในชุมชนตำบลพระครู
- เครื่องประดับจากผ้าไหมมัดหมี่เครื่องประดับผ้าจากไหมมัดหมี่ที่ได้จากการนำเศษผ้าไหม ที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้ามาแปรรูปเป็นเครื่องประดับต่างๆ เช่น ต่างหู สร้อยคอ กำไลข้อมือ กิ๊บติดผมหรือยางมัดผมเป็นต้น ซึ่งการนำมาแปรรูปนอกจากจะช่วยลดเศษผ้าที่จะกลายเป็นขยะยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและยังสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนตำบลพระครูและทำให้คนในชุมชนมีรายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เครื่องประดับจากผ้าไหมมัดหมี่ยังช่วยสร้างความสวยงาม และช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดีอีกด้วย เนื่องจากมีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ที่เกิดจากงานฝีมือ ซึ่งต้องใช้ความประณีตในขั้นตอนและวิธีการทำโดยมีทั้งหมด 14 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 พวงกุญแจจากผ้าไหมมัดหมี่
ส่วนที่ 2 พื้นที่ตำบลพระครู จังหวัดบุรีรัมย์ และมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
ส่วนที่ 3 สินค้า และบริการ BCG เป้าหมายในพื้นที่
ส่วนที่ 4 รายได้ต่อปีในปัจจุบัน
ส่วนที่ 5 กลุ่มลูกค้า
ส่วนที่ 6 ช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบัน
ส่วนที่ 7 วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้า และบริการ
ส่วนที่ 8 เป้าหมายการพัฒนาสินค้า และบริการ
ส่วนที่ 9 เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่ใช้
ส่วนที่ 10 หลักการและขั้นตอนการพัฒนาของสินค้าและบริการ
ส่วนที่ 11 ระยะเวลาในการพัฒนาสินค้าและบริการให้แล้วเสร็จ
ส่วนที่ 12 งบประมาณในการดำเนินการพัฒนาสินค้าและบริการ
ส่วนที่ 13 ความพร้อมของผลิตภัณฑ์และบริการในด้านต่างๆ
ส่วนที่ 14 แผนการพัฒนาสินค้าและบริการ
จากการที่ข้าพเจ้าได้ทำงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้เป็นอย่างมาก เพราะทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับชุมชน ข้าพเจ้าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานในครั้งนี้ ไปพัฒนาและต่อยอดในอนาคตของข้าพเจ้าให้ดียิ่งขึ้นต่อไป