ข้าพเจ้านางสาวสุวนันท์ สีโกตะเพชร เป็นผู้ปฏิบัติงาน U2T BCG ตำบลหนองโสน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ HS05-1: หลักสูตรโครงการการแปรรูปนมกระบือและข้าวเม่าเรารักกัญ เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์และเพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
(Project of promoting processed buffalo milk and shredded rice grain with marijuana “Kao Mao Roa Rak kan” to strengthen identity and increase income of community products produced by Nong Sano community, Nang Rong district, Buriram Province.)

การปฏิบัติงานในเดือนกันยายน มีการลงพื้นที่ และปฏิบัติงานตามลำดับ ดังนี้ การลงเก็บข้อมูลรวินันท์ ฟาร์ม ประชุมเตรียมงานทอดผ้าป่า การเตรียมงานทอดผ้าป่า การประชุมสรุปการทอดผ้าป่า การร่วมงานการทอดผ้าป่า การลงเก็บข้อมูลกับ ศูนย์ กศน. และการพัฒนา ข้าวเม่าเรารักกัญ

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2565 ได้มีการลงพื้นที่ ณ ฟาร์ม รวินันท์ ฟาร์ม เพื่อลงเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำนมกระบือ พร้อมทั้งสอบถามที่มา ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานมกระบือว่าสามารถที่จะพัฒนานมกระบือไปในทิศทางใดได้บ้าง พร้อมทั้งการพูดคุยกันเกี่ยวกับการตลาดว่าจะสามารถหาช่องทางการตลาดด้านใดเพื่อให้ นมกระบือ สามารถขาย และเป็นที่รู้จักกันได้มากขึ้น

 

 

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 เป็นการเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือการเตรียมงานการทอดผ้าป่า ว่าจะมีการดำเนินงานการทอดผ้าป่าอย่างไรบ้าง โดยเริ่มเวลาตั้งแต่เช้า 09.00 น. เป็นต้นไป มีการแบ่งหน้าที่ให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมประชุม ว่ามีหน้าที่อะไร และจะเป็นผู้รับผิดชอบงานในส่วนใดบ้าง

วันจันทร์ที่ 29 และวันอังคาร 30 สิงหาคม 2565 เป็นการลงพื้นที่เพื่อเตรียมงานการทอดผ้าป่า โดยทางข้าพเจ้าและสมาชิก U2T&BCG ตำบลหนองโสนได้ทำหน้าที่ ในการไปช่วยขนเก้าอี้ ขนเต้น จากศาลาศูนย์กลางหมู่บ้านโคกว่าน เพื่อนำมาใช้ในงานทอดผ้าป่า ซึ่งจะมีการจัดงานขึ้น ณ ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง นอกจากนั่นยังมีการทำความสะอาดเก้าอี้ บริเวณรอบๆ ที่จะจัดงาน การทำความสะอาดห้องน้ำ หาอุปกรณ์ต่าง ๆเพื่อรองรับผู้คนที่จะเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก และหลังจากจัดเตรียมงานเรียบร้อยทางสมาชิกตำบลหนองโสนได้เข้าจัดทำต้นผ้าป่า เพื่อเป็นต้นผ้าป่าตำบลหนองโสน

 

 

วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 เป็นวันจัดงานทอดผ้าป่า ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง โดยงานเริ่มมีการแห่ผ้าป่าจาก ปากทางเข้าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง โดนต้นผ้าป่า แต่ละต้นมีความสวยงาม รวมถึงต้นผ้าป่าของตำบลหนองโสน ตำบลที่ขึ้นตรงในความดูแลของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะมีการรวบรวมเพื่อการทำบุญในครั้งนี้ เป็นการร่วมด้วยช่วยกัน รวมทั้งมีหน่อยงานอื่น ๆ ร่วมด้วย

กิจกรรมในวันทอดผ้าป่า มีผู้มาบรรยายในงานได้แก “โจน จันได” โดยบริเวณรอบ ๆ งานก็มีโรงทานให้แก่ประชาชน และผู้เข้าร่วมงาน โดยในวันงานอาจารย์ประจำตำบลหนองโสนได้ แบ่งหน้าที่งานให้แก่สมาชิกแต่ละคน โดยข้าพเจ้า ได้รับหน้าที่เฝ้าบูท ไอศกรีมจากนมควาย และเมล็ดพันธุ์พืช กิจกรรมภายในงานได้ดำเนินต่อไปจน ถึงในช่วงบ่ายจะเป็นการเสวนากัน ก่อนจะจบกิจกรรมลง

 

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 ลงพื้นที่ปลูกต้นไม้เสริม และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ที่ ณ คลองโนนตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน โดยมีการเริ่มปลูกและซ่อมแซมบำรุงรักษา ตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึง 11.00 น. โดยมีสมาชิกตำบลหนองโสน อาจารย์ประจำตำบล และคณะพระสงฆ์ วัดตาไก้พลวง ร่วมด้วยช่วยกัน ก่อนจะเสร็จรับประทานข้าวด้วยกันก่อนแยกย้ายกันกลับ

