ED01 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การกำกับดูแลของ
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนสิงหาคม 2565

ข้าพเจ้า นางสาวมุกรินทร์ อาจอาสา ประเภท บัณฑิต

ED01 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล “มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เสื่อกก บ้านหนองจอก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

การลงพื้นที่ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่หมู่ที่ 9 บ้านหนองจอก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เสื่อกกและเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เสื่อกก  ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ประเทศไทย ๔.๐ มีความมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนเป็น“เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” (Value-Based Economy) โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า“โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น จึงควรมีการเปลี่ยนวิธีการทำที่มีลักษณะสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น มีลักษณะเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่เป็นอยู่เดิมและรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และStartup บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่างไปสู่ High Value Services และเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่างไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง (นายสุรัชพงศ์ สิกขาบัณฑิต,2560: 2)

ภูมิปัญญาท้องถิ่นสะสมขึ้นมาจากประสบการณ์ของชีวิต สังคม และในสภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน และถ่ายทอดสืบทอดกันมาเป็นวัฒนธรรม การดำเนินงานด้านวัฒนธรรม จึงต้องใช้ปัญญาค้นหาสิ่งที่มีอยู่แล้ว ฟื้นฟู ประยุกต์ เสริมสร้างสิ่งใหม่ งานรากฐานสิ่งเก่าที่คันพบนั้น นักพื้นฟู นักประยุกต์และนักประดิษฐ์คิดค้นทางวัฒนธรรมพื้นบ้านเหล่านี้ มีชื่อเรียกในเวลาต่อมาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” หรือ “ผู้รู้ชาวบ้าน” และสติปัญญาที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์นี้เรียกว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” หรือ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”(สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,2563)

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถสะท้อนถึงวัฒนธรรมในท้องถิ่น เสื่อกกเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และเสื่อกกยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการออกแบบให้มีความแปลกใหม่ มีหลากหลาย มีความโดดเด่น และมีความเป็นอัตลักษณ์ ผลิตภัณฑ์เสื่อกกลายขิดก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการนำศิลปหัตถกรรมของพื้นบ้านมาผสมผสานกับรูปแบบการตกแต่งได้อย่างน่าสนใจ โดยการประยุกต์และการออกแบบลายสร้างสรรค์จากหัตกรรม การนำแนวความคิดและการอกแบบใหม่ ๆ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภูมิปัญญาได้ ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการออกแบบและการผลิต เพื่อให้มีคุณภาพและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาร่วมพัฒนาและยกระดับคุณภาพของเสื่อกกเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้บริโภคในปัจจุบัน

จาการลงพื้นที่บ้านหนองจอก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีโอกาสพูดคุยและสอบถามกลุ่มทอเสื่อกก พบว่ากลุ่มทอเสื่อกกบ้านหนองจอกประสบปัญหาบุคลากรขาดความรู้ในเรื่องของการออกแบบลวดลายที่มีความทันสมัย และขาดความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ทำให้ทางทีมงานตำบลเจริญสุขได้จัดประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือและส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มทอเสื่อกกให้มีการพัฒนาลวดลายที่มีความสวยงามและทันสมัย การแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื่อกกให้มีความเป็นอัตลักษณ์ และเหมาะกับการใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์เสื่อกกในชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดความยั่งยืนอีกด้วย

เสื่อกก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ  ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง  ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต(สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชน,2562)

 วิธีขั้นตอนการทำ

ขั้นตอนที่ 1 : นำผืนกกหญ้าที่เกี่ยวมา คัดให้ได้ขนาดเดียวกัน แล้วทำเป็นเส้นเล็กๆ นำมาตากแดด 5 วัน ให้สนิท

ขั้นตอนที่ 2 : นำเสื่อที่แห้งแล้วมาย้อม วิธีย้อมตั้งหม้อ หรือกระทะที่มีขนาดใหญ่บนเตาไฟพอน้ำเดือด เราก็เทผงสีย้อมลง แล้วคนให้สีย้อมแตก แล้วนำผืนที่เตรียมไว้ม้วนลงในน้ำเดือดทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วนำผืนที่ย้อมแล้วขึ้นมาล้างน้ำสะอาด แล้วนำไปตากให้แห้ง

ขั้นตอนที่ 3 : เตรียมกี่ และพิมพ์ นำด้ายมาร้อยเข้ากัน พิมพ์เสร็จแล้วยกด้ายขึ้นให้ตึง

ขั้นตอนที่ 4 : นำผืนที่ย้อมแล้วกับผืนสีขาวมาจุ่มน้ำ แล้วยกขึ้นให้น้ำสะเด็จ

ขั้นตอนที่ 5 : นำท่อลายขึ้นมา 5 อัน อันที่ 1-5 นำไม้ที่ 1 บิดเข้าระหว่างพิมพ์กับด้าย แล้วใช้ไม้สอดเข้าไปอีกข้าง เพื่อดูดเอาเส้นผืนที่เตรียมไว้ 3 ครั้ง เสร็จแล้วนำไม้ที่ 2 ทำแบบนี้ไปจนถึงไม้ที่ 5 จากไม้ที่ 5 กับมาเป็นไม้ที่ 4-3-2  จนถึงไม้ที่ 1 แล้วเริ่มใหม่จนเสร็จผืน

ราคาในการขาย   ถ้าเป็นเสื่อธรรมดา   5 คืบ  ผืนละ  80 บาท,   6 คืบ  ผืนละ 100 บาท,  7 คืบ  ผืนละ 120 บาท, 8 คืบ  ผืนละ 150 บาท  และ 9 คืบ  ผืนละ 180 บาท  ถ้าเป็นเสื่อสีจะทำตั้งแต่ 7 คืบ  ในราคาผืนละ  250 บาท,   8 คืบ  ผืนละ  300 บาท  และ 9 คืบ  ผืนละ  350 บาท (สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,2563)

จากการรวบรวมข้อมูลที่ได้จาการสอบถามและสัมภาษณ์กลุ่มทอเสื่อกกบ้านหนองจอก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ทางทีมงานตำบลเจริญสุขได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์เสื่อกกใหม่ การแปรรูปเสื่อกกร่วมกับผ้าภูอัคนีเป็นกระเป๋า และกล่องใส่ทิชชู ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมพัฒนา โดยการนำนวัตกรรมไฮโดโฟรบริกมาพัฒนาร่วมกับเสื่อกก ทำให้มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ลดการเปรอะเปื้อน เพื่อยืดอายุการใช้งานของเสื่อกก และการนำเทคโนโลยี Digital Platform มาใช้ในการขายทางช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook Page Instagram และTiktok เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านการการขนส่งและบริการที่มีความสะดวกและรวดเร็ว ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน

จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ได้มีโครงการดี ๆ แบบนี้ ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและกลุ่มทอเสื่อกก บ้านหนองจอกเป็นอย่างมากที่ได้ให้โอกาสและความรู้กับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าและทีมงานขอขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ

การอ้างอิง

นายสุรัชพงศ์ สิกขาบัณฑิต. (2561). นโยบายประเทศไทย ๔.๐ : โอกาส อุปสรรค และผลประโยชน์ของไทยในภูมิภาคอาเซียน. 2.

สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชน. (2562). ฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอเสื่อกก สร้างรายได้เสริมสู่ชุมชน ตำบลบ้านบัว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ.

องค์การบริหารส่วนตำบลด่านศรีสุข. (2563). ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น. 1.