ข้าพเจ้า นางสาวมนรดา ฉิมรัมย์ ประเภท : บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
รับผิดชอบเขตพื้นที่ ตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ตำบลหนองโดน  ตั้งตามชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งตามตำบลชายแดน  มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์  ตำบลหนองโดน  แยกออกจากตำบลบ้านยางเมื่อปี  พ.ศ. 2537  ความเป็นมาของประวัติศาสตร์  คล้ายคลึงกับตำบลบ้านยาง บ้านหนองโดนเคยเป็นแห่งอุดมสมบรูณ์มาในอดีตมีผู้คนอพยพมาจากหลายแห่ง  เช่น  จาก  นครราชสีมา   ร้อยเอ็ด   มหาสสุรินทร์  ศรีสะเกษ เห็นเป็นที่อุดมสมบรูณ์ทางลักษณะดิน  และมีหนองน้ำในการทำการเกษตร  ได้เป็นอย่างดีจึงเป็นชุมชนที่หนาแน่นในปัจจุบัน “ หนองโดน “ หมายถึง  หนองที่ต้นไม้ล้อมรอบหรือขึ้นเต็มไปหมด  ต้นไม้ชนิดนี้ชื่อ  “ ต้นจิก “  ต้นจิกเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง  ชอบขึ้นตามห้วย  หนอง  คลอง บึง หรือแม้แต่ที่แห้งแล้ง  ชาวอีสานทั่วไปเรียกว่า “ ต้นกระโดน “  ยอดของกระโดนมีรสฝาด  ยอดอ่อนสีแดงเรื่อชาวบ้านนิยมจิ้มกับปลาร้า (บอง) หรือปัจจุบันชอบกินกับแม่เป้ง  หรือ ลูก – ไข่มดแดง
สภาพทางภูมิประเทศ
ตำบลหนองโดนห่างจากที่ว่าการอำเภอลำปลายมาศ  15  กิโลเมตร  ดินเหนียวปนทรายพื้นที่ราบลุ่ม  มีเนินสูงอยู่บางแห่ง  ประชาชนทั่วไปมีอาชีพทำนา  ทำไร่  มีหมู่บ้านในเขตปกครอง  จำนวน  8  หมู่บ้าน  คือหมู่ที่ 1 บ้านหนองโดน  หมู่ที่ 2 บ้านหนองโดน   หมู่ที่ 3 บ้านหนองโดนน้อย     หมู่ที่ 4 บ้านโนนเจริญ
หมู่ที่ 5  บ้านหนองไผ่  หมู่ที่ 6 บ้านหนองโดนฝายน้ำ  หมู่ที่ 7 บ้านหนองขวาง  หมู่ที่ 8 บ้านบ่อใหญ่
สภาพทั่วไปของตำบล   ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีความลาดเทจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก มีลำมาศไหลผ่าน พื้นที่ทั้งหมด 28.7 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 17,937.5 ไร่ ความเป็นอยู่เป็นชุมชนใหญ่ 7 หมู่บ้านรวมกัน และอีก 1 หมู่บ้านห่างชุมชนใหญ่ 1 กิโลเมตร

ในการปฏิบัติงานในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ได้ทำการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูล TDC จึงได้มีการขออนุญาติผู้นำหมู่บ้านในแต่ละหมู่ของตำบลหนองโดน จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของตำบลหนองโดน มีดังนี้
1)  การเกษตรกรรม
ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน  มีดังนี้
– การเพาะปลูก ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน มีการเพาะปลูกพืชที่สำคัญ คือ การเพาะปลูกข้าว นอกจากการปลูกข้าวแล้วยังมีการปลูกผลไม้ และพืชผักด้วย
– การปศุสัตว์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการจำหน่าย เช่น สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด วัว
2) การพานิชยกรรมและบริการ
สถานประกอบการด้านพานิชยกรรม
–  สถานีบริการน้ำมัน  1  แห่ง
–  ร้านค้าทั่วไป 44  แห่ง
–  สถานที่ประกอบการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ    25   แห่ง
3) การอุตสาหกรรม
การประกอบการอุตสาหกรรมในเขตองค์บริหารส่วนตำบลหนองโดน   ส่วนใหญ่แล้วเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน คือ
1.  โรงสีข้าว 7 แห่ง   2.  โรงงานทำขนนจีน  (ในครัวเรือน) 3 แห่ง
4) การท่องเที่ยว
ปัจจุบันในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน   มีอ่างเก็บน้ำทุ่งใหญ่ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ  2,500  ไร่
เหมาะสำหรับปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยงทางธรรมชาติในอนาคตตลอดจนจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายสำหรับประชาชน

ทางทีมงาน U2T ของมหาวิทยาลัยราชฎัชบุรีรัมย์ จึงได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเพื่อยกระดับชุมชน สนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทางเศรษฐกิจระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น  โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ให้มีความสามารถและทักษะในการพัฒนาฝีมือในการผลิตเพิ่มมูลค่าของสินค้าและสามารถขยายการตลาดไปสู่ตลาดกลาง ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนา
เกษตรอินทรีย์ และการแปรรูปสินค้าเกษตร และยุทธศาสตร์สร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์
แนวทางการพัฒนา
1.ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์และการ  แปรรูปสินค้าทางการเกษตร
2.เสริมสร้างและเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ
3.สร้างความตระหนักแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค
4.ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
5.ส่งเสริมการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน