ดิฉัน นางสาวธัญญลักษณ์ หอมโลก ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสตำบล HS14-2 พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองทะยูง หมู่11 ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T FOR BCG) ดิฉันได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2565 ดังต่อไปนี้
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 10.00 น. ดิฉันพร้อมด้วยทีมบัณฑิตจบใหม่ประจำตำบลหนองไทร ได้นัดแนะร่วมปรึกษาช่วยกันทำแบบฟอร์ม C-03 แผนพัฒนาสินค้าและบริการ ในผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร และยาหอมสมุนไพร โดยมีรายละเอียดดังนี้
ส่วนที่ 1 ผลิตภัณฑ์หรือบริการ BCG เป้าหมายในพื้นที่
ส่วนที่ 2 พื้นที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 3 รายละเอียดสินค้าและบริการ
ส่วนที่ 4 รายได้ต่อปีในปัจจุบัน
ส่วนที่ 5 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ส่วนที่ 6 ช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบัน
ส่วนที่ 7 วัตถุประสงค์ในการพัฒนาสินค้าและบริการ
ส่วนที่ 8 เป้าหมายในการพัฒนาสินค้าและบริการ
ส่วนที่ 9 เทคโนโลยีหรือ นวัตกรรมที่ใช้
ส่วนที่ 10 หลักการและขั้นตอนการพัฒนาสินค้าและบริการ
ส่วนที่ 11 ระยะเวลาในการพัฒนาสินค้าและบริการ
ส่วนที่ 12 งบประมาณในการดำเนินการพัฒนาสินค้าและบริการ
ส่วนที่ 13 ความพร้อมของสินค้าและบริการในด้านต่างๆ
ส่วนที่ 14 ขั้นตอนการพัฒนาสินค้าและบริการ
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 07.00 น. ดิฉันได้ลงพื้นที่ ณ บ้านหินลาด หมู่ที่ 6 ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉันและทีมบัณฑิตได้ดำเนินการนำหนังสือขออนุญาต เรื่องขออนุญาตลงพื้นที่เก็บข้อมูล ให้กับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้ปรึกษาและอธิบายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ได้แก่ ข้อมูลบริบทหมู่บ้าน สถานที่สำคัญ แหล่งน้ำ แหล่งท่องเที่ยว อาหารท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น สัตว์เลี้ยงในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้านอาหารในท้องถิ่น ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการโควิด ผ่านระบบการจัดเก็บข้อมูล TCD และได้นำหนังสือขออนุญาต เรื่องขออนุญาตลงพื้นที่เก็บข้อมูล ให้กับผู้ใหญ่บ้านหนองไทร หมู่ 1 ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 07.30 น. ดิฉันได้ลงพื้นที่ ณ บ้านหนองทะยูง หมู่ 11 ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉันได้ดำเนินการนำหนังสือขออนุญาต เรื่องขออนุญาตลงพื้นที่เก็บข้อมูล ให้กับ นายไพรันต์ ชำนิเวช ผู้ใหญ่บ้านหนองทะยูง อธิบายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ได้แก่ ข้อมูลบริบทหมู่บ้าน สถานที่สำคัญ แหล่งน้ำ แหล่งท่องเที่ยว อาหารท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น สัตว์เลี้ยงในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้านอาหารในท้องถิ่น ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการโควิด เพื่อจัดเก็บผ่านระบบการจัดเก็บข้อมูล TCD ต่อไป
วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 13.00 น. ดิฉันได้ลงพื้นที่ ณ บ้านหนองทะยูง หมู่ 11 ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉันได้สำรวจข้อมูลพืชในท้องถิ่น มีลักษณะข้อมูล คือ ชนิดพืช สถานที่พบ ลักษณะการใช้งาน จำนวน ภาพถ่ายพืช เช่น พริกชี้ฟ้า แก้วมังกร กล้วยน้ำว้า ต้นมะกรูด ถั่วฝักยาว เป็นต้น สำรวจแหล่งน้ำ สระน้ำบ้านโคกสง่า ฝ่ายชะลอน้ำท่าทางเกวียน มีข้อมูลดังนี้ ชื่อแหล่งน้ำ ที่อยู่ ตำแหน่ง ประเภทของน้ำ ช่วงเวลาที่มีน้ำ คุณภาพของน้ำ ขนาดพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูล ภาพถ่ายแหล่งน้ำ และได้สำรวจอาหารประจำถิ่นบ้านหนองทะยูง ประกอบด้วย ชื่ออาหาร ประเภทของอาหาร สถานที่ผลิต พิกัดที่ผลิต ส่วนผสมหลัก รูปภาพอาหาร เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปลงในระบบจัดเก็บข้อมูล TCD
วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 09.00 น. ดิฉันได้ลงพื้นที่ ณ บ้านหนองทะยูง หมู่ 11 ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สำรวจสัตว์ในท้องถิ่น โดยสอบถามข้อมูลกับชาวบ้านหนองทะยูง มีข้อมูลดังนี้ ชื่อชนิดของสัตว์ ประเภทของสัตว์ สถานที่พบ ตำแหน่งที่พบ จำนวนเพศผู้-เพศเมีย ลักษณะการใช้งาน มีเจ้าของหรือไม่ ชื่อ-สกุล ผู้ให้ข้อมูล ภาพถ่ายของสัตว์ และได้สอบถามข้อมูลเกษตรกรในหมู่บ้านหนองทะยูงกับผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนำไปประกอบการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรในท้องถิ่น ผู้ใหญ่ได้ให้ข้อมูลว่า บ้านหนองทะยูง หมู่ 11 มีเนื้อที่ประมาณ 1,100 ไร่ แบ่งเป็นที่อยู่อาศัย 130 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 500 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 470 ไร่ คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร จึงได้ขอข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร บ้านหนองทะยูง หมู่11 เพื่อประกอบการเก็บข้อมูลลงในระบบ TCD
วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 08.00 น. น. ดิฉันได้ลงพื้นที่ ณ บ้านหนองเตียน หมู่ที่ 3 ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉันได้ดำเนินการนำหนังสือขออนุญาต เรื่องขออนุญาตลงพื้นที่เก็บข้อมูล ให้กับ นายประยงค์ อ่อนเขนย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ดิฉันได้อธิบายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ได้แก่ ข้อมูลบริบทหมู่บ้าน สถานที่สำคัญ แหล่งน้ำ แหล่งท่องเที่ยว อาหารท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น สัตว์เลี้ยงในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้านอาหารในท้องถิ่น ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการโควิด ผ่านระบบการจัดเก็บข้อมูล TCD และ ได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำบ้านหนองเตียนจำนวน 3 แหล่ง ได้แก่ สระหนองเตียน สระหนองมน ชลประทานตาโล เก็บข้อมูล ชื่อแหล่งน้ำ ที่อยู่ ตำแหน่ง ประเภทของน้ำ ช่วงเวลาที่มีน้ำ คุณภาพของน้ำ ขนาดพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูล ภาพถ่ายแหล่งน้ำ เป็นต้น
วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา16.00 น. ดิฉันพร้อมทีมบัณฑิต ประชาชน และอาจารย์ประจำตำบลหนองไทรร่วมประชุมผ่านทาง Google Meet เกี่ยวกับ กำหนดส่งใบรายงานผลการปฏิบัติงานให้แก่อาจารย์ประจำตำบล ภายในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) เขียนเนื้อหารายละเอียดปฏิบัติงานให้ครบถ้วน
2) ตรวจการตั้งชื่อลิงค์บทความของผู้ปฏิบัติงานให้ถูกต้อง
3) หากผู้ปฏิบัติงานมีการขาดงาน หรือไม่ได้ลงเวลาให้แนบใบลามาพร้อมกับใบรายงานผลการปฏิบัติงานจำเดือนสิงหาคม
สรุปข้อมูล TCD ประจำวันที่ 17 สิงหาคม 2565 การจัดหาวัสดุเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าต้นแบบ เช่น วัตถุดิบ การแปรรูป บรรจุภัณฑ์ จำนวน ราคา เป็นต้น และมีการระดมคิด แบ่งหน้าที่ ร่วมกัน ทั้งวางแผนในการเตรียมความพร้อมที่จะจัดอบรมสัมมนา ดังนี้ กำหนดจัดงาน วัน เวลา สถานที่จัดสัมมนา ประธานร่วมพิธีเปิดงาน วัสดุอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมสัมมนา อาหารกลางวัน/เบรก ของที่ระลึกประธาน ของที่ระลึกผู้สัมมนา สถานที่จัดสัมมนา ความสะอาด โต๊ะเก้าอี้ เครื่องเสียง จอมอนิเตอร์ ป้ายไวนิล เสื้อทีม U2T หนองไทร ทั้งนี้กำหนดการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม