รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิทด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T BCG)

ประจำเดือนสิงหาคม 2565

หลักสูตร: HS01-1 การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากของชุมชนเพื่อต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ ทีมีคุณภาพและมีระบบการจัดการและการตลาดที่ยั่งยืน “จากกล้วยที่มีปลูกทุกครัวเรือนในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์การแปรรูป ขนมท้องม้วนมันม่วง “ตราสิงห์คู่” ให้เป็นผลิตภัณฑ์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือน สิงหาคม 2565 และการดำเนินการในเดือนนี้  ได้นำแป้งกล้วยมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยการนำแป้งกล้วยมาทำขนมทองม้วนซึ่งได้ผสมมันม่วงลงไปด้วย ทำให้เกิดเป็นทองม้วนรสชาติใหม่และทองม้วนยังเป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำตำบลอีกด้วย

ดิฉันนางสาวสุจิตรา เศรษฐี ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน  รับผิดชอบดําเนินงานในเขตพื้นที่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมและ แผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

 1.กิจกรรมประชุม Online และ Onsite

วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม (สรุปโดยเลขากลุ่ม)

สรุปการประชุมการลงข้อมูล TCB

-การเข้าระบบใช้งานให้ใช้ User/password

เดียวกับ BCG-Learning

-การเก็บข้อมูล

ภายในเดือนกันยายน

1.ตำบลใหม่ 500 รายการ

2.ตำบลเก่า

2.1 Cleansing ข้อมูลที่ซ้ำซ้อน(อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ตรวจสอบ)

2.2 ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (หากมีข้อมูลใหม่)

ในการเก็บข้อมูลให้มีป้ายประจำตัวก่อนเข้าเก็บข้อมูลทุกครั้ง หากมีการสอบถามถึงหน่วยงานให้แจ้งแก่ผู้ให้ข้อมูลว่าเป็นการเก็บข้อมูลของกระทรวง อว. ท่านเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นผู้ดูแล และในการเก็บข้อมูลครั้งนี้จะไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ

ประเภทของการเก็บข้อมูล

-ผู้ย้ายกลับเนื่องจากสถานการณ์โควิด

หากผู้ให้ข้อมูลไม่สะดวกให้ข้อมูลใดให้ข้ามได้เลย สิ่งที่ทาง อว. ต้องการทราบคือต้องการความช่วยเหลือในด้านใด

-อาหารประจำท้องถิ่น

*หากตำบลใดทำเกี่ยวกับอาหารให้เน้นเรื่องความเป็นมา

 

 

จากที่ผู้ปฏิบัติงาน U2T ตําบลบ้านสิงห์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลส่วนใหญ่ชาวบ้านทําเกษตกร และได้ทำการสํารวจเกษตรกรในหมู่บ้านได้พบว่านอกจากการปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง แล้วก็ยังมีอาชีพหลักเพิ่มเติม คือการเลี้ยงสัตว์ ประกอบไปด้วย สุกร ไก่ โค กระบือ ปลา และพืชพันธ์ที่พบในชุมชนคือ มะม่วง กล้วย น้อยหน่า มะพร้าว ส้มโอ เป็นต้น นอกจากนี้ชาวบ้านจะปลูกผักสวนครัวเพื่อทานเองและจำหน่ายหารายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย และยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กในชุมชนไว้เพื่อการอุปโภคในครัวเรือน และไว้ใช้ในทางเกษตรกร ซึ่งมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนและวางแผนเพื่อประโยชน์ของประชาชนในหมู่บ้านการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงาน U2T ตําบลบ้านสิงห์ ได้นําข้อมูลที่ได้จากการสํารวจนําไปลงในระบบต่อไป

วันที่ 14 สิงหาคม 2565 ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ ได้ลงพื้นที่โดยผู้ทีมปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์ ได้นัดหมายและรวมตัวกันที่บ้านหนองขาม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้จัดทำขนมทองม้วนจากสูตรดังเดิมที่มีอยู่ และเพิ่มสูตรที่ทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านสิงห์กลุ่มได้คิดค้นขึ้นมาใหม่ โดยสูตรใหม่มีการใช้ แป้งกล้วยนำมาแปรรูปทำเป็นขนมทองม้วน และ ยังได้นำมันม่วงมาผสมในตัวแป้ง จากนั้นใส่ดอกไม้บนแป้ง เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับตัวขนมทองม้วน ซึ่งดอกไม้ที่นำมาผสมเป็นดอกไม้ทานได้ที่หาได้ทั่วไปในชุมชน และเป็นการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากทางภูมิปัญญาดั้งเดิมจากการ แปรรูปกล้วย และ ขนมทองม้วนมันม่วง “ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนโบราณเป็น ผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อของดีชุมชนตำบลบ้านสิงห์ และยังทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของตัวสินค้าอีกด้วย

