ดิฉัน นางสาวธัญญลักษณ์  หอมโลก ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสตำบล HS14-2  ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ (BCG U2T for BCG) ดิฉัน ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ดังต่อไปนี้

วันที่  1 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. ดิฉันได้ดำเนินการส่งเอกสารใบรายงานตัว ในโครงการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วย BCG เพื่อนำส่งอาจารย์ประจำตำบลหนองไทร ภายในระยะเวลาที่อาจารย์ประจำตำบลกำหนด   เวลา 13.30 น. เข้าร่วมรับฟังการเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วย BCG โดยกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ผ่านทาง Facebook live : MHESI THAILAND โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG เข้าร่วมรับฟัง ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อรับฟังการแนะแนวทางการปฏิบัติงาน การใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้าไปช่วยพัฒนาเพิ่มศักยภาพในด้านการผลิตและบริการ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงของโครงการ  U2T for BCG ตลอดระยะเวลา 3 เดือน

วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.00 น. ดิฉันได้เข้าร่วมประชุม Online ผ่านทาง Google meet อาจารย์ประจำตำบลได้แนะนำแนวทางการปฏิบัติงานและได้ช่วยกันระดมความคิด เสนอโครงการและผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เพื่อพัฒนาตลอดระยะเวลา 3 เดือน โดยมีโครงการดังนี้

  1. กล้วยฉาบ/กล้วยเบรกแตก
  2. ลูกประคบสมุนไพร
  3. แหล่งท่องเที่ยวสวนไทรงาม (ของที่ระลึก)

จากมติที่ประชุม  เห็นชอบที่จะพัฒนา ในโครงการลูกประคบสมุนไพร  โครงการของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวสวนไทรงาม และมีการนัดลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูล  ในวันที่ 5 กรกฎาคม  พ.ศ. 2565 เวลา 10.00 น. ที่ศาลาประชาคม บ้านหนองไทร  หมู่ 1 ตำบลหนองไทร  อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น. ดิฉันได้ลงพื้นที่ศาลาประชาคม หมู่ที่ 1 ตำบล หนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อาจารย์ประจำตำบล แนะทำทีมปฏิบัติงาน แบ่งหน้าที่การปฏิบัติงาน และร่วมกันสำรวจแหล่งท่องเที่ยว (เชิงนิเวศ) ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์  เวลา 16.00 น. กลุ่มบัณฑิตได้ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจาก นางสาวทิพย์ภาวรรณ์  ศิริเมฆา  ซึ่งเป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตะกุดตาสา   ได้สอบถามเกี่ยวกับประวัติการจัดตั้งกลุ่มการทำลูกประคบและสมุนไพร ส่วนประกอบที่ใช้ในการทำลูกประคบ มีดังนี้

– ไพลแก้ฟกช้ำ ลดอาการอักเสบ

– ขมิ้นชัน ลดอาการอักเสบบำรุงผิว

– ขมิ้นอ้อย ลดอาการอักเสบของเส้นเอ็น

– ผิวมะกรูด ให้กลิ่นหอมระเหย

– ตะไคร้บ้าน  ใบเปล้า ว่านน้ำ ใบส้มป่อย ใบมะขาม และตัวยาอื่นๆ

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.00 น. ดิฉันได้ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลกับนางกฤษณา  ยวนกูล  ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไทร  เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยว ตำบลหนองไทร  ผลิตภัณฑ์สินค้าของตำบลไทร และสอบถามแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การจัดทำของที่ระลึก และ บริบทชุมชนตำบลหนองไทร แลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์  และสอบถามตามต้องการของชุมชน    เวลา 13.00 น. เข้าเรียน E-learning ผ่านระบบ Online

– M-01 แนวคิดและเศรษฐกิจ BCG  การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  ก้าวไกลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  เศรษฐกิจชีวภาพ

– M-02 คิดเชิงออกแบบ Design Thinking   การถอดบทเรียนขั้นตอนในแนวคิดเชิงออกแบบ มีดังนี้

  •  แก่นที่ 1 เข้าใจด้วยหัวใจ  ขั้นตอนการกำหนดโจทย์
  •  แก่นที่ 2 การออกไอเดีย
  • แก่นที่ 3 การทดสอบ  เพื่อเป็นแนวทาง ในการเขียนแบบฟอร์ม C-01 ให้หัวหน้าโครงการ

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30น. ดิฉัน และทีมปฏิบัติงานโครงการ U2T for BCG ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  เข้าร่วมรับฟังการบรรยายผ่านออนไลน์ในหัวข้อการอบรม วิธีการจัดเก็บข้อมูลและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD การติดตั้ง Application ในโทรศัพท์เพื่อสะดวกแก่การจัดเก็บข้อมูล โดยมีรายละเอียด หัวข้อการเก็บข้อมูล ได้แก่

  • ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
  • แหล่งท่องเที่ยว
  • ที่พัก / โรงแรม
  • ร้านอาหารท้องถิ่น
  • อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  • เกษตรกรในท้องถิ่น
  • พืชในท้องถิ่น
  • สัตว์ในท้องถิ่น
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • แหล่งน้ำในท้องถิ่น

วันที่  19 กรกฎาคม 2565 เวลา  10.00 น. อาจารย์ประจำตำบลได้มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตทำแบบฟอร์ม C-02 แผนธุรกิจของลูกประคบสมุนไพร และของที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวตำบลหนองไทร (ยาหอม สมุนไพร)

แบบฟอร์ม C-02 แผนธุรกิจ

  • ส่วนที่  1 แผนธุรกิจ  แหล่งวัตถุดิบ กิจกรรมหลักในการดำเนินการ  กระบวนการออกแบบ ด้านการตลาด
  • ส่วนที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของลูกค้า เพศ อายุ ที่อยู่อาศัย (ภาค)
  • ส่วนที่ 3 การสร้างรายได้ของธุรกิจ  วิธีการสร้างรายได้
  • ส่วนที่ 4 ช่องทางจัดจำหน่าย
  • ส่วนที่ 5 สินค้าและราคา