 

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและสมาชิก U2T&BCG ตำบลหนองโสนได้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการ เก็บข้อมูลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการลงพื้นที่เพื่อประสานงานกับประธาน ศส.ปชต. และ ครู กศน.ตำบลหนองโสน เพื่อหารือ และประสานการทำงาน โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้อธิบายว่างานจะมีการดำเนินการอย่างไร โดยมีระยะเวลาการทำงานตั้งแต่วันที่ 5 – 9 กันยายน ซึ่งแต่ละวันที่ลงพื้นที่จะมีการลงเก็บข้อมูลการทำงานที่แตกต่างกันไป

วันอังคารที่ 6 – 8 กันยายน 2565 เป็นการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับประชาชนเกี่ยวกับ เรื่องที่ใกล้ตัวกับประชาชน เช่น วิถีประชาธิปไตย ในชีวิตประจำวัน ผู้แทนที่พึงประสงค์ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต โดยทางกลุ่มได้ลงเก็บข้อมูล ณ หมู่ที่ 5 บ้านหนองโสน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บข้อมูลกับประชาชนชาวบ้านดำเนินไปด้วยความราบรื่น

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 เป็นการลงพื้นที่เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับข้อมูลที่เก็บมา เพื่อกรอกลงยังแบบฟอร์มข้อมูล การลงพื้นที่ครั้งนี้ทางสมาชิก U2T&BCG ตำบลหนองโสน ได้มีการร่วมด้วยช่วยกันจนงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี ก่อนจะมีการส่งมอบรายงานดังกล่าวให้กับ ครู กศน.ตำบลหนองโสน ก่อนจะมีการดำเนินงานต่อไป

 

วันอังคารที่ 6 กันยายน 2565 มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลข้าวเม่า พร้อมทั้งการพัฒนาสูตร “ข้าวเม่าเรารักกัญ’’ โดยสมาชิกกลุ่มได้ช่วยกันพัฒนาโดยมีผู้เชี่ยวชาญ อย่างแม่ตุ๊ก เป็นผู้ให้ข้อมูลและให้สูตรเกี่ยวกับพัฒนาสูตรครั้งนี้ การทำข้าวเม่ากัญชา จะมีสูตรการทำคล้ายกับ ข้าวเม่าซีเรียล คือการนำข้าวเม่ามาทอด ก่อนจะนำไปผสมกับส่วนผสมอื่นๆ คือ น้ำตาล เนย ที่เป็นสูตรของ แม่ตุ๊ก และในส่วนของใบกัญชานั่น จะนำมาทอด และบุบ ให้ใบแตกเล็กน้อย ก่อนนำมาผสมกับข้าวเม่าที่คลุกกับส่วนผสมอื่นแล้ว หลังจากนั้นนำข้าวเม่าเข้าตู้อบ ด้วยอุณหภูมิ 150 องศา ระยะเวลา 30 นาที ก่อนนำออกมาพักให้เย็น แล้วจึงกรอกเข้าบรรจุภัณฑ์ เป็นอันเสร็จการทำข้าวเม่าซีเรียล

 

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2565 เป็นการประชุมสรุปงานการทอดผ้า ว่าได้ยอดการทอดผ้าป่าเท่าไร จะนำเงินแต่ละจำนวนไปเริ่ม ต่อเติมส่วนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในส่วนใดบ้าง โดยการประชุมส่วนแรกที่จะเริ่มทำได้แก่ การทำเสา ของตัวอาคาร แล้วตามด้วยการปูพื้นขัดเงาของตัวอาคาร เป็นต้น

 

วันพุธที่ 14 กันยายน 2565 ได้มีการลงพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อจัดเตรียมการจัดทำบูธ เพื่อใช้ในการขายสินค้าของตำบลหนองโสน โดยการจัดทำบูธในครั้งนี้ ทีมงานสมาชิกตำบลหนองโสนได้เข้าช่วยเหลือกัน เพื่อทำการจัดเตรียม ส่วนงานจะมีในช่วงระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 15 ถึง วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2565 ในแต่ละวันที่มีการขายของทางทีมทำงานตำบลหนองโสนได้มีการแบ่งผู้รับผิดชอบที่จะเข้ามาดูแล และช่วยเหลือ แม่ๆ ที่่นำข้าวเม่า และไอศกรีมนมกระบือมาขาย โดย แบ่งเป็นวันละ 2 คนเพื่อจัดแจงงาน

 

ในส่วนของการทำงานในเดือนกันยายนข้าพเจ้า และสมาชิกคนอื่นๆ ได้เข้าร่วมกิจกรรมในเดือนนี้อย่างพร้อมเพียง และช่วยเหลือกันจนงานแต่ละชิ้นออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ ต้องขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งอาจารย์ประจำตำบล และคนอื่นๆ ที่อาจจะกล่าวถึงไม่หมด ขอขอบคุณมา ณที่นี้ด้วย