โดยทองม้วนมีทั้งหมด 4 สูตร มีส่วนผสมดังต่อไปนี้

สูตรที่1 แป้งดั้งเดิม
– แป้งมัน 250 กรัม
– น้ำตาล 50 กรัม
– กะทิ 70 กรัม
– เกลือ 1 ช้อนชา
– ไข่ไก่1ฟอง

สูตรที่2 แป้งดั้งเดิม+มันม่วง

– แป้งมัน 250 กรัม
– น้ำตาล 50 กรัม
– กะทิ 70 กรัม
– เกลือ 1 ช้อนชา – ไข่ไก่ 1 ฟอง
– มันม่วง 50 กรัม

สูตรที่3 แป้งกล้วย
– แป้งกล้วย 250 กรัม – แป้งมัน 20 กรัม
– น้ำตาล 50 กรัม
– กะทิ 70 กรัม
– เกลือ 1 ช้อนชา
– ไข่ไก่ 1 ฟอง

สูตรที่4 แป้งกล้วย+มันม่วง – แป้งกล้วย 250 กรัม
– แป้งมัน 20 กรัม
– น้ำตาล 50 กรัม
– กะทิ 70 กรัม
– เกลือ 1 ช้อนชา – ไข่ไก่ 1 ฟอง
– มันม่วง 50 กรัม

วิธีทำขนมทองม้วนทั้ง 4 สูตร มีขั้นตอนดังนี้
1.จัดเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบ
2.ชั่งตวงวัตถุดิบตามอัตราส่วน
3.นำวัตถุดิบมาผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน
4.นวดและคนให้ส่วนผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างละเอียด
5.พักแป้งไว้1คืน
6.ตั้งเตาและพิมพ์สำหรับทำทองม้วน
7.หยอดแป้งทองม้วนลงบนแป้นพิมพ์
8.ใส่กลีบดอกไม้ชนิดต่างๆ
9.พอทองม้วนสุกก็ม้วนทองม้วนให้เป็นแท่ง
10.บรรจุลงบรรจุภัณฑ์

 

 

 

 

สรุปผลการทํางานและการทดลองประจําเดือนสิงหาคม
หลังจากการทําแป้งกล้วยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตําบลบ้านสิงห์ ได้มีการต่อยอดนําแป้งกล้วยและมันม่วงมาเพิ่มสูตรใหม่อีก รวมเป็น 4 สูตร และแต่ละสูตรมีกลิ่น มีส่วนผสมที่ต่างกันออกไป สูตรที่ 1 กลิ่นหอมหวานมันของกะทิ สูตรที่ 2 มีกลิ่นหอมกะทิและมันม่วง ทองม้วนมีสีม่วงเข้มเพราะมีส่วนผสมของเนื้อมันม่วงหอมหวานมัน สูตรที่3 มีกลิ่นหอมกะทิและกล้วย ซึ่งมีความหอมเป็นเอกลักษณ์ของกล้วยชัดเจน รสชาติหวานจากแป้งกล้วยมีความมันของกะทิ แป้งบางเนียน และสูตรที่ 4 มีความหอมกะทิ กล้วย และมันม่วง สีทองม้วนออกมาสวย ทั้ง4 สูตรนั้นได้มีการใส่ดอกไม้ทานได้จากธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความสวยงามแก่ผลิตภัณฑ์อีกด้วย

การวางแผนงาน และ กิจกรรมที่ต้องดําเนินการในเดือนถัดไป
จากการคิดสูตรทําแป้งทองม้วนทั้ง 4 สูตรแล้วนั่น ส่งผลให้เดือนถัดไปทางทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตําบลบ้านสิงห์ จะต้องทําการทดลองออกแบบผลิตภัณฑ์ และ นําสูตรขนมทองม้วนแป้งกล้วยมันม่วงที่คิดขึ้นใหม่ นําไปให้ชาวบ้านในชุมชนได้ทดลองทําทองม้วนมันม่วง เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านได้มีผลิตภัณฑต์ัวใหม่เพิ่ม
คือ ทองม้วน โบราณได้เพิ่มขนมทองม้วนที่มีส่วนผสมของมันม่วงเพื่อให้เกิดความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ทาง ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตําบลบ้านสิงห์ จึงจะดําเนินการนัดหมายเวลา และ วันที่ในการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อทดลองทําทองม้วนมันม่วงเพื่อเป็นการขยายตลาด และ เพิ่มรสชาติ เพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าตัวใหม่ของชาวบ้านตําบลบ้านสิงห์ และ ต่อยอดให้เป็นสินค้า OTOP ต่อไป