ข้าพเจ้า นางสาวนิธิชญา เฉลียวรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภท ประชาชน ต.วังเหนือ อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์
สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)
จากการได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือที่มีอยู่ในชุมชนตำบลวังเหนือ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่มีเพียงแค่พันธุ์ข้าวประเภทเดียวคือ หอมมะลิ 105 จึงได้มีการสำรวจข้อมูลพันธุ์ข้าวเพิ่มเติม พบว่า มีสายพันธุ์ข้าวเหนียวดำ และพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นข้าวซ้อมมือหลากสีได้ โดยการสร้างสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติใหม่ หรือ ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไป ซึ่ง มีส่วนเพิ่มเติม หรือ สามารถสร้างประโยชน์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้ โดย การพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น มีความเกี่ยวพัน และ หมายถึง การแก้ไข เปลี่ยนแปลง สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ทั้งในด้าน รูปลักษณ์ การนำเสนอ และ สูตรการทำ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือ เป็นที่น่าพึงพอใจต่อความต้องการของตลาด

ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยการเพิ่มสายพันธุ์ข้าวในการผลิต เพื่อให้มีความหลากหลายแก่ผู้บริโภค และวางแผนจัดทำบรรจุภัณฑ์แบบใหม่โดยใช้เครื่องซีลสุญญากาศ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์แลดูสวยงามและสามารถถนอมให้เก็บรักษาไว้ได้ยาวนานยิ่งขึ